วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ประวัติและวัตถุมงคลหลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขารามวรวิหาร ผู้สร้างพระแก้ว​ วัดเจริญฯอันโด่งดัง

หลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขารามวรวิหาร

ประวัติและวัตถุมงคลหลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขารามวรวิหาร


          หากกล่าวถึงพิธีปลุกเสกพระครั้งยิ่งใหญ่สุด จัดเป็น ๑ ใน ๓ ของสุดยอดพิธีแล้ว คราวที่มีการปลุกเสกพระพุทธชินราชอินโดจีนต้องถือว่าเป็นหนึ่งในนั้นแน่นอน เพราะถูกจัดขึ้นเพื่อเป็นการสร้างพระเครื่องให้คุ้มครองทหารและประชาชนคนไทย  เนื่องจากภาวะสงครามโลกครั้งที่ ๒ ที่เกิดขึ้นทำให้เกิดความทุกข์ยากขึ้นทุกพื้นที่ 

          พระเกจิที่มีวิชาอาคมแกร่งกล้าจึงถูกนิมนต์ให้เข้าร่วมปลุกเสกในพิธีดังกล่าวจำนวน ๘๒ รูป โดยมีเจ้าพิธีคือ สมเด็จพระสังฆราชแพ วัดสุทัศน์ และยังได้นิมนค์เกจิอีกมากมายอาทิ สมเด็จพุทธาจารย์นวม วัดอนงคาราม หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม หลวงพ่ออี๋  วัดสัตหีบ   และหนึ่งใน ๘๒ สุดยอดพระเกจิอาจารย์ที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมในพิธีดังกล่าวก็คือ พระครูอัตตโกศล ( หลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขาราม ) นั้นเอง

หลวงพ่อโต วัดเจริญสุขาราม สมุทรสงคราม


          วัดเจริญสุขารามวรวิหาร ตั้งอยู่ริมคลองบางนกแขวก (คลองดำเนินสะดวก) .บางนกแขวก .บางคนที .สมุทรสงคราม อยู่ห่างจากอาสนะแม่พระบังเกิด ๕๐๐ เมตร เดิมเป็นวัดร้าง ไม่ทราบว่าสร้างขึ้นเมื่อไหร่  

          ในปี .. ๒๔๒๖ ชาวบ้านได้พร้อมใจนิมนต์ พระอธิการอาจ (หลวงพ่อมืด) วัดบางคนทีใน ให้มาเป็นเจ้าอาวาส แล้วร่วมแรงกายใจช่วยกันปฏิสังขรณ์วัดขึ้นใหม่ โดยใช้ชื่อว่า วัดต้นชมพู่ หรือ วัดกลางคลอง   

          ในปี .. ๒๔๕๑ กระทรวงเกษตราธิการได้สร้างประตูน้ำบางนกแขวกขึ้น จึงได้ชื่อวัดใหม่ว่า วัดประตูน้ำบางนกแขวก จากนั้นไม่นานก็เปลี่ยนเป็น วัดเจริญสุขาราม และ ในปี .. ๒๕๐๐ สมัยพระเทพสังวรวิมล (เจียง วณฺณสโร) เป็นเจ้าอาวาส มีการยกฐานะวัดเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร จึงใช้ชื่อ วัดเจริญสุขารามวรวิหาร นับจากนั้นเป็นต้นมา 


หลวงพ่อโต พระประธานประจำวัดเจริญสุขารามวรวิหาร

          ภายในพระอุโบสถมีการตกแต่งภายในเป็นลักษณะเฉพาะ คือ สร้างเพดานโบสถ์เป็นรูปโค้งคล้ายประทุนเรือ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์นามว่า หลวงพ่อโต เป็นพระปฏิมากรสมัยสุโขทัยปางมารวิชัย สร้างจากศิลาแลง ขนาดหน้าพระเพลากว้าง ๑๗๘ ซม. สูงจากชั้นรองประทับถึงจุฬา ๒๐๘ ซม.  
 
          โดยพระอธิการอาจ (หลวงพ่อมืด) ได้พบด้วยความบังเอิญที่ วัดหลุมดิน (ขณะนั้นเป็นวัดร้าง) อยู่ ตำบลท่าแจ่ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี พระอธิการอาจท่านเห็นก็รู้ได้ในทันทีด้วยญาณว่า พระพุทธรูปองค์นี้ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก ทั้งยังมีบารมีสูง ไม่เหมาะที่จะอยู่วัดร้างเช่นนี้ ท่านจึงนิมนต์ย้ายมายัง วัดเจริญสุขาราม ในปี .. ๒๔๓๗ เพื่อให้ประชาชนคนทั่วไปได้กราบไหว้สักการบูชา ขอพรท่านมาจนถึงปัจจุบันทุกวันนี้

