หลวงพ่อชุ่ม พุทธสโร หรือ พระครูชุ่ม วัดราชคาม |
ในอดีตมีพระเถระ ผู้มีพรรษากาล มากองค์หนึ่ง ทรงคุณความรู้และวิทยาคมหลายอย่าง เป็นพระอุปัชฌาย์ เป็นพระอาจารย์ เป็นคณาจารย์การปกครอง เป็นพระอาจารย์สอนปริยัติธรรมกัมมัฏฐาน ประพฤติเป็นประโยชน์แก่ทุกคน ได้รับความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน เช่นพวกถูกพิษคุณไสยศาสตร์และวิทยาคุณต่างๆ กระทั่งคนต่างศาสนายังนับถือในพุทธคุณของท่าน ถึงกับยอมเป็นศิษย์นับถือพุทธศาสนาเหมือนพระคุณท่าน เป็นจำนวนมาก
เมื่อท่านถึงมรณะภาพ ก็ปรากฏเป็นอัศจรรย์ ศพไม่มีกลิ่นเช่นคนธรรมดา แม้โลงบรรจุศพที่ไม่ได้ปิดผนึกก็ไม่ได้มีกลิ่นรบกวนผู้อื่น การสูญเสียท่านไปยังสร้างความเศร้าโศกเสียใจแก่ประชาชน และลูกศิษย์ลูกหาชื่อเสียงและเกียรติคุณของท่านไม่ได้เลือนหายไปจากความทรงจำ ว่าพระเถระที่เก่งกล้ารูปหนึ่งของจังหวัดราชบุรี พระครูชุ่ม วัดราชคาม
วัดราชคาม
นับว่าเป็นวัดเก่าแก่ วัดหนึ่งของจังหวัดราชบุรี
ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ หมู่ ๔ ตำบลคุ้งน้ำวน อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
เริ่มสร้างเมื่อใดไม่เป็นที่แน่ชัด (บางตำราว่าสร้างพ.ศ. ๒๔๐๙ ) ตามข้อมูลตามคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ที่สามารถอ้างอิงได้ กล่าวว่าพื้นที่ตั้งวัดราชคามในปัจจุบันนั้น
เดิมเป็นจวนที่อยู่และที่ว่าความของพระยาราชเดชะ ในปี พ.ศ. ๒๔๐๙
(ตรงกับปีขาล อัฐศก จ.ศ. ๑๒๒๘ ร.ศ. ๘๕) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)
ที่พระสมุหกลาโหม เป็นผู้อำนวยการขุดคลองดำเนินสะดวก ได้มีบัญชาให้ พระยาราชเดชะ ย้ายไปช่วยทำการขุดคลองดำเนินสะดวก
พระยาราชเดชะ จึงได้มอบจวนเก่า (ทั้งบ้านและที่ดิน) ถวายให้เป็นที่สร้างวัด
ในขั้นแรกใช้ชื่อเดิมว่า "วัดราชคาม" (ราชคาม - บ้านของพระยาราช) หลังจากนั้นเจ้าอาวาสวัดรูปถัดมาได้ทำซุ้มประตูวัดที่อยู่ท่าน้ำหน้าวัด (สมัยนั้นวัดหันหน้าออกแม่น้ำ) โดยในป้ายมีข้อความว่า "วัดราชประดิษฐ์"
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๘ เวลา ๑๕.๑๕ น. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้เสด็จตรวจการคณะสงฆ์ ทรงแวะที่วัดราชคาม ทรงพบเห็นป้ายชื่อวัด จึงทรงตัดพ้อว่าชื่อพ้องกับวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ในเมืองหลวง จึงเปลี่ยนให้ว่า "วัดราชคาม" ดั่งเดิม และได้ปรากฏมาถึงทุกวันนี้
หลวงพ่ออู่ทอง พระพุทธรูปศิลปอู่ทอง พระศักดิ์สิทธิ์คู่วัดราชคาม |
ภายในวัดมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญ เป็นพระพุทธรูปเนื้อสำริดปางมารวิชัย สร้างขึ้นในสมัยอู่ทอง ( ราว ประมาณ พ.ศ. ๑๓๐๐-๑๘๙๗ ) ชาวบ้านเรียกว่า "หลวงพ่ออู่ทอง" ทางวัดนิมนต์มาจากวัดตากแดดซึ่งสมัยนั้นเป็นวัดร้าง จัดเป็นพระพุทธรูปที่เก่าแก่ หาชมได้ยากยิ่งในพื้นที่แม่กลอง สวยงาม ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วิหารหลวงพ่อชุ่ม
รอยพระพุทธบาทจำลอง วัดราชคาม สร้างเมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ |
นอกจากนี้ภายในวิหารของวัดราชคาม ยังประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง ที่หล่อขึ้นในคราวสร้างรูปหล่อหลวงพ่อชุ่มเท่าองค์จริง เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ โดยนำเนื้อทองเหลืองที่รับบริจาคจากชาวบ้านและผู้มีจิตศรัทธา โดยเหลือจากการหล่อรูปเหมือนหลวงพ่อมาสร้างขึ้นในคราวนี้ด้วยปัจจุบันประดิษฐานอยู่ภายในวิหารหลวงพ่อชุ่ม อีกด้วย
หลวงพ่อชุ่มขนาดเท่าองค์จริง เทหล่อเมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ |
สำหรับสมภารปกครองวัดเท่าที่สืบทราบมีดังนี้
