ไขข้อข้องใจ รูปหล่อใหญ่(หล่อโบราณ) หลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม เก๊-แท้ ดูตรงไหน?
ขนาดที่เล่ากันว่าใครเอาปืนมาลองกับรูปหล่อใหญ่หลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม รับรองได้ว่า "๑ แซะ ๒ แซะ ๓ กระบอกปืนแตก" ทำให้วงการพระเครื่องให้การยอมรับและเรียกกันติดปากว่า "มหาอุดแห่งวัดราชคาม" และเป็นที่แสวงหาของคนทั่วไปขนาดหลวงพ่อเชย วัดเกาะลอย ยังเดินลัดทุ่งนามาที่วัดราชคาม เพื่อมาขอรูปหล่อพิมพ์ใหญ่ของหลวงพ่อชุ่มไปบูชา
ภาพถ่ายเก่าศาลาการเปรียญวัดราชคาม สร้างในสมัยหลวงพ่อชุ่ม |
สมัยก่อน เจ้าพ่อกังวาน วีระนนท์ แห่งคลองบางนกแขวก ถือเป็นบุคคลที่ทรงอิทธิพลเป็นอย่างที่สุด ขนาดเวลาที่เด็กร้องไห้งอแง คนโบราณทั่วๆไปมักนิยมขู่เด็กว่าตำรวจมาให้หยุดร้อง แต่คนย่านบางนกแขวงและระแวงใกล้เคียงจะขู่เด็กว่า เจ้าพ่อกังวานมา! เด็กรายไหนรายนั้นจะหยุดร้องไห้ทันที
เจ้าพ่อกังวานผู้นี้นับถือหลวงพ่อชุ่มเป็นอย่างมากก็ได้อาศัยรูปหล่อหลวงพ่อชุ่มนี่แหละ กำบังตนให้รอดพ้นจากสายตาของตำรวจกองปราบ ซึ่งบุกเข้ามาจับถึงในบ้าน แต่หาตัวเจ้าพ่อไม่พบอย่างน่าอัศจรรย์ใจ ทั้ง ๆ ที่เจ้าพ่อก็ตกใจยืนตัวแข็งท่องนะโมอยู่กลางบ้าน
"ในคอเจ้าพ่อแขวนรูปหล่อหลวงพ่อชุ่มรุ่นนี้องค์เดียวเอง"
ภาพเขียนหลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม ในผนังพระอุโบสถหลังเก่า |
อีกหนึ่งเหตุการณ์ จ่าเฉื่อย เต็มเปี่ยม รับราชการเป็นตำรวจ ครั้งหนึ่งได้ออกล้อมจับปราบโจรที่ก่อเหตุปล้นทรัพย์ ได้ถูกคนร้ายที่มีปืนกรน ยิงกราดมาถูกที่ต้นขา ทั้ง ๒ ข้าง ล้มกลิ้ง แต่ตัวจ่าเฉื่อย กลับไม่เป็นอะไรเลย มีแต่เพียงรอยช้ำเป็นจุดๆเท่านั้น ในคอจ่าเฉื่อยห้อยรูปหล่อ พิมพ์ใหญ่เพียงองค์เดียวเท่านั้น
พระอุโบสถหลังเก่าของวัดราชคาม สร้างในปี พ.ศ. ๒๔๖๗ สมัยหลวงพ่อชุ่ม |
รูปหล่อหลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม พิมพ์ใหญ่ สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๗ จัดเป็นพระเครื่องที่มีกรรมวิธีการสร้างแบบหล่อโบราณแบบเบ้าประกบ โดยการใช้การถอดพิมพ์จากหุ่นเทียนทีละองค์ ในครั้งแรกช่างจะมีการปั้นแบบขึ้นมา ๑ องค์ หลังจากนั้นช่างได้ทำการถอดพิมพ์และแต่งพิมพ์เพื่อเก็บรายละเอียด และเพื่อให้ได้แม่พิมพ์หุ่นเทียน ที่มากพอกับจำนวนการจัดสร้าง
จึงทำให้รูปหล่อหลวงพ่อชุ่มมีแม่พิมพ์ที่ค่อนข้างหลากหลาย มีทั้งหน้าเล็ก หน้าใหญ่ (ตามแต่ละเรียก) โดยหน้าตาของรูปหล่อจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่าแม่พิมพ์นั้นถอดและช่างแต่งพิมพ์มาอย่างไร บางพิมพ์นิ้วหัวแม่เท้าของหลวงพ่อยื่นออกมาอย่างชัดเจน บางพิมพ์ก็เรียบ แต่หลักการดูรูปหล่อพิมพ์ใหญ่ ของหลวงพ่อชุ่มให้ดูที่
๑. ใต้ฐานพระมีการตอกคำว่า "พระครูชุ่ม" หรือไม่
โดยใต้ฐานองค์พระต้องเป็นตัวตอกเท่านั้น!!