          ลำดับรายนามเจ้าอาวาส วัดเจริญสุขารามวรวิหาร

          ๑. พระอธิการอาจ (หลวงพ่อมืด) ปี ..๒๔๒๖-..๒๔๕๔

          ๒. พระเทพสังวรวิมล ( หลวงพ่อเจียง วณฺณสโร ) ปี ..๒๔๕๔-..๒๕๑๔

          ๓. พระครูประกิตสุตญาณ (หลวงพ่องู้) ปี ..๒๕๑๔-..๒๕๓๔

          ๔. พระเมธีสมุทรคุณ ปี ..๒๕๓๔-ปัจจุบัน

หลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขารามวรวิหาร (สมัยหนุ่ม)

          พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณ พระเทพสังวรวิมล (เจียง วณฺณสรมหาเถระ) นามเดิม เจียง นามสกุล ลิ้มฮะสุน เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๖ พฤษภาคม .. ๒๔๒๖ ตรงกับวันแรมค่ำ เดือนปีมะแม จุลศักราช ๑๒๔๕ เวลา ๐๕.๑๕ . บ้านหมู่ที่ตำบลตาหลวง อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี โยมบิดาชื่อนายเก ลิ้มฮะสุน โยมมารดาชื่อนางกลิบ ลิ้มฮะสุน พระเดชพระคุณฯมีน้องสาวร่วมบิดา-มารดาเดียวกันกับพระคุณท่านฯคน คือ นางพวง คงทองเจริญ (ปัจจุบันถึงแก่กรรมแล้ว

          เมื่อถึงอายุครบบวช ซึ่งเป็นธรรมเนียมของชาวไทยที่เมื่ออายุครบบวชแล้ว ชายไทยต้องเข้ารับการบวชเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาและเป็นการตอบแทนพระคุณบิดา-มารดา หลวงพ่อเจียงจึงได้เข้ารับการบรรพชาอุปสมบทในพระบวรพุทธศาสนา พัทธสีมา (อุโบสถ) วัดเจริญสุขาราม ตำบลบางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม เมื่อวันพฤหัสบดีที่​ ๑๑ มิถุนายน ..​ ๒๔๔๖ ตรงกับวันแรม ๒ ค่ำ เดือน ๗ ปีเถาะ เสร็จญัตติจตุตถกรรม เมื่อเวลา ๑๖.๐๐ . ได้ฉายา "วณฺณสโร" โดยมี
 
          พระครูปรีชาวิหารกิจ (ช่วง) วัดโชติทายการาม เป็นพระอุปัชฌาย์  

          พระอธิการอาจ (หลวงตามืด) วัดเจริญสุขารามฯ เป็นพระกรรมวาจาจารย์  

          พระธรรมวิรัตสุนทร (หลวงพ่อเชย) วัดโชติทายการาม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ 

          หลังจากอุปสมบทท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัยจนแตกฉาน นอกจากนั้นท่านยังสนใจทางวิปัสสนากรรมฐาน วิชาแพทย์แผนโบราณจากพระอุปัชฌาย์ และพระคู่สวดของท่าน และออกธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆ รวมทั้งเคยไปศึกษาวิชากับหลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ จ.กาญจนบุรี

ภาพทิ้งระเบิดประตูน้ำบางนกแขวก ชาวบ้านเชื่อว่าหลวงพ่อโตช่วยให้ระเบิดไม่โดนวัด
 
          ปี พ.ศ. ๒๔๕๓ พระอาจารย์อาจมรณภาพ คณะสงฆ์เห็นสมควรแต่งตั้งให้หลวงพ่อเจียง ท่านเป็นเจ้าอาวาสสืบแทน
 
          ปี พ.ศ. ๒๔๖๙ หลวงพ่อเจียง ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระครูปลัดของพระเทพกวี เจ้าคณะมณฑลราชบุรี 
 
          ปี พ.ศ. ๒๔๗๐ หลวงพ่อเจียง ท่านและได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูอัตตโกศล และเป็นพระอุปัชฌาย์ 
 
ภาพถ่ายหลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขาราม สมุทรสงคราม
หลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขาราม สมุทรสงคราม

          ซึ่งหลังจากที่ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ชาวบ้านบางนกแขวกนิยมนำลูกหลานมาให้ท่านบวชเป็นจำนวนมาก ท่านเป็นพระพูดจริงทำจริงเคร่งครัดต่อพระธรรมวินัย มีผู้ที่เลื่อมใสและมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย หนึ่งในจำนวนลูกศิษย์สมัยนั้น คือ จอมพลผิน ชุณหะวัณ

          ปี พ.ศ. ๒๔๘๐ หลวงพ่อเจียง ท่านได้เลื่อนเป็น รองเจ้าคณะจังหวัดสมุทรสงคราม 
 
          ปี พ.ศ. ๒๔๙๐ หลวงพ่อเจียง ท่านได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระเมธีสมุทรเขตต์ 
 
          ปี พ.ศ. ๒๕๐๗ หลวงพ่อเจียง ท่านได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์อีกครั้ง ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายคือ พระเทพสังวรวิมล 
 
          หลวงพ่อเจียง ท่านมรณภาพลงด้วยโรคชราเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๔ นับรวมสิริอายุได้ ๘๙ ปี  ๖๙ พรรษา.
      
วัตถุมงคลของหลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขาราม

          ช่วงแรกๆท่านได้สร้างตะกรุดโทนไว้ค่อยแจก ญาติโยม ทั่วไป กรรมวิธีการสร้างท่านต้องลงไปจารตะกรุดใต้น้ำตรงท่าน้ำหน้าวัดตามที่ได้ร่ำเรียนมา ซึ่งถือเป็นของหายากมากในปัจจุบัน

ปี พ.ศ. ๒๔๗๐

          เหรียญหลวงพ่อโต วัดเจริญสุขาราม รุ่นแรก

          ได้มีการสร้างเพื่อแจกในการทำบุญแก่ผู้บริจาคทรัพย์ สร้างโรงเรียนสุขวัฒนาทาน ซึ่งถือเป็นโรงเรียนแห่งแรกในพื้นที่ตำบลบางนกแขวง โดยมีการสร้างด้วยกันทั้งหมด ๓ เนื้อ ประกอบไปด้วย เนื้อทองคำ เนื้อเงิน และเนื้อทองแดง ( มีทั้งแบบที่มีกะไหล่ทองและไม่มีกะไหล่) *** เหรียญรุ่นนี้ไม่มีการยืนยันว่ามีเกจิท่านใดร่วมปลุกเสกบ้าง เพราะน่าจะมีเกจิสายแม่กลองร่วมปลุกเสกหลายองค์ แต่ถือเป็นเหรียญเก่าแก่ พศ.ลึกเหรียญหนึ่งเลยทีเดียว *** 

เหรียญหลวงพ่อโต วัดเจริญสุขาราม ปี ๒๔๗๐

          ด้านหน้า แกะเป็นรูปหลวงพ่อโต แต่มีลักษณะคล้ายพระพุทธชินราช ซึ่งช่างที่แกะเหรียญได้แกะซุ้มนาคลงไปในเหรียญ องค์พระประทับนั่งบนฐานบัว ๒ ชั้น ด้านบนมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อโต" ด้านล่างองค์พระมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พ.ศ. ๒๔๗๐"
          ด้านหลัง มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ที่รฤกในการฉลองโรงเรียนสุขวัฒนาทาน วัดเจริญศุขาราม"

ปี พ.ศ. ๒๔๙๐
   
         พระแก้วหลวงพ่อเจียง รุ่นแรก

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ โดยมีการสร้างด้วยเนื้อแก้วสีเขียวเพียงเนื้อเดียว พุทธลักษณะ องค์พระเป็นพระพุทธรูปนั่งปางสมาธิ พาดสังฆาฎิ สร้างจากเนื้อแก้ว พระหัตถ์วางบนพระเพลามือติดกัน ไม่เป็นร่อง ฐานพระมีบัวเหลี่ยมคมชัดจำนวน ๒ ชั้น พระเกศยอดบนสุดยาวกว่าพระเกศยอดที่สอง องค์พระอวบอิ่มสวยงาม เนื้อแก้วมีสีเขียว ไม่มีฟองอากาศ และเนื้อเกิน ผลิตจากประเทศอิตาลีโดยศิษย์ได้สร้าง และฝากช่างฯ มาถวายหลวงพ่อเจียง โดยหลวงพ่อเจียงมิได้มีดำริให้จัดสร้าง จำนวนการสร้าง ๓๐๐ องค์ บางตำราก็ว่าตกน้ำหายไป ๑ องค์ ปัจจุบันของแท้หาชมได้ยากยิ่ง เนื่องจากจำนวนการสร้างที่น้อยนิด ผู้ที่ได้รับมากับมือก็หวงแหนกันมาก และมักตกทอดมากันในหมู่ญาติเท่านั้น

              ** ส่วนตัวที่เห็นผ่านตามาเชื่อว่าจำนวนการสร้างน่าจะมากกว่า 300 องค์ เพราะพระมีหมุนเวียนมากพอสมควร **

พระแก้วหลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขารามวรวิหาร รุ่นแรก

พระแก้วหลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขารามวรวิหาร รุ่นแรก (มีสีเขียวสีเดียว)

          ด้านหน้า จำลองแบบมาจากพระพุทธรูปปางสมาธิ พาดผ้าสังฆาฎิ ประทับนั่งบนฐานบัวสี่เหลี่ยม ๒ ชั้น มือทั้ง ๒ ข้างชนประสานกันเป็นแอ่งโค้งสวยงาม
          ด้านหลัง มีผ้าสังฆาฎิพาดผ่านจากบ่าไปถึงฐานบัวสี่เหลี่ยม ก้นองค์พระเรียบ