๑. หลวงปู่โป้ย ปี พ.ศ. ไม่ปรากฏ
๒. หลวงปู่โต๊ะ ปี พ.ศ. ไม่ปรากฏ
๓. พระอธิการพู่ ปี พ.ศ. ไม่ปรากฏ
๔. พระครูชุ่ม พุทฺธสโร (เจ้าคณะหมวด) ปี พ.ศ. ๒๔๔๘ - ๒๔๙๘
๕. พระครูกัลยาณวัตรวิบูลย์ (ป้อม กลฺยาโณ) พ.ศ. ๒๔๙๘ - พ.ศ. ๒๕๕๕
๖. พระวรวุฒิ ถิรจิตฺโต รักษาการเจ้าอาวาส พ.ศ. ๒๕๕๕ - พ.ศ. ๒๕๕๖
๗. พระอธิการจิตตวี ธีรปญฺโญ เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน พ.ศ. ๒๕๕๖ - ถึงปัจจุบัน
หลวงพ่อชุ่ม กำเนิดที่ตำบลบ้านไร่ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๘ ปีเถาะ
จุลศักราช ๑๒๔๑ อันตรงกับวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๒๒ ท่านเป็นบุตรคนโตในจำนวนทั้งหมด ๙ คนของนายทุ้ม
กลิ่นเทพเกษร และนางลำใย กลิ่นเทพเกษร
เมื่อท่านมีอายุได้ ๙ ขวบ โยมบิดาได้นำไปฝากเรียนหนังสือขอมและไทยกับหลวงปู่ทอง วัดท่าสุวรรณ ครั้งมีอายุได้ ๑๖ ปี จึงบรรพชาเป็นสามเณรอยู่รับใช้หลวงปู่ทองที่วัดท่าสุวรรณ
ปี พ.ศ. ๒๔๔๑ หลวงพ่อชุ่มท่านมีอายุครบบวช จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดท่าสุวรรณ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๑ ตรงกับวันอาทิตย์ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๖ ปีจอ จุลศักราช ๑๒๖๐ ได้รับฉายาว่า “พุทธสโร” โดยมี
พระอธิการทอง วัดท่าสุวรรณ เป็นพระอุปัชฌาย์
หลวงพ่อดำ วัดตาลบำรุงกิจ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระอธิการพู่ วัดราชคาม เป็นพระอนุสาวนาจารย์
หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านได้อยู่จำพรรษาที่วัดท่าสุวรรณ บ้างก็มาจำพรรษาที่วัดราชคาม สลับกันมาโดยตลอด เพื่อร่ำเรียนวิชาอาคมและวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อดำ วัดตาลบำรุงกิจ และพระอธิการพู่ วัดราชคาม
กระทั้งปี พ.ศ. ๒๔๔๕ เจ้าอธิการทอง วัดท่าสุวรรณได้มรณภาพลง หลวงปู่พู่จึงให้หลวงพ่อชุ่มไปรักษาการเจ้าอาวาสวัดท่าสุวรรณ ซึ่งท่านไปอยู่รักษาการณ์ถึง ๓ ปี
พอถึงปี พ.ศ. ๒๔๔๘ พระอธิการพู่ เจ้าอาวาสวัดราชคามก็ได้มรณภาพ หลวงพ่อชุ่มท่านจึงกลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดราชคามสืบแทน
ตำแหน่งและสมณศักดิ์
พ.ศ. ๒๔๔๘ ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดราชคาม
พ.ศ. ๒๔๖๗ ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ. ๒๔๗๓ ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลคุ้งน้ำวน (สมัยนั้นเรียกเจ้าคณะหมวด)
พ.ศ. ๒๔๗๙ ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระครูชั้นประทวน
หลวงพ่อชุ่ม ท่านเก่งทั้งทางด้านการพัฒนาถาวรวัตถุและจิตใจของทุกคน
ได้นำความเจริญมาสู่วัดราชคาม
มากด้วยความเก่งกล้ามีคาถาอาคมประกอบการช่วยเหลือชาวบ้านในทุกทาง
ท่านเก่งทั้งทางการแพทย์แผนโบราณ วิชาทำน้ำมนต์การรดน้ำมนต์
ปลุกเสกลงเลขยันต์และอื่นๆ
ท่านเป็นพระที่เจ้าระเบียบและดุ
สมัยท่านอยู่ไม่ว่าพระหรือเณรเดินบนพื้นกุฎิไม้กระดานดังเกินควร
ท่านจะเรียกเข้าไปสั่งสอนทันที ถ้าเป็นเด็กวัดก็จะโดนตีสั่งสอนทันที
หรือไม่หลวงพ่อจะให้ตัวต่อที่ท่านเสกออกมาไล่พระเณรที่ชอบจับกลุ่มกันแตกกระเจิงไป
ด้วยความที่ท่านชอบการมีระเบียบวินัย ฉะนั้นลูกศิษย์ลูกหาของท่านทั้งหลาย
จึงมีระเบียบวินัยที่ดีประกอบสัมมาอาชีพเจริญรุ่งเรืองกันเป็นส่วนใหญ่
หลวงพ่อชุ่ม หรือ พระครูชุ่ม วัดราชคาม |
ตามคำบอกเล่าของหลวงพ่อป้อม เจ้าอาวาสองค์ถัดมาได้เล่าถึงประวัติการเดินธุดงค์ของหลวงพ่อชุ่ม ซึ่งได้รับฟังจากปากของหลวงพ่อชุ่มเองว่า เมื่อบวชได้เพิ่ง ๓ พรรษา ท่านก็เริ่มสนใจในวิชาทางคาถาอาคมได้พยายามศึกษาเล่าเรียน
