โฆษณาแนวนอน728*90

บทความใหม่

ตำนานผ้ายันต์หลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม สุดยอดหายากนับผืนได้

ภาพหายาก หลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม

         หลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม ท่านมีวิชาอาคมที่แกร่งกล้าเป็นเอกอุในพื้นที่คุ้งน้ำวน และเป็นที่เลื่องลือไปทั่วทั้งลุ่มน้ำแม่กลอง วัตถุมงคลของท่านมีหลากหลาย ทั้ง เหรียญ ลูกอม ตะกรุด รูปหล่อโบราณ รูปหล่อชินราช หัวแหวน แหวน รวมถึงผ้ายันต์

         มีเรื่องเล่าจากคนเฒ่าคนแก่ท่านหนึ่งว่า ตาโพธิ์เคยเป็นเด็กในคณะลิเกแห่งหนึ่ง เล่าให้ฟังว่าเจ้าของคณะเป็นศิษย์หลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม แก่มีของดีอยู่ที่รับจากมือหลวงพ่อชุ่มอยู่ชิ้นหนึ่งเป็นผ้ายันต์ธง ใช้สำหรับเรียกทรัพย์ และเมตตามหานิยม สมัยก่อนเวลามีการประชันลิเก ..ตาโพธิ์ซึ่งยังเป็นเด็กจะถูกเจ้าของคณะลิเกใช้ให้เอาผ้ายันต์ธง ปีนขึ้นไปโบกบนเสาเวทีลิเก  ส่วนเจ้าของคณะลิเก​ จะทำการสวดมนต์คาถาอยู่ด้านล่าง แก่เล่าว่าพอโบกผ้ายันต์ คนที่มาดูประชันลิเกหรือคนที่ดูเลกิคณะคู่แข่งอยู่..จะพากันเดินมาทางคณะของแก่เป็นที่อัศจรรย์ จนลิเกคณะตรงกันข้ามแพ้ประชันไปนักต่อนัก

         ปัจจุบันผ้ายันต์ของหลวงพ่อชุ่ม หาชมได้ยากชาวบ้านในพื้นที่จะนิยมนำไปติดที่เสาเอกของบ้าน ทำให้ชำรุดขาดหายไปตามกาลเวลา หากผู้ใดพบเห็นจงเก็บรักษาไว้ให้ดีเพื่อเป็นศิริมงคลแก่บ้านเรือนและร้านค้าต่อไป

         ผ้ายันต์ธงหลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม (หายาก)

         ออกให้บูชาในคราวหล่อรูปเหมือนเท่าองค์จริงของหลวงพ่อชุ่มเมื่อวันศุกร์ที่ ๑๑ มีนาคม ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ณ วัดราชคาม มีทั้งที่ทำจากกระดาษ และทำจากผ้า ชาวบ้านนิยมนำไปติดที่เสาเอก บางคนนิยมนำมาพับให้เห็นหน้าหลวงพ่อแล้วเลี่ยมขึ้นคอ จัดเป็นผ้ายันต์ที่ทันหลวงพ่อเพียงผืนเดียว ที่เป็นสากล

ผ้ายันธ์ธง หลวงพ่อชุ่มวัดราชคาม ทำจากกระดาษ

ผ้ายันต์ธง หลวงพ่อชุ่มวัดราชคาม ทำจากผ้า

          ผ้ายันต์พระแม่โพสพ

          สร้างในยุคของหลวงพ่อป้อม วัดราชคาม เพื่อเป็นที่ระลึกถึงหลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม ทำจากผ้า ด้านบนมีภาพหลวงพ่อชุ่ม มีอักขระยันต์ ด้านล่างมีรูปพระแม่โพสพ

ผ้ายันต์พระแม่โพสพ หลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม

          ผ้ายันต์ท้าวเวสสุวรรณ

          สร้างในคราวเดียวกับผ้ายันต์พระแม่โพสพ โดยหลวงพ่อป้อม วัดราชคาม ด้านบนมีภาพหลวงพ่อชุ่ม มีอักขระยันต์ ด้านล่างมีรูปท้าวเวชสุวรรณ มีทั้งแบบที่ลงสี และไม่ลงสี

ผ้ายันต์ท้าวเวชสุวรรณ หลวงพ่อชุ่มวัดราชคาม


          ผ้ายันต์สิงหราช หลวงพ่อป้อม วัดราชคาม

          สร้างขึ้นในยุคของหลวงพ่อป้อม วัดราชคาม ยันต์เป็นแบบเดียวกับเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อป้อม มีทั้งหมึกสี และหมึกดำ นอกจากนี้ยังมีแบบเขียนมืออีกด้วย ซึ่งหากเป็นลายที่เขียนด้วยมือจะเป็นฝีมือของหลวงตากวย พระลูกวัดในสมัยนั้นเป็นผู้วาด 