ปี พ.ศ. ๒๔๙๓

         พระแก้วหลวงพ่อเจียง รุ่นสอง

         ในปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ได้มีการจัดสร้างพระแก้วขึ้นอีกครั้ง โดยเป็นดำริของหลวงพ่อเจียง โดยมีการปลุกเสกเดี่ยวจากหลวงพ่อเจียง เนื่องจากพระแก้วรุ่นแรกเป็นที่ต้องการของลูกศิษย์เป็นจำนวนมาก ไม่พอแจก ทางวัดจึงได้จัดสร้างพระแก้วขึ้นอีกครั้ง ถือเป็นรุ่น ๒ โดยสั่งผลิตจากประเทศญี่ปุ่น จำนวนการสร้างหลักหมื่นองค์ องค์พระมีขนาดสูงและเรียวกว่ารุ่นแรก พระเกศยอดบนสุดสั้นกว่าพระเกศยอดที่สอง แบ่งออกเป็น ๗ สี หลักๆ ตามสีของวันคือ  ๑. สีแดง ๒.สีเหลือง ๓.สีขาว ๔.สีเขียว ๕. สีส้มหรือสีชา ๖. สีฟ้า และ ๗. สีม่วง แต่ในปัจจุบันมีการแยกสีออกไปอีก ซึ่งสีเหล่านั้นก็คือพระแก้วที่มีการผสมสีผิดเพี้ยนออกไปจนทำให้เกิดสีจางลงไปนั่นเอง

พระแก้วหลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขาราม รุ่น ๒ (มีหลายสี)

พระแก้วหลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขาราม รุ่น ๒ (มีหลายสี)

พระแก้วหลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขาราม รุ่น ๒ สีแดง

พระแก้วหลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขาราม รุ่น ๒ สีฟ้า

พระแก้วหลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขาราม รุ่น ๒ สีส้มหรือสีชา

พระแก้วหลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขาราม รุ่น ๒ สีเขียว

พระแก้วหลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขาราม รุ่น ๒ สีเหลือง

พระแก้วหลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขาราม รุ่น ๒ สีขาว

พระแก้วหลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขาราม รุ่น ๒ สีม่วง

พระแก้วหลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขาราม รุ่น ๒ สีชาหรือส้มที่ผสมสีผิดเพี้ยน

          ด้านหน้า จำลองแบบมาจากพระพุทธรูปปางสมาธิ พาดผ้าสังฆาฎิ ประทับนั่งบนฐานบัวสี่เหลี่ยม ๒ ชั้น มือขององค์พระชนกันแต่ไม่ผสานกัน โดยพุทธลักษณะขององค์พระ จะคล้ายรุ่นแรก แต่ต่างกันที่องค์พระจะเรียวกว่า พระหัตถ์วางบนพระเพลามือชนกันเป็นร่องชัดเจน องค์พระไม่มีฟองอากาศ ฐานพระมีบัวเหลี่ยมคมชัดสวยงาม
          ด้านหลัง มีผ้าสังฆาฎิพาดผ่านจากบ่า องค์พระไม่มีฟองอากาศ ฐานพระมีบัวเหลี่ยมคมชัดสวยงาม ใต้ฐานพระมีทั้งขุ่นและใส อันเกิดจากการตกแต่งฐานพระ ขาบข้างมีรอยประกบพิมพ์ชัดเจน

          ตำหนิเก๊-แท้ ชี้ขาดที่ บ่าขวามือขององค์พระมีเส้นขีด ที่เกิดจากแม่พิมพ์เห็นได้ชัดเจนและพระแก้วรุ่น ๒ จะต้องมีตำหนิตรงนี้ทุกองค์

ปี พ.ศ. ๒๕๐๐

         พระแก้วหลวงพ่อเจียง รุ่นสาม

         เล่ากันว่าสร้างปี ๒๕๐๐ (ปัจจุบันเล่นกันเป็นรุ่น ๓) ตามตำราว่าสร้างในประเทศไทย แต่ก็มีข้อมูลบางกลุ่มว่าผลิตที่ญี่ปุ่น เนื้อแก้วมี ๑. สีเขียว​ ๒. สีฟ้าคราม​ ๓. สีม่วง ๔. สีส้ม และ ๕. สีขาว องค์พระมีฟองอากาศอยู่เป็นจำนวนมาก พุทธลักษณะและขนาดคล้ายพระแก้วรุ่น ๑ มาก