และเมื่อถึงพรรษาที่ ๕ ท่านจึงเริ่มออกเดินธุดงค์ไปในที่ต่างๆคราวละ ๓ ปี บางครั้งก็ธุดงค์ไปพม่าบ้างจนมีเรื่องเล่าขานว่าท่านได้ไปศึกษาวิชาแปลกๆจากอาจารย์ทางพม่าก็มี
จนมีครั้งหนึ่งได้เดินธุดงค์จนถึงวัดมะขามเฒ่า ชัยนาท ขณะนั้นราวปี พ.ศ. ๒๔๔๖ หลวงพ่อศุขได้ปกครองวัดมะขามเฒ่า หลวงพ่อชุ่มได้ศึกษาวิชาจากหลวงพ่อศุข หลายแขนงเกี่ยวกับวิชาด้านคาถาอาคม
จนครั้งหนึ่งกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์เคยเสด็จมายังวัดราชคาม เนื่องด้วยเป็นศิษย์สำนักเดียวกัน และเมื่อกลับมาอยู่วัดราชคามจนได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส ขณะนั้นชื่อเสียงของท่านได้เป็นที่เลืองลือมาก
แม้ท่านจะเก่งด้านคาถาอาคม ปลุกเศกเครื่องรางของขลังต่างๆ แต่ท่านก็ไม่ได้ปลุกเศกวัตถุมงคลอะไรมากนัก ลูกศิษย์ลูกหาได้อ้อนวอนขอให้ท่านสร้างวัตถุมงคลเพื่อจะได้เก็บไว้บูชา และไว้ป้องกันตัวจากเหตุโพยภัยต่างๆ ท่านจึงได้เริ่มปลุกเศกเครื่องรางของขลังแจกให้กับผู้ที่เลื่อมใสในตัวท่าน
หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ สหมิกธรรมของหลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม |
จากการที่ท่านชอบธุดงค์จนเป็นกิจวัตรนี่เองทำให้ท่านได้รู้จักกับหลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือเมื่อคราวออกธุดงค์ไปศึกษาวิชากับหลวงพ่อศุข วัดมะขามเฒ่า จนทำให้ท่านทั้ง ๒ เป็นสหมิกธรรมกันเรื่อยมา
ทางคณะศิษย์ได้เก็บสรีระของท่านไว้ เพื่อให้ลูกศิษย์ลูกหาที่อยู่ไกลๆได้มาเคารพ ถึงกำหนดประชุมเพลิงในเมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ในงานประชุมเพลิงมีเรื่องอัศจรรย์เกิดขึ้นกับสรีระของหลวงพ่อชุ่ม นั้นมิได้เน่าเปื่อยเลย.
วัตถุมงคลของหลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม
เหรียญแสตมป์หลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม (จับเงา)
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ลักษณะเป็นแผ่นภาพอลูมิเนียมสกรีนรูปท่าน ๒ แผ่น ขนาดเล็กประกบกัน โดยมีการสั่งทำจากประเทศญี่ปุ่น สร้างขึ้นเพื่อแจกแก่ญาติโยมที่ช่วยเหลือกิจการของวัด และตอบแทนกับผู้ที่บริจาคทรัพย์ สร้างอุโบสถวัดใหม่ต้นกระทุ่ม
ภาพถ่ายพระอุโบสถวัดใหม่ต้นกระทุ่ม ที่หลวงพ่อชุ่มเป็นผู้สร้าง |
จำนวนการสร้างไม่ได้ระบุแน่ชัด บ้างก็ว่าสร้างจำนวนไม่เกิน ๒,๐๐๐ เหรียญ ชาวบ้านมักเรียกว่าเหรียญแสตมป์ หรือเหรียญจับเงา (เหรียญที่พบถมมักหลุดร่อนซีดจางไปตามกาลเวลา แต่ก็มีพวกพ่อค้าหัวใสใช้กีวีสีดำหรือหมึกดำทาลงไปบนเหรียญให้ปรากฏภาพของหลวงพ่อที่ชัดเจนขึ้นก็มี )
เหรียญแสตมป์หลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม ปี ๒๔๘๔ (จับเงา) |
เหรียญแสตมป์หลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม ปี ๒๔๘๔ (จับเงา) |
ด้านหน้า เป็นลักษณะตะแกรงลงถมเป็นรูปหลวงพ่อชุ่มหน้าตรงครึ่งองค์ มีอักษรขอม ๔ ตัวที่มุมเหรียญอ่านว่า "นะ มะ พะ ทะ" (หัวใจธาตุ) ด้านล่างองค์ท่านมีคำว่า "ชุ่ม"
ด้านหลัง ผูกเป็นยันต์ตารางมงคลเก้าตามแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของท่าน (ยันต์ครู) มุมทั้ง ๔ ด้านของแผ่นภาพเขียนอ่านได้ ว่า "อุด อัด ปัด ปิด" ด้านล่างของตารางยันต์มีภาษาขอม อ่านได้ว่า "กิริมิทิ กึรึมึทึ กุรุมุทุ เกเรเมเท"
เหรียญหลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม รุ่นแรก
สร้างขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๘๖ ลักษณะเป็นเหรียญใบสาเกแบบมีหูในตัวขนาดกว้าง ๒ เซน สูง ๓ เซน สำหรับแจกแก่ญาติโยมที่ช่วยเหลือกิจการของวัดหรือบริจาคทรัพย์ ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า เหรียญ ๘๖ หรือเหรียญตะพาบ ถือเป็นเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อชุ่ม เหรียญรุ่นนี้มีบล็อกหน้าแค่บล็อกเดียว มีการสร้างด้วยเนื้อเงิน เนื้อทองฝาบาตร เนื้อทองเหลือง เนื้อทองขาว(อัลปาก้า) และเนื้อทองแดง แบ่งออกได้เป็น
