ประวัติและวัตถุมงคลของหลวงพ่อหรุ่น พุทธสโร วัดช้างเผือก ผู้สร้างพระปิตตามหาอุตย์ แห่งอัมพวา แม่กลอง
หลวงพ่อหรุ่น วัดช้างเผือก สมุทรสงคราม |
รัชสมัยผ่านมาเนิ่นนาน ลุ่มน้ำแม่กลองถือเป็นแหล่งสัพพวิชา มากไปด้วยเกจิอาจารย์นับเนื่องจากอดีตถึงปัจจุบัน ไม่เคยขาดหาย แต่ถ้าให้พูดถึงเกจิอาจารย์ที่เป็นจุดหมายปลายทางของพระธุดงค์แล้วในสมัยก่อน วัดช้างเผือกถือเป็นแหล่งรวมพระธุดงค์มากมายหลายรูป เนื่องด้วยที่วัดแห่งนี้มีเกจิอาจารย์ผู้มากวิชาโดดเด่น ด้านการทำน้ำมนต์ และวิชามหาอุตย์นั่นก็คือ พระอธิการรุฬ วัดช้างเผือก หรือหลวงพ่อหรุ่น วัดช้างเผือกนั่นเอง
ต่อมาบิดาได้นำไปฝากเรียนหนังสือไทยและขอม ที่สำนักวัดประตูสาร มีพระอาจารย์ภู่เป็นครู เรียนจนจบอ่านออกเขียนได้ พอปี พ.ศ. ๒๔๙๒ หลวงพ่อหรุ่นมีอายุครบบวช จึงได้อุปสมบทที่วัดประตูสาร ได้รับฉายาว่า "พุทธสโร" โดยมี
พระอาจารย์ภู่ วัดประตูสาร เป็นพระอุปัชฌาย์
หลังบวชแล้วก็ได้ศึกษาพระธรรมวินัย ท่องบทสวดมนต์จนจบพระปาฏิโมกข์ซึ่งถือว่าหาอาจารย์ที่แคล้วคล่องในระดับนี้ได้ยากมากในสมัยนั้น
ในสมัยนั้นพระภิกษุมักนิยมการธุดงควัตร หลวงพ่อหรุ่น ท่านก็เช่นกัน ท่านได้ไปศึกษากับพระอาจารย์แสวง วัดบางปลาม้า ได้ธุดงค์ไปหลายแห่งฝึกพลังจิตจนแก่กล้า พอพรรษาที่ ๖ ได้เดินทางมาในงานศพนางแจ่ม ซึ่งเป็นโยมยายที่บ้านใกล้วัดบางจาก สมุทรสงคราม จึงได้รู้จักกับพระอุปัชฌาย์เอี่ยม วัดบางจาก
หลวงพ่อเอี่ยม จึงชวนให้มาอยู่ด้วยกัน ต่อมาบิดาท่านเสียชีวิตลง โยมมารดาจึงชวนกันอพยพกลับมาอยู่ที่บางจาก ท่านก็เลยมาจำพรรษาที่วัดบางจาก หลวงพ่อหรุ่นท่านชอบออกธุดงค์แบกกลดเข้าป่าเป็นประจำ ได้ศึกษา พุทธาคม สมุนไพร แพทย์แผนโบราณ จากพระอาจารย์ในป่าลึก ได้รับความรู้ต่างๆ มากมายจนเป็นที่พึ่งของภิกษุสามเณร และชาวบ้านในแถบนั้น
หลวงพ่อหรุ่น วัดช้างเผือก |
ต่อมาวัดช้างเผือกว่างเจ้าอาวาสลง พวกชาวบ้านที่เลื่อมใสนับถือในตัวท่านจึงได้นิมนต์หลวงพ่อหรุ่นไปเป็นเจ้าอาวาส ด้วยวัดช้างเผือกในขณะนั้นกำลังชำรุดทรุดโทรมอย่างมาก ท่านจึงรับเป็นเจ้าอาวาสให้ พอมาอยู่ที่วัดช้างเผือก ท่านก็ได้เริ่มบูรณปฏิสังขรณ์พัฒนาวัดเรื่อยมา มีพระและชาวบ้านมาขอเรียนวิปัสสนากัมมัฏฐานกับท่านเป็นจำนวนมาก
ด้วยหลวงพ่อหรุ่น มีความเก่งกล้ามาก จึงเกิดความนิยมในหมู่พระสงฆ์ที่ออกธุดงค์ทั้งหลายว่า ต้องมาปักกลด ที่วัดช้างเผือกเพื่อศึกษาวิชากับหลวงพ่อหรุ่น จนทำให้พื้นที่ของวัดแน่นขนัดไปด้วย กลดฯ เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีชาวบ้านมาให้ท่านรักษาโรคแทบทุกวัน คนถูกผีเข้าเจ้าสิงก็มาให้ท่านรดน้ำมนต์กันจนแน่นวัด ใครๆ ก็รู้จักหลวงพ่อหรุ่นกันทั้งลุ่มน้ำแม่กลอง
หลวงพ่อหรุ่น ท่านก็ได้วิชาทำผงวิเศษ ๑๐๘ จากหลวงพ่ออ้น วัดบางจาก ซึ่งทางใช้ในการ สร้างพระเครื่องไว้สำหรับแจกจ่ายให้แก่ญาติโยมและสั่งสอนวิชาให้แก่ศิษย์สืบต่อไป