หากเป็นตัวอักษรที่หล่อมากับพระให้สัญนิฐานได้เลยว่า
ไม่ทัน(ในที่นี้จะไม่พูดว่าพระเก๊นะครับ)
โดยการตอกอาจจะไม่ติดชัดทุกตัวอักษรแต่ตัวที่มักจะติดชัดสุดคือตัว "ม" (ผู้เขียนเคยเจอองค์ที่ตอกติดแค่ตัว "พ" ก็มี) ซึ่งจะต้องลึกกว่าตัวอื่นๆ
โค้ด "พระครูชุ่ม" แบบตอก ของรูปหล่อใหญ่-หล่อเล็ก หลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม |
โค้ดเก๊ ย้ำว่า โค้ดเก๊ "พระครูชุ่ม" หลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม |
ฐานอุดทองแดง รูปหล่อใหญ่หลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม (ตะไบค่อนข้างละเอียด) |
โค้ดและรอยอุดด้วยทองแดง รูปหล่อใหญ่หลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม (ตะไบหยาบ) |
โค้ดและรอยอุดด้วยทองแดง รูปหล่อใหญ่หลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม (แบบเจียเรียบ) |
๒. ใต้ฐานพระที่จะต้องมีร่องรอยแต่งตะไบ บางองค์หยาบ บางองค์ละเอียด (ในบางองค์จะเจียเรียบมีรอยตะไบนิดหน่อย ซึ่งหาได้ยาก) การเจาะเพื่ออุดกริ่ง และปิดทับทองแดงเท่านั้น!! จะมีโค้ดหรือไม่มีก็ได้ เพราะพระหลายๆองค์แจกไปก่อนที่ตัวตอกจะดำเนินการส่งมาถึง (บางก็ว่าประมาณ ๑๐๐ องค์ที่ไม่ตอก) **หากเป็นพระแท้ที่ไม่ตอกคำว่า "พระครูชุ่ม" นั่นแปลว่าหายาก จงเก็บไว้ให้ดี**
รูปหล่อใหญ่หลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม ปี ๒๔๙๗ |
๔. ของแท้จะมีขนาดใหญ่กว่าของถอดพิมพ์หรือรุ่นหลังๆ อย่างชัดเจน ในบางองค์จะมีขนาดล่ำใหญ่หนากว่ากันนิดหน่อย ซึ่งเกิดจากช่างแต่งพิมพ์พระแบบพระหล่อโบราณ ซึ่งจะไม่เหมือนกัน แต่ถ้าวัดจากขอบฐานด้านบนถึงบริเวณหัวไหล่ของหลวงพ่อจะสูงเท่ากันเสมอ
เนื้อพระเขียวอมเหลือง มีริมฝีปากบน-ล่าง รูปหล่อใหญ่หลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม ไม่รมดำ |
๕. เนื้อพระจะเป็นเนื้อเหลืองอมเขียว แบบพระหล่อสมัยเก่าๆ ในองค์ที่ไม่ถูกใช้จะมีดินไทยติดตามซอกพระ ส่วนองค์ที่ถูกใช้เนื้อจะจัดมาก บางองค์มีผิวน้ำทองกระจายเป็นเกร็ดไปตามซอกองค์พระ