รุ่น ๑ (บล็อกอุยาว หรืออุตั้ง) จัดสร้างครั้งแรกด้วย
เนื้อเงินพดด้วง จำนวนการสร้าง ๓ เหรียญ (หลวงพ่อป้อม สมัยเป็นพระลูกวัด ให้ช่างสร้างพิเศษเพื่อเก็บไว้ใช้เอง) ถือเป็นเหรียญที่หายากของหลวงพ่อชุ่ม
เหรียญหลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม รุ่นแรก ปี ๒๔๘๖ บล็อก อุ เนื้อเงิน จากเพจวัตถุมงคลหลวงพ่อชุ่มฯ |
เนื้อทองเหลือง จำนวนจากคำบอกเล่าของหลวงพ่อป้อมเจ้าอาวาสรูปถัดมา เล่าว่ามีการสร้างประมาณ ๕,๐๐๐ เหรียญและจ่ายให้กับผู้ที่ร่วมทำบุญหรือตามแต่หลวงพ่อชุ่มจะเห็นสมควร ต่อมาผู้ที่นำไปใช้ต่างมีประสพการณ์ต่างๆมากมาย จึงมีคนเดินทางมาขอไปบูชา และหมดไปอย่างรวดเร็ว
เหรียญหลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม รุ่นแรก ปี ๒๔๘๖ บล็อก อุ เนื้อทองเหลือง |
เหรียญหลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม รุ่นแรก ปี ๒๔๘๖ บล็อก อุ เนื้อทองแดง |
เหรียญหลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม รุ่นแรก ปี ๒๔๘๖ บล็อก อุ เนื้ออัลปาก้า |
รุ่น ๓ (บล็อกจุด หรือ อุนอน) และเมื่อเหรียญรุ่น ๒ หมดลงได้มีการสร้างอีกครั้ง โดยใช้แม่พิมพ์ด้านหน้าอันเดิม แต่ด้านหลังที่มีการชำรุด จึงได้ให้ช่างทำการแกะบล็อกหลังขึ้นมาใหม่ มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดง และเนื้อทองขาว(อัลปาก้า) จำนวนการสร้าง ๑๐,๐๐๐ เหรียญ (ด้านหน้ามีกลาก)
เหรียญหลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม รุ่นแรก บล็อกจุด ปี ๒๔๘๖ เนื้ออัลปาก้า |
เหรียญหลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม รุ่นแรก บล็อกจุด ปี ๒๔๘๖ เนื้อทองแดง |
ด้านหน้า เป็นรูปหลวงพ่อชุ่มหน้าตรงครึ่งองค์ ห่มจีวรลดไหล่ พาดสังฆาฎิ ด้านบนมีอักษรไทยเขียนว่า "พระครูชุ่มเจ้าคณะหมวด" ใต้องค์ท่านระบุปี พ.ศ. "๒๔๘๖" มีอักษรขอม ๔ ตัวที่มุมเหรียญอ่านว่า "นะ มะ พะ ทะ" (หัวใจธาตุ) จุดสังเกตุตัว ม.ม้า ในคำว่าชุ่ม ตัวม้วนจะบี้เหมือนกัน เพราะเหรียญมีบล็อกหน้าตัวเดียว
ด้านหลัง ผูกเป็นยันต์ตารางมงคลเก้าตามแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของท่าน(ยันต์ครู) มุมทั้ง ๔ ด้านของแผ่นภาพเขียนอ่านได้ ว่า "อุด อัด ปัด ปิด" ด้านล่างของตารางยันต์มีภาษาขอม อ่านได้ว่า "กะระมะทะ กิริมิทิ กึรึมึทึ กุรุมุทุ เกเรเมเท"
แหวนหลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๖ โดยออกพร้อมเหรียญรุ่นแรก ซึ่งหลวงพ่อชุ่มได้มีการจัดวัตถุมงคลเป็นแหวนรูปท่าน มีการสร้างด้วยเนื้อทองคำ(หัวแหวนหายาก) ทองแดงและทองขาว(อัลปาก้า) จำนวนรวมกันประมาณ ๔,๐๐๐ วง
แหวนและหัวแหวนหลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม ปี ๒๔๙๔
|
ด้านหน้า เป็นรูปหลวงพ่อชุ่มหน้าตรงครึ่งองค์ ห่มจีวรลดไหล่ พาดสังฆาฎิ ด้านบนมีอักษรไทยเขียนว่า "พระครูชุ่มเจ้าคณะหมวด" ในบางวงใต้องค์หลวงพ่อมีอักษรไทยเขียนว่า "พระครูชุ่ม" และบางวงเหนือองค์หลวงพ่อมีอักษรไทยเขียนว่า "พระครูชุ่ม"
ด้านหลัง เรียบไม่มีอักขระใดๆ
ตะกรุด ๗ ดอก หลวงพ่อชุ่ม
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ โดยประกอบไปด้วยเนื้อเงิน
ทองเหลืองและทองแดง แต่ละดอกยาวประมาณ ๖ เซนติเมตร
ลงอักขระเลขยันต์ปลุกเสกแล้วม้วนกลมร้อยเชือกขาวขวั้นเชือกกำกับแต่ละดอก
จนครบทั้ง ๗ ดอก จึงขมวดปลายทั้ง ๒ ด้าน ตะกรุด ๗
ดอกของหลวงพ่อชุ่มสร้างไว้จำนวน ๕๐๐ เส้น
เหรียญหลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม รุ่นสอง
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ในวาระที่หลวงพ่อชุ่ม ทำบุญอายุครบ ๖ รอบ (๗๒ ปี) ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่แบบมีหูในตัว ขนาดกว้าง ๑.๕ สูง ๒.๕ เซน มีการจัดสร้างด้วยเนื้อทองเหลือง เนื้อทองขาว และเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างรวมกันประมาณ ๖,๐๐๐ เหรียญ
เหรียญรูปไข่หลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม รุ่นสอง เนื้อทองเหลือง ปี ๒๔๙๔ |
เหรียญรูปไข่หลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม รุ่นสอง เนื้ออัลปาก้า ปี ๒๔๙๔ |
เหรียญรูปไข่หลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม รุ่นสอง เนื้อทองแดง ปี ๒๔๙๔ |
ด้านหน้า เป็นรูปหลวงพ่อครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่ พาดสังฆาฎิ ด้านบนมีอักษรไทยเขียนว่า "พระครูชุ่มเจ้าคณะหมวด" ใต้องค์ท่านระบุปี พ.ศ. "๒๔๙๔"
ด้านหลัง ผูกเป็นยันต์พระเจ้า ๕ พระองค์ มีอุนาโลมบนยอดยันต์ ๓ ตัว ภายในยันต์มีอักขระขอม ๕ตัวประกอบด้วย "นะ โม พุทธ ทา ยะ" ด้านล่างของยันต์มีอักขระขอม
รูปหล่อใหญ่หลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม
สร้างในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ คณะศิษยานุศิษย์หลายจังหวัดและผู้เลื่อมใสในตัวหลวงพ่อชุ่ม ได้มีมติที่จะกระทำการตั้งพิธีหล่อรูปปฏิมากรขนาดเท่าองค์จริงของหลวงพ่อชุ่ม(กำหนดหล่อต้นปี พ.ศ. ๒๔๙๘) จึงได้มีการสร้างรูปหล่อหลวงพ่อชุ่ม ขนาดเล็กหน้าตักประมาณ ๑ นิ้วขึ้น เพื่อสมนาคุณสำหรับผู้รวมทำบุญบริจาคทรัพย์ในการหล่อรูปเหมือนหลวงพ่อชุ่มองค์ใหญ่เท่าองค์จริง
รูปหล่อหลวงพ่อชุ่มขนาดเท่าองค์จริง เทหล่อเมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ |
สร้างด้วยเนื้อโลหะผสมแก่ทองเหลือง อุดกริ่งที่ใต้ฐานปิดทับด้วยทองแดง จำนวนการสร้าง ๑,๑๑๐ องค์ โดยในการสร้างครั้งแรกนั้น ช่างที่กรุงเทพฯได้ สร้างตัวอย่างมาถวายให้หลวงพ่อเลือกจำนวน ๑๐ องค์ (ภายหลังแจกให้แก่กรรมการวัด)โดยทั้ง ๑๐ องค์มีการตกแต่งมาเรียบร้อยแล้ว
แต่ด้วยการสร้างแล้วแต่งองค์พระทีละองค์ ทำให้เสียเวลาคณะลูกศิษย์กลัวว่าจะสร้างไม่ทันวันงานหล่อรูปหลวงพ่อเท่าองค์จริง รวมทั้งต้นทุนที่แพงเกินไปจึงไม่ได้ผลิตออกมา แต่ได้เลือกเอาพระที่หล่อเสร็จแล้วไม่ได้ตกแต่ง แต่ให้รมดำมาทดแทน และได้ตอกโค๊ตอักษรใต้ฐานว่า "พระครูชุ่ม" (บางองค์ตอกด้านหน้าที่ฐานก็มี) ซึ่งต้องสังเกตให้ดีเพราะเป็นข้อพิจารณาพระเก๊-แท้ได้เป็นอย่างดี ส่วนพระที่ไม่ได้ตอกก็มีเช่นกันแต่มีจำนวนน้อยแค่ ๑๐๐ องค์โดยประมาณ เนื่องจากหลังจากสร้างเสร็จได้มีการออกให้บูชาไปส่วนหนึ่งแล้ว แต่ตัวตอกยังดำเนินการส่งมาไม่ถึงและพระชุดนี้ได้ออกให้บูชาไปก่อนแล้ว
ด้านพุทธคุณโดดเด่นด้านมหาอุตย์ คงกระพันชาตรี เป็นที่ประจักษ์แก่ผู้ที่ได้ครอบครองจนเป็นที่เลื่องลือไปทั่วทั้งคุ้งน้ำว่า "มหาอุตย์แห่งวัดราชคาม" ปัจจุบันถือเป็นวัตถุมงคลที่น่าแสวงหาที่สุดชิ้นหนึ่ง
นอกจากนี้ยังมีการจัดสร้างรูปหล่อพระพุทธชินราชอีกด้วย พระพุทธชินราช สร้างด้วยทองเหลืองแบบเดียวกับรูปหล่อหน้าตัก ๑ นิ้ว ลักษณะรูปหล่อพระพุทธชินราชคล้ายของที่วัดสุทัศน์สร้าง ขนาดไล่เรี่ยกันแต่ของวัดราชคามช่างแต่งองค์พระเห็นรอยตะไบชัดและพิมพ์องค์พระก็ชัดเจนมีจำนวน ๕๐๐ องค์
รูปหล่อใหญ่หลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม ปี ๒๔๙๗ |
รูปหล่อใหญ่หลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม ปี ๒๔๙๗ องค์กลางล่างพิมพ์เล็ก ปี ๒๕๐๐ |