หลวงพ่อหรุ่นท่านเป็นพระที่มีเมตตาไม่ปิดบังวิชา ใครมาขอศึกษาท่านก็ยินดีสอนให้ จึงมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย เช่น หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม หลวงพ่อหรีด วัดเพลง หลวงพ่อห่วง วัดท่าใน หลวงพ่อแช่ม วัดจุฬามณี เป็นต้น
หลวงพ่อหรุ่น วัดช้างเผือก ท่านมรณภาพด้วยโรคชรา ในราวปี พ.ศ. ๒๔๕๘ นับรวมสิริอายุได้ ๘๖ ปี พรรษาที่ ๖๖
วัตถุมงคลของหลวงพ่อหรุ่น วัดช้างเผือก
เหรียญหล่อ ๒ หน้า หลวงพ่อหรุ่น วัดช้างเผือก
สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. ๒๔๕๘ ลักษณะเป็นเหรียญหล่อโบราณ ๒ หน้า มีสร้างด้วยเนื้อเงิน สัมฤทธิ์ และเนื้อตะกั่ว ถือเป็นวัตถุมงคลที่หลวงพ่อหรุ่นได้สร้างไว้และมีอายุการสร้างเกิน ๑๐๐ ปี จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
เหรียญหล่อ ๒ หน้า หลวงพ่อหรุ่น วัดช้างเผือก ก่อนปี พ.ศ. ๒๔๕๘ |
ด้านหน้า เป็นรูปพระพุทธนั่งสมาธิ มีรัศมีประภามงคล
เหรียญหล่อหน้าเดี่ยว หลวงพ่อหรุ่น วัดช้างเผือก
สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. ๒๔๕๘ ลักษณะเป็นเหรียญหล่อโบราณหน้าเดียว จัดเป็นวัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมและหายากของหลวงพ่อ สร้างด้วยเนื้อเงิน สัมฤทธิ์ และเนื้อตะกั่ว ถือเป็นวัตถุมงคลที่หลวงพ่อหรุ่นได้สร้างไว้อายุเกิน ๑๐๐ ปี จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
เหรียญหล่อหน้าเดียว หลวงพ่อหรุ่น วัดช้างเผือก เนื้อตะกั่ว ก่อนปี พ.ศ. ๒๔๕๘ |
เหรียญหล่อหน้าเดียว หลวงพ่อหรุ่น วัดช้างเผือก เนื้อเงิน ของคุณParitat Thakurnsri |
ด้านหน้า เป็นรูปพระพุทธนั่งสมาธิ มีรัศมีประภามงคล ประทับบนฐานเขียง เหมือนเหรียญหล่อ ๒ หน้า
พระปิดตาสูญญัง หลวงพ่อหรุ่น วัดช้างเผือก
สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. ๒๔๕๘ องค์พระสร้างจากเนื้อดินขุยปูหรือดินที่ ปูขนออกมาจากรูของตน ถือเป็นมวลสารที่เป็นเคล็ดลับของหลวงพ่อหรุ่น จัดเป็นอีกหนึ่งวัตถุมงคลที่หลวงพ่อหรุ่นได้สร้างไว้ มีเนื้อเดียวเท่านั้นคือเนื้อดินละเอียด แกร่งแต่หนึกนุ่น เก่ามีอายุเกิน ๑๐๐ ปี ปัจจุบันถือเป็นพระปิดตาที่หาชมได้ยาก จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
พระปิดตาสูญญัง หลวงพ่อหรุ่น วัดช้างเผือก |
ด้านหน้า เป็นพระปิดตานั่งขัดสมาธิ มีฐานเขียงรอง ๑ ชั้น ใต้ฐานมียันต์หนึ่งตัวขดอยู่ที่ฐาน ซึ่งเป็นที่มาของชื่อพิมพ์นี้
พระเนื้อดินพิมพ์พระโมคคัลลานะ-พระสารีบุตร
สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. ๒๔๕๘ จัดเป็นพระเนื้อดินที่หลวงพ่อหรุ่น วัดช้างเผือก ได้สร้างเอาไว้แจกจ่ายแก่ชาวบ้านที่หาได้ยาก น้อยคนนักที่จะรู้จัก สร้างด้วยเนื้อดินเผาเนื้อละเอียด จำนวนการสร้างน้อย หากพบเจออย่าปล่อยให้หลุดมือไปเชียว
พระเนื้อดินพิมพ์พระโมคคัลลานะ-พระสารีบุตร หลวงพ่อหรุ่น วัดช้างเผือก ก่อนปี พ.ศ. ๒๔๕๘ |
พระเนื้อดินพิมพ์พระโมคคัลลานะ-พระสารีบุตร หลวงพ่อหรุ่น วัดช้างเผือก ก่อนปี พ.ศ. ๒๔๕๘ |
ด้านหน้า เป็นรูปพระพุทธปางสมาธิเป็นประธาน มีฐานผ้าทิพย์รองรับ ด้านซ้ายขวามีพระโมคคัลลานะ พระสารีบุตร มียันต์และองค์ประกอบต่างๆ สวยงาม
ด้านหลัง อูม เก่า หนึกนุ่ม ไม่มีรอยจารใดๆ
พระเนื้อดินพิมพ์พระพิฆเนศ
สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. ๒๔๕๘ จัดเป็นพระเนื้อดินเผาที่หลวงพ่อหรุ่น วัดช้างเผือก สร้างเอาไว้แจกจ่ายชาวบ้านมาแต่โบราณ สร้างด้วยเนื้อดินเผาเนื้อละเอียด จัดเป็นอีกหนึ่งวัตถุมงคลที่หายาก ชาวบ้านแถววัดช้างเผือกมักเรียกว่าพระดินเผาหลวงพ่อหรุ่น ในบางพื้นที่เล่นเป็นของหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย สิงห์บุรี เนื่องจากในสมัยก่อนสามารถทำให้มีราคาค่างวดมากขึ้น
พระเนื้อดินพิมพ์พระพิฆเนศ หลวงพ่อหรุ่น วัดช้างเผือก |
ด้านหน้า เป็นรูปพระพิฆเนศประทับนั่งขัดสมาธิภายในซุ่มทรงระฆังย่อมุม มีฐานเขียงรอง ๑ ชั้น
ด้านหลัง อูม เก่า หนึกนุ่ม ไม่มีรอยจารใดๆ
เหรียญหลวงพ่อหรุ่น วัดช้างเผือก รุ่นแรก
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๖๐ เพื่อแจกในงานศพหลวงพ่อหรุ่น มีเกจิสมัยนั้นปลุกเสกเป็นจำนวนมากอาธิเช่น หลวงพ่อคง วัดบางกระพร้อม หลวงพ่อบ่าย วัดช่องลม หลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย หลวงพ่อช่วง วัดปากน้ำ หลวงพ่อใจ วัดเสด็จ หลวงพ่อเหมือน วัดกลางเหนือฯ หลวงพ่อทองอยู่ วัดบางนางจีนนอก และลูกศิษย์ของท่านอีกเป็นจำนวนมาก มีการสร้างด้วยเนื้อเงิน และเนื้อทองแดง คาดว่าสร้างแจกจำนวนน้อยมากๆ หายากมาก ปัจจุบันมีการสร้างย้อนยุคทำให้นักสะสมที่ไม่ชำนาญเกิดการสับสน
เหรียญหลวงพ่อหรุ่น วัดช้างเผือก รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ เนื้อเงิน ของคุณปรางค์ อุ้มบาตร |
เหรียญหลวงพ่อหรุ่น วัดช้างเผือก รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ เนื้อเงิน |
ด้านหน้า เป็นรูปหลวงพ่อหรุ่น นั่งสมาธิเต็มองค์ห่มจีวรลดไหล่ พาดสังฆาฎิมีอาสนะรองรับ ระบุปี "พ.ศ. ๒๔๖๐" ขอบเหรียญมีลายกนกและขอบคล้ายม่านอย่างสวยงาม
ด้านหลัง ด้านบนสุดมีอักขระไทยเขียนว่า "วัดช้าง" ลงมาเป็นยันต์อ่านได้ความว่า "อะระหัง อะสัง วิสุโล ปุสะพุภะ" ขอบเหรียญมีลายกนกและขอบคล้ายม่านอย่างสวยงาม
เหรียญ วชผ หลวงพ่อหรุ่น วัดช้างเผือก
สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. ๒๔๖๐ มีการนำมาแจกในงานศพของหลวงพ่อหรุ่น วัดช้างเผือก ได้เข้าพิธีปลุกเสกพร้อมกับเหรียญหลวงพ่อหรุ่น รุ่นแรก จัดสร้างเพียงชนิดเดียวคือเนื้อเงิน แต่ในบางตำราก็ว่าเป็นเหรียญที่ระลึกของในหลวงรัชกาลที่ ๖ ที่มีพระนามย่อว่า วชร และทางวัดได้นำมาแจกร่วมในงานศพของหลวงพ่อ ซึ่งทางวัดไม่ได้จัดสร้างเอง
เหรียญ วชผ หลวงพ่อหรุ่น วัดช้างเผือก เนื้อเงิน |
ด้านหน้า เป็นอักษรไทย "วชผ" หรือ "วชร" เขียนไขว้กัน ชาวบ้านนิยมเรียกเหรียญ วชผ ที่พบเห็นมีเนื้อเดียวคือเนื้อเงิน
ด้านหลัง เรียบ ในบางเหรียญมีรอยจาร
ข้อมูล : บางส่วนจากคุณแทน ท่าพระจันทร์
บทความที่เกี่ยวข้อง
***-[เป็นกำลังใจและสนับสนุนให้เราเขียนบทความดีๆ ช่วยกดดูโฆษณาด้านล่างนะคะ]-***
ไม่มีความคิดเห็น