จุดสังเกตุเบื้องต้นทั้ง ๕ ข้อถือเป็นจุดตายที่สามารถแยกพระเก๊-แท้ ได้อย่างชัดเจนควรศึกษาให้ขึ้นใจ หากไม่รู้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญอีกครั้ง
ค่านิยม : ในการเล่นหาค่านิยมขององค์ที่มีความสวยเท่าๆกัน องค์ที่ตอกคำว่า "พระครูชุ่ม" จะมีราคาแพงกว่าองค์ที่ไม่ตอก (อาจเพราะสามารถแยกเก๊-แท้ ได้ง่าย) จากประสบการณ์ของผู้เขียนเคยเห็นและผ่านตาพระแท้ที่ไม่ตอก แค่ ๔ องค์ หนึ่งในนั้นเจ้าของเป็นคนคลองตาจ่า หวงแหนมาก เป็นมรดกตกทอดกันมาในตระกูลจากรุ่นปู่-ย่า
ฉนั้นหากท่านใดได้มีโอกาสครอบครองรูปหล่อพิมพ์ใหญ่ จงเก็บรักษาให้ดี ด้วยจำนวนการสร้างที่น้อย การหมุนเวียนในสนามก็น้อย ลืมบอกไปมีผู้นิยมพระสายแม่กลองหลายๆท่าน ซุ่มเก็บรูปหล่อใหญ่กันเยอะมาก ฉนั้นหากท่านมีโอกาสพบเจอ อย่าปล่อยให้หลุดมือไปเด็ดขาด ของแท้หายากจริงๆ
ริมฝีปากบน-ล่าง รูปหล่อใหญ่หลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม รมดำ มีดินไทย (หน้านี้หายาก) |
อีกจุดที่น่าสนใจคือรูปหล่อใหญ่ของหลวงพ่อชุ่ม ในองค์ที่ไม่ผ่านการใช้ ให้สังเกตุตามซอกจะมีดินไทยติดตามชอกขององค์พระทำให้ดูง่าย นอกจากนี้การรมดำของรูปหล่อหลวงพ่อชุ่ม จะมีด้วยกัน ๒ แบบ คือแบบที่รมดำแบบหนาสนิทไม่หลุดลอกง่ายๆ(ออกหนา) กับอีกแบบที่รมดำบางๆ ซึ่งถ้าโดนเหงื่อหรือสัมผัสบ่อยๆ รมดำนี้จะหลุดลอกออกไปได้อย่างง่าย.
โดย : สารานุกรมพระเครื่องลุ่มน้ำแม่กลอง
บทความที่เกี่ยวข้อง :
- ไขข้อข้องใจรูปหล่อเล็กหลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม เก๊-แท้ ดูกันตรงไหน? และคาถาเดินธุดงค์ครั้งแรกของหลวงพ่อ
***- [กรุณาสละเวลากดดูโฆษณาด้านล่างนี้ เพื่อช่วยให้เรายังคงให้ข้อมูลโดยไม่มีค่าใช้จ่ายได้ต่อไป ขอบคุณค่ะ] -***
โค้ด "พระครูชุ่ม" ที่ตอกไว้หากดูจนชำนาญแล้ว สามารถเอาไปดูรูปหล่อเล็กของหลวงพ่อชุ่มได้สบาย เพราะใช้ตัวตอกตัวเดียวกัน เพราะปัจจุบันหล่อเล็กบางองค์เล่นจากเก๊เป็นแท้ไปแล้ว ควรศึกษาโค้ดให้แม่นยำจะปลอดภัย
ตอบลบ