โค้ด "พระครูชุ่ม" และรอยอุดกริ่งด้วยทองแดง รูปหล่อหลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม ปี ๒๔๙๗ |
ด้านหน้า จำลองรูปหลวงพ่อชุ่ม ในลักษณะของรูปหล่อลอยองค์ประทับนั่งสมาธิบนฐานเขียง ห่มจีวรพาดผ้าสังฆาฏิเฉียง ในบางองค์มีการตอกโค้ด "พระครูชุ่ม" ที่ฐานเขียงก็มี
ด้านหลัง เห็นสังฆาฏิ และรอยจีวรอย่างชัดเจน
ใต้ฐาน ตอกโค้ด "พระครูชุ่ม" ตรงกลางเยื้องไปด้านหลังมีรอยอุดด้วยทองแดงอย่างเห็นได้ชัด เป็นรอยอุดเม็ดกริ่งและผงพุทธคุณไว้ด้านใน ในองค์ที่กริ่งไม่ดังหรือกริ่งขัด เพราะการใส่ผงเยอะเกินไปก็มี โดยมีทั้งแบบเจียจนค่อนข้างเรียบแบบในภาพ (พบเจอน้อย) แบบตะไบละเอียด และแบบตะไบหยาบ (เข้าใจว่าช่างน่าจะเร่งงาน)
ผ้ายันต์หลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ เพื่อแจกในงานหล่อพระรูปเหมือนเท่าองค์จริง ในวันศุกร์ที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ โดยทางวัดราชคามได้มีการจัดสร้างผ้ายันต์นางกวัก (ยันต์ชายธง) เพื่อแจกให้เป็นที่ระลึกแก่ผู้ที่มาร่วมงาน โดยมีทั้งที่ทำจากผ้าและที่ทำจากกระดาษ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
ผ้ายันต์ธง สร้างแจกในงานหล่อรูปหล่อเท่าองค์จริง ปี ๒๔๙๘ ทำจากผ้าลินิน |
ผ้ายันต์ธง สร้างแจกในงานหล่อรูปหล่อเท่าองค์จริง ปี ๒๔๙๘ ทำจากกระดาษ |
ในพรรษาปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ท่านได้นำเข้าปลุกเสกอีกตลอดทั้งไตรมาสเพื่อออกพรรษาจะได้นำออกแจกแก่ผู้มาทำบุญวันออกพรรษา แต่เมื่อออกพรรษาท่านก็ได้มรณภาพ หลวงพ่อป้อม เจ้าอาวาสรูปถัดมาจึงได้เก็บรักษาไว้ โดยมิได้แจกจ่ายมาจนปัจจุบัน ท่านกล่าวว่า "ตั้งใจจะลงรักปิดทองให้เรียบร้อยก่อนเพราะถ้าแจกไปแบบเดิมก็จะไม่มีเหลือเพราะใช้เป็นยาวิเศษฝนผสมน้ำกินแก้โรคภัยไข้เจ็บได้วิเศษยิ่ง"
จำนวนไม่เป็นที่แน่ชัด(ประมาณ ๕๐๐ องค์) เพื่อแจกจ่ายให้แก่ผู้ที่มาร่วมในงานประชุมเพลิงในเมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๐โดยเกจิที่ร่วมทำการปลุกเสก ประกอบไปด้วยหลวงพ่อเชย หลวงพ่อเม้ย หลวงพ่อเจียง ฯลฯ จากคำบอกเล่าของหลวงพ่อป้อมได้เล่าว่าในพิธีปลุกเสกได้มีการโยงสายสิญย์จากโลงบรรจุศพของหลวงพ่อชุ่มด้วย
รูปหล่อเล็ก หลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม |
ใต้ฐานรูปหล่อเล็กหลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม อุดด้วยทองแดง มีโค้ด "พระครูชุ่ม" |
ด้านหน้า จำลองรูปหลวงพ่อชุ่ม ในลักษณะของรูปหล่อลอยองค์ประทับนั่งสมาธิบนฐานเขียง ห่มจีวรพาดผ้าสังฆาฏิเฉียง
ด้านหลัง เห็นสังฆาฏิ และรอยจีวรอย่างชัดเจน
ใต้ฐาน มีการตอกโค้ด "พระครูชุ่ม" ตรงกลางเยื้องไปด้านหลังมีรอยอุดด้วยทองแดงอย่างเห็นได้ชัด เป็นรอยอุดเม็ดกริ่ง
ด้านพุทธคุณ
หลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม เป็นพระเถระที่สำคัญประจำจังหวัดราชบุรีมีชื่อเสียงโด่งดัง อิทธิวัตถุของท่านเป็นที่นิยมกันในท้องถิ่นและที่อื่นๆ ราคาการแลกเปลี่ยนอยู่ในเกณฑ์สูง สมัยก่อนวัตถุมงคลที่ออกจากวัดมีราคาสูงโดยเฉพาะตะกรุด ๗ ดอกโดยแจกแก่ผู้ร่วมทำบุญ ๑๐๐ บาทขึ้นไป ผู้คนจึงนิยมรูปหล่อและเหรียญกันมากกว่า และที่เหลืออยู่โดยมิได้แจกกันมาก่อนคือลูกอม
รูปถ่ายเก่าบนศาสาการเปรียญของหลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม |
ของดีของหลวงพ่อชุ่มที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือรูปหล่อหน้าตัก ๑ นิ้วที่สร้างปี พ.ศ. ๒๔๙๗ รองลงมาคือเหรียญทุกๆรุ่น ความนิยมเกิดจากความเคารพเลื่อมใสในวิชา อาคมของหลวงพ่อชุ่ม ประการหนึ่งและอีกประการหนึ่งคือประสบการณ์ของผู้ที่ได้รับของดีนั้นๆ แล้วพบกับเหตุการณ์มหัศจรรย์มาแล้วจึงเล่าต่อๆกันมา.