         จนทำให้ข้อสัญนิษฐานว่าสร้างก่อนรุ่น ๒ ที่นิยมกันในปัจจุบัน มีน้ำหนักมากพอสมควร นอกจากนี้ตอนที่ผู้เขียนได้เคยไปกราบหลวงพ่อโต จำได้ดีว่ายังมีพระรุ่น ๒ สีแดงให้เช่าบูชาในตู้วัตถุมงคลของวัดภายในพระอุโบสถ เมื่อประมาณปี ๒๕๓๐ แต่ในระดับสากลถือเป็นรุ่น ๓ และจัดเป็นพระที่หายากจำนวนการสร้างน่าจะน้อยกว่ารุ่น ๒ อยู่โขทีเดียว จุดสังเกตุความแตกต่างของรุ่น ๓ คือ ช่วงพระเกศยอดบนสุดสั้นกว่าพระเกศยอดที่สอง

พระแก้วหลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขาราม รุ่น ๓ (มีหลายสี)

พระแก้วหลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขาราม รุ่น ๓ (มีหลายสี)

พระแก้วหลวงพ่อเจียงวัดเจริญสุขาราม รุ่น ๓ สีเขียว

พระแก้วหลวงพ่อเจียงวัดเจริญสุขาราม รุ่น ๓ สีน้ำมันก๊าด/ฟ้าคราม

พระแก้วหลวงพ่อเจียงวัดเจริญสุขาราม รุ่น ๓ สีส้ม

พระแก้วหลวงพ่อเจียงวัดเจริญสุขาราม รุ่น ๓ สีขาว

พระแก้วหลวงพ่อเจียงวัดเจริญสุขาราม รุ่น ๓ สีม่วง

          ด้านหน้า จำลองแบบมาจากพระพุทธรูปปางสมาธิ พาดผ้าสังฆาฎิ ประทับนั่งบนฐานบัวสี่เหลี่ยม ๒ ชั้น มือขององค์พระชนกันแต่ไม่ผสานกัน โดยพุทธลักษณะและขนาดขององค์พระคล้ายพระแก้ว รุ่นแรก พระหัตถ์วางบนพระเพลามือชนกันเป็นเหลี่ยมแหลมชัดเจน องค์พระมีฟองอากาศ ฐานพระมีบัวเหลี่ยม
          ด้านหลัง มีผ้าสังฆาฎิพาดผ่านจากบ่าองค์พระจรดฐานบัว ใต้ฐานพระเรียบ ขาบข้างมีรอยประกบพิมพ์ชัดเจน

ปี พ.ศ. ๒๔๙๓

          เหรียญเสมาหลวงพ่อเจียง รุ่นแรก

          สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ได้มีการสร้างเหรียญหลวงพ่อเจียงรุ่นแรก เพื่อออกให้ประชาชนที่เคารพนับถือหลวงพ่อได้บูชา โดยแบ่งออกเป็น ๒ พิมพ์ คือพิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่

          เหรียญเสมาหลวงพ่อเจียง รุ่นแรก พิมพ์ใหญ่

          มีลักษณะเป็นเหรียญทรงเสมา มีการจัดสร้างด้วยเนื้อเงิน ทองแดง ทองแดงกระไหล่เงิน และทองแดงกระไหล่ทอง เพื่อออกให้ประชาชนที่เคารพนับถือหลวงพ่อได้บูชา

เหรียญหลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขาราม ปี ๒๔๙๑ รุ่นแรก พิมพ์ใหญ๋

          ด้านหน้า มีรูปหลวงพ่อเจียงครึ่งองค์ ห่มจีวรแบบคลุมไหล่ มีข้อความภาษาไทยเขียนว่า "พระเมธีสมุทรเขตต์(เจียง)"
          ด้านหลัง มีรูปหลวงพ่อโต ซึ่งพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ภายในวัด มีข้อความว่า "ที่ระลึกในการสร้างพระอุโบสถหลวงพ่อโตวัดเจริญสุขาราม" ด้านล่างมีข้อความบอกปีที่สร้างว่า "พ.ศ. ๒๔๙๓"

          เหรียญเสมาหลวงพ่อเจียง รุ่นแรก พิมพ์เล็ก

          ลักษณะเป็นเหรียญทรงเสมาขนาดเล็ก มักเรียกว่าเหรียญแจกแม่ครัวหรือเสมาเล็ก จำนวนการสร้างน้อยหายากที่พบเจอมีเนื้อเดียวคือเนื้อทองแดง และทองแดงกะไหล่ทอง เพื่อออกให้ประชาชนที่เคารพนับถือหลวงพ่อได้บูชา

เหรียญหลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขาราม ปี ๒๔๙๑ รุ่นแรก พิมพ์เล็ก

          ด้านหน้า มีรูปหลวงพ่อครึ่งองค์ ห่มจีวรแบบคลุมไหล่ มีข้อความว่า "พระเมธีสมุทรเขตต์"
          ด้านหลัง เป็นรูปหลวงพ่อโต พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ภายในวัด มีข้อความว่า "หลวงพ่อโต"