สำหรับรูปหล่อหลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม พิมพ์ใหญ่ถือเป็นพระเครื่องรุ่นสุดท้ายของหลวงพ่อชุ่ม ที่มีพุทธคุณ โดดเด่น ทั้งในด้านคลาดแคล้ว คงกระพัน เป็นที่หวงแหนของชาวบ้านในพื้นที่บางคนถึงขนาดที่เจ้าของบางคนไม่ยอมให้คนแปลกหน้าได้ดูได้ชม ด้วยซ้ำไป ด้วยพุทธคุณที่โดดเด่นด้านคงกระพัน ชาตรี คลาดแคล้ว จนเป็นที่ประจักษ์ไปทั่วทั้งคุ้งน้ำ ขนาดที่เล่ากันว่าใครเอาปืนมาลองกับรูปหล่อใหญ่หลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม รับรองได้ว่า "๑ แซะ ๒ แซะ ๓ กระบอกปืนแตก" ทำให้วงการพระเครื่องให้การยอมรับและเรียกกันติดปากว่า "มหาอุดแห่งวัดราชคาม" และเป็นที่แสวงหาของคนทั่วไป
สมัยก่อนเจ้าพ่อกังวาน วีระนนท์ แห่งคลองบางนกแขวก ถือเป็นบุคคลที่ทรงอิทธิพลเป็นอย่างที่สุด ขนาดเวลาที่เด็กร้องไห้งอแง คนโบราณทั่วๆไปมักนิยมขู่เด็กว่าตำรวจมาให้หยุดร้อง แต่คนย่านบางนกแขวงและระแวงใกล้เคียงจะขู่เด็กว่า เจ้าพ่อกังวานมา! เด็กรายไหนรายนั้นจะหยุดร้องไห้ทันที เจ้าพ่อกังวานผู้นี้นับถือหลวงพ่อชุ่มเป็นอย่างมากก็ได้อาศัยรูปหล่อหลวงพ่อชุ่มนี่แหละ กำบังตนให้รอดพ้นจากสายตาของตำรวจกองปราบ ซึ่งบุกเข้ามาจับถึงในบ้าน แต่หาตัวเจ้าพ่อไม่พบอย่างน่าอัศจรรย์ใจ ทั้ง ๆ ที่เจ้าพ่อก็ตกใจยืนตัวแข็งท่องนะโมอยู่กลางบ้าน
"ในคอเจ้าพ่อแขวนรูปหล่อหลวงพ่อชุ่มรุ่นนี้องค์เดียวเอง".
อีกหนึ่งเหตุการณ์จ่าเฉื่อย เต็มเปี่ยม รับราชการเป็นตำรวจ ครั้งหนึ่งได้ออกล้อมจับปราบโจรที่ก่อเหตุปล้นทรัพย์ ได้ถูกคนร้ายที่มีปืนกรน ยิงกราดมาถูกที่ต้นขา ทั้ง ๒ ข้าง ล้มกลิ้ง แต่ตัวจ่าเฉื่อย กลับไม่เป็นอะไรเลย มีแต่เพิียงรอยช้ำเป็นจุดๆเท่านั้น ในคอจ่าเฉื่อยห้อยรูปหล่อ พิมพ์ใหญ่เพียงองค์เดียวเท่านั้น.