ปี พ.ศ. ๒๔๙๕

          ในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ทางวัดเจริญสุขารามได้มีการจัดงานผูกพัทธสีมาพระอุโบสถหลังปัจจุบันขึ้น ซึ่งในงานดังกล่าวหลวงพ่อเจียงได้มีการสร้างวัตถุมงคล เพื่อแจกจ่ายให้แก่ผู้บริจาคทรัพย์และไว้แจกเป็นที่ระลึกในงานดังกล่าวด้วยโดยมีการจัดสร้างเหรียญและพระกริ่งขนาดเล็กเพื่อแจกจ่ายในงานนี้

          พระกริ่งหลวงพ่อโต วัดเจริญสุขาราม

          ลักษณะเป็นพระกริ่งปั๊มขนาดเล็ก โดยพระกริ่งจำลองแบบหลวงพ่อโต มีห่วงด้านบนสำหรับห้อย สร้างด้วยเนื้อทองเหลืองเพียงอย่างเดียว

กริ่งหลวงพ่อโต วัดเจริญสุขาราม ปี ๒๔๙๕

          ด้านหน้า จำลององค์พระหลวงพ่อโต พาดผ้าสังฆาฎิ ประทับนั่งบนฐานเขียง มีฐานย่อยรองรับ ไม่มีปรากฏอักขระใดบนองค์พระ
          ด้านหลัง มีผ้าสังฆาฎิพาดจากบ่าไปถึงฐานพระ ด้านล่างใต้ฐานรอยอุดกริ่ง

          เหรียญหลวงพ่อโต พิมพ์หลังหนังสือจีน

          สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ลักษณะเหรียญคล้ายดอกจิกหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ มีการจัดสร้างด้วยเนื้อทองแเดง และเนื้อทองแดงกระไหล่ทอง ไม่มีการระบุจำนวนที่สร้าง

เหรียญหลวงพ่อโต วัดเจริญสุขาราม พิมพ์หลังหนังสือจีน ปี ๒๔๙๕

          ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อโต พระพุทธรูปศักดิ์สิทธฺ์ภายในพระอุโบสถ ด้านล่างมีข้อความภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อโต"
         ด้านหลัง มีภาษาจีน ๔ ตัว มีอักษรภาษาไทยเขียนว่า "พิธีผูกพัทธสีมาวัดเจริญสุขาราม ๒๔๙๕"

ปี พ.ศ. ๒๔๙๗

         พระปรกหลวงพ่อโต รุ่นแรก

         สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มทรงพระนาคปรก มีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดงรมดำ โดยไม่มีการระบุจำนวนที่สร้างไว้

ปรกรุ่นแรกหลวงพ่อโต วัดเจริญสุขาราม ปี ๒๔๙๗

          ด้านหน้า เป็นรูปพระพุทธปากนาคปรกเจ็ดเศียร ห่มจีวรลดไหล่ พาดสังฆาฎิ
          ด้านหลัง มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "รุ่นที่ ๑" ใต้อักษรไทยมีมียันต์พระเจ้าห้าพระองค์ บนยันต์มีตัวอุณาโลม ๓ ตัว

ปี พ.ศ. ๒๕๐๐

         เหรียญหลวงพ่อโตหลังหลวงพ่อเจียง พิมพ์สี่เหลี่ยม

         สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ลักษณะเป็นเหรียญทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดง และเนื้อทองแดงกระไหล่ทอง โดยไม่มีการระบุจำนวนที่สร้างไว้

เหรียญสี่เหลี่ยมหลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขาราม

          ด้านหน้า เป็นรูปพุทธปางอุ้มบาตร ซึ่งเป็นพระพุทธ​ศักดิ์สิทธิ์อีกองค์หนึ่งของทางวัดเจริญสุขาราม ​ปัจจุบันประดิษฐาน​อยู่ในพระวิหาร มีข้อความด้านซ้ายอ่านว่า "หลวงพ่อโต" ด้านขวามือเป็นยันต์ อ่านว่า "นะชาลีติ"
          ด้านหลัง จำลองเป็นรูปหลวงพ่อเจียงยืน ห่มจีวรลดไหล่ พาดสังฆาฎิ มีอักษรขอมเขียนว่า "มะอะอุ" และมีอักษรภาษาไทยเขียนว่า "วัดเจริญสุขาราม พระราชสมุทรเมธี" ไม่มีปี พ.ศ. เข้าใจว่าสร้างในเวลาช่วงนี้*** สัญนิษฐานจากคำบอกเล่าของคนในพื้นที่และชื่อสมณศักดิ์ของหลวงพ่อเจียง***

ปี พ.ศ. ๒๕๐๖

         เหรียญกลมหลวงพ่อเจียง ฉลองอายุครบ ๘๐ ปี

        สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ เพื่อแจกจ่ายให้กับศิษยานุศิษย์ของหลวงพ่อเจียง ในวันฉลองอายุครบ ๘๐ ปี ลักษณะเป็นเหรียญทรงกลมมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดง และเนื้ออัลปาก้า โดยไม่มีการระบุจำนวนที่สร้างไว้

เหรียญกลมหลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขาราม ปี ๒๕๐๖

          ด้านหน้า จำลองรูปหลวงพ่อเจียงครึ่งองค์ ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฎิ มีข้อความภาษาไทยเขียนว่า "ที่ระลึกฉลองอายุครบ ๘๐ ปี" ด้านล่างองค์หลวงพ่อมีข้อความภาษาไทยเขียนว่า "พระราชสมุทรเมธี"
          ด้านหลัง มีรูปหลวงพ่อโต พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของวัด มีข้อความภาษาไทยเขียนไว้ว่า "วัดเจริญสุขารามวรวิหาร ๒๖ พ.ค. ๒๕๐๖"

ปี พ.ศ. ๒๕๐๗

         เหรียญฉลองสมณศักดิ์หลวงพ่อเจียง

        สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๗ เนื่องในโอกาสที่หลวงพ่อเจียงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ "พระเทพสังวรวิมล" เพื่อแจกจ่ายให้กับศิษยานุศิษย์ของหลวงพ่อเจียง ลักษณะเป็นเหรียญใบสาเกมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดง และเนื้อทองแดงกระไหล่ทอง ไม่มีการระบุจำนวนที่สร้างไว้ 

เหรียญใบสาเกฉลองสมณศักดิ์หลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขาราม ปี ๒๕๐๗

          ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อเจียงครึ่งองค์ ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฎิ ด้านล่างมีข้อความว่า "พระเทพสังวรวิมล" ด้านบนมีอักขระยันต์อ่านได้ว่า "มะ อะ อุ"
          ด้านหลัง มีอักขระขอมตัว "อุนาโลม" รองลงมามีอักขระขอมอ่านได้ว่า "นะ ชา ลี ติ" ด้านล่างมีภาษาไทยเขียนว่า "งานแลองสมณศักดิ์ พระเทพสังวรวิมล (วณฺณสโร เจียง) วัดเจริญสุขารามวรวิหาร ๑-๒ พฤษภาคม ๒๕๐๗"

ปี พ.ศ. ๒๕๑๐

         ในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ทางวัดเจริญสุขารามได้มีการจัดสร้างวัตถุมงคล เนื่องในโอกาสงานทำบุญอายุครบ ๗ รอบของหลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขาราม โดยในงานนี้มีการจัดสร้างวัตถุมงคลหลากหลายชนิดทั้งพระบูชา รูปหล่อโบราณขนาดเล็ก และเหรียญเสมา

         เหรียญเสมาหลวงพ่อเจียง ทำบุญอายุครบ ๗ รอบ

        สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ เนื่องในโอกาสงานทำบุญอายุครบ ๗ รอบของหลวงพ่อเจียง ลักษณะเป็นเหรียญทรงเสมาแบบมีหูในตัว มีการจัดสร้างด้วยเนื้ออัลปาก้าและอัลปาก้ากระไหล่เงิน เพื่อแจกจ่ายให้กับศิษยานุศิษย์ของหลวงพ่อเจียง ไม่ได้ระบุจำนวนที่สร้าง

เหรียญเสมาทำบุญอายุหลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขาราม ปี ๒๕๑๐

          ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อเจียงครึ่งองค์ ห่มจีวรลดไหล่ไม่พาดผ้าสังฆาฎิ ด้านล่างมีข้อความว่า "พระเทพสังวรวิมล(เจียง) วณฺณสโร"
          ด้านหลัง มีรูปจำลองพระพุทธปางนาคปรก ใต้องค์พระมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระนาคปรก" รอบตัวเหรียญมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ที่ระลึกในการทำบุญอายุครบ ๗ รอบ ๒๖ พ.๕. ๒๕๑๐ วัดเจริญสุขารามวรวิหาร"

          รูปหล่อโบราณหลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขาราม

          สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ โดยใช้การหล่อโบราณองค์พระเป็นรูปหลวงพ่อเจียง ห่มจีวรลดไหล่ พาดสังฆาฎิ  นั่ง สมาธิขนาดเล็ก ไม่มีตัวอักษรใดๆเขียนไว้ เนื้อทองเหลืองรมดำจำนวนการสร้างมิได้ระบุไว้

รูปหล่อโบราณหลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขาราม ปี ๒๕๑๐

          โปรดจดจำหน้าตาของหลวงพ่อให้ดีๆ เพราะรูปหล่อรุ่นนี้มีการจัดสร้างและหล่อขึ้นภายในวัดโดยหลวงพ่อเจียงเป็นผู้กำกับดูแลด้วยตัวท่านเอง และพระหล่อออกมาได้เหมือนหลวงพ่อมาก