โดย : สารานุกรมพระเครื่องลุ่มน้ำแม่กลอง
บทความที่เกี่ยวข้อง
- พระในตำนานเหรียญหล่อชินราช หลวงพ่อเงิน วัดโพธิ์งาม บางนกแขวก พระเกจิอาจารย์ยุคเก่าแห่งลุ่มน้ำแม่กลอง
- ไขข้อข้องใจรูปหล่อเล็กหลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม เก๊-แท้ ดูกันตรงไหน? และคาถาเดินธุดงค์ครั้งแรกของหลวงพ่อ
***-[เป็นกำลังใจและสนับสนุนให้เราเขียนบทความดีๆ ช่วยกดดูโฆษณาด้านล่างนะคะ]-***
หนึ่งในการการเดินธุดงค์ของหลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม (คัดลอกมาจากหนังสืองานปิดทองวัดราชคาม)
ตอบลบประมาณปี พ.ศ. ๒๔๔๖ หลวงพ่อชุ่ม วัดราชคามได้เดินธุดงค์ไปกับหลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ และพระภิกษุอีกรูป(จำชื่อไม่ได้) ทั้ง ๓ องค์เดินทางไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือมุ่งสู่จังหวัดกาญจนบุรี ติดต่อกับชายแดนของพม่า
ซึ่งใช้เวลาเดินทางกันมาแรมเดือน เมื่อถึงกำหนดที่ต้องอยู่จำพรรษาตามพระวินัยบัญญัติ ทั้ง ๓ องค์ ได้ตกลงกันว่าจะขอกำหนดจำพรรษา ณ ที่ถ้ำ ๆ หนึ่งซึ่งอยู่ระหว่างเขตไทยและพม่า ถ้ำที่กล่าวนี้ ชาวบ้านเรียกว่า "ถ้ำมะละแหม่ง"
เมื่อทั้ง ๓ เข้าไปในถ้ำก็ได้พบกับหลวงปู่ผู้ชรารูปหนึ่งอยู่จำพรรษาก่อนแล้ว จึงขออนุญาติจำพรรษาด้วย หลวงปู่ท่านก็อนุญาติด้วยความยินดี แล้วทั้ง ๓ ก็มอบกายถวายตัวเป็นศิษย์ เพื่อศึกษาจิตตภาวนาและวิทยาคมจากหลวงปู่
ซึ่งท่านก็รับเป็นศิษย์ด้วยจิตเมตตา ตลอดพรรษาเวลา ๓ เดือน ทั้ง ๓ ท่านได้ตั้งใจรับการถ่ายทอดวิชาการปฏิบัติทางจิตและวิทยาคมต่างๆ จากหลวงปู่ผู้ชราอย่างเต็มที่ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาในตัวหลวงปู่
ซึ่งเหตุที่เกิดศรัทธาเลื่อมใสในตัวหลวงปู่ก็คือ คืนแรกที่ได้เข้าจำพรรษาในถ้ำนั้น พอรุ่งขึ้นทั้ง ๓ ก็เตรียมตัวบิณฑบาตอันเป็นกิจวัตรของภิกษุทั้งหลาย
แต่พอหลวงปู่เห็นก็บอกว่าทั้ง ๓ ไม่ต้องออกบิณฑบาตรหรอก หลวงปู่จะบิณฑบาตรนำอาหารมาเลี้ยงเอง ทั้ง ๓ จึงปฏิบัติภาระกิจด้วยการทำความสะอาดปัดกวาดที่พัก
ซักครู่หลวงปู่ก็กลับมาที่ถ้ำพร้อมอาหารคาวหวานและผลหมากรากไม้ มีจำนวนพอที่จะทำภัตตกิจได้ทั้ง ๔ องค์
ซึ่งทั้ง ๓ คิดเพียงในใจตรงกันว่า หลวงปู่ผู้ชรานี้ต้องมีอิทธิปาฏิหารย์อย่างแน่นอน เพราะว่าบริเวณใกล้ๆ ถ้ำนั้นไม่มีหมู่บ้านให้เห็นเลย หลวงปู่ออกไปบิณฑบาตรเพียงครู่ก็กลับมาพร้อมอาหารอันเพียงพอ
เมื่อถึงกำหนดปวารณาออกพรรษา ภิกษุทั้ง ๓ ก็กระทำปวารณา เมื่อผ่านไปไม่กี่วัน หลวงปู่ก็เรียกหาให้เข้าพบและบอกว่า ถึงกำหนดเวลาแล้วให้ท่านทั้ง ๓ จะต้องเดินธุดงค์ต่อไปเพื่อศึกษาหาความรู้จากผู้อื่น ขอให้ธุดงค์ไปทางทิศเหนือแล้วจะได้รับการศึกษาเพิ่มเติมตามที่ต้องการ แต่ระหว่างเดินทางขอให้ระวังอย่าได้ประมาท
เมื่อกราบนมัสการลาแล้วทั้ง ๓ ก็ได้ธุดงค์ต่อไปเรื่อยๆ บางครั้งเจอหมู่บ้านป่า บางครั้งก็อิ่ม บางครั้งก็อด ธุดงค์เป็นเวลาแรมเดือนก็เข้าเขตติดต่อระหว่างกาญจนบุรีกับชัยนาท ขณะที่ธุดงค์ระหว่างทางทั้ง ๒ จังหวัด ภิกษุองค์ที่ไม่ทราบชื่อก็ป่วยเป็นไข้ป่าอย่างรุ่นแรก และมรณภาพลงในที่สุด
หลวงพ่อชุ่ม และหลวงพ่อรุ่ง ไม่สามารถช่วยได้และได้ทำการเผากันในป่านั่นเอง เสร็จแล้วเก็บกระดูกห่อผ้าติดตัวมาด้วย จากนั้นทั้ง ๒ จึงเดินทางเข้าสู่จังหวัดชัยนาท (ไปเรียนวิชากับหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่าต่อไปอย่างที่ทราบกัน).