          รูปหล่อบูชาหลวงพ่อเจียง ขนาดหน้าตัก ๔ นิ้ว

          จัดสร้างในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ โดยมีการสร้างเพียงขนาดเดียวคือขนาดหน้าตัก ๔ นิ้ว โดยสร้างด้วยเนื้อทองเหลืองรมดำ โดยช่างที่ปั้นพิมพ์หลวงพ่อปั้นได้เหมือนองค์หลวงพ่อเจียงเป็นอย่างมาก โดยปั้นเป็นรูปหลวงพ่อเจียง นั่งสมาธิบนฐานเขียงสี่เหลี่ยม

พระบูชาหลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขาราม หน้าตัก ๔ นิ้ว ปี ๒๕๑๐

พระบูชาหลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขาราม หน้าตัก ๔ นิ้ว ปี ๒๕๑๐

          ด้านหน้า ส่วนฐานพระด้านหน้ามีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระเทพสังวรวิมล (เจียง วณฺณสโร) วัดเจริญสุขารามวรวิหาร"
          ด้านหลัง มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ในการทำบุญอายุครบ ๗ รอบ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๑๐"

ปี พ.ศ. ๒๕๑๒

         เหรียญเสมาหลวงพ่อเจียง ทำบุญอายุครบ ๗ รอบ

        สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ซึ่งถือเป็นเหรียญรุ่นสุดท้ายของหลวงพ่อเจียง ลักษณะของเหรียญเป็นเหรียญรูปหยดน้ำหรือพัดยศ มีการจัดสร้างด้วยเนื้อโลหะอัลปาก้า และเนื้อทองแดงเพียงอย่างเดียว

เหรียญหยดน้ำหลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขาราม ปี ๒๕๑๒ เนื้ออัลปาก้า

เหรียญหยดน้ำหลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขาราม ปี ๒๕๑๒ เนื้อทองแดง
เหรียญหยดน้ำหลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขาราม ปี ๒๕๑๒ เนื้อทองแดง

          ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อเจียงครึ่งองค์ ห่มจีวรลดไหล่ไม่พาดผ้าสังฆาฎิ มีอักขระยันต์ "มะ อะ อุ" ด้านล่างมีข้อความว่า "พระเทพสังวรวิมล (เจียง) วณฺณสรมหาเถระ" ไม่มีสระโอ เข้าใจว่าช่างได้แกะผิดไป
          ด้านหลัง มีรูปหลวงพ่อโต พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของวัด มีอักขระยันต์ "พุท ธะ สัง มิ" มีข้อความภาษาไทยเขียนไว้ว่า "หลวงพ่อโต ๒๕๑๒ วัดเจริญสุขารามวรวิหาร"

                    นอกจากวัตถุมงคลดังกว่าแล้ว หลวงพ่อเจียงท่านยังได้ นำพระเครื่องต่างๆ จากที่ท่านได้เดินทางร่วมปลุกเสกตามสถานที่ต่างๆกลับมาแจกให้แก่ลูกศิษย์ลูกหาอีกด้วย ทั้ง พระกริ่งวัดราชบพิตร พิมพ์ฐานสูง หรือพระสมเด็จพิมพ์ขาโต๊ะ แต่ในที่นี้จะไม่ขอกล่าวถึง. 

          สมัยท่านปลุกเสกพระแก้ว มีเรื่องเล่าและยืนยันได้จากหลายๆท่านว่า พระที่หลวงพ่อเจียงปลุกเสก หลวงพ่อจะจับที่บาตรที่ใส่พระไว้แล้วบริกรรมคาถาไปโดยปกติ แต่คนที่อยู่ในพิธีจะได้ยินเสียงของแก้วกระทบกัน เสียงดัง เหมือนว่าพระแก้วนั้นหมุนวน วิ่งอยู่ในบาตร เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก นอกจากนี้พระเครื่องของท่านจะเด่นในทาง คลาดแคล้ว ค้าขายเจริญรุ่งเรือง มีโชคลาภ

         นอกจากนี้ท่านยังเป็นพระอาจารย์ของพระเกจิอีกหลายรูปที่โด่งดังเป็นที่รู้จักก็ได้แก่ หลวงพ่อวิไล วัดโพธิ์งาม นอกจากนี้ท่านยังเป็นพระเกจิที่เกจิที่เป็นที่นับถือของชาวกำแพงใต้ เพราะท่านเป็นผู้ที่ปลุกเสกและจุดเทียนชัยในงานพิธีปลุกเสกเหรียญหลวงพ่อโสรชัย วัดกำแพงใต้ รุ่นแรกอีกด้วย.

 


โดย : สารานุกรมพระเครื่องลุ่มน้ำแม่กลอง

บทความที่เกี่ยวข้อง


***-[เป็นกำลังใจและสนับสนุน​ให้เราเขียนบทความดีๆ ช่วยกดดูโฆษณาด้านล่างนะคะ]-***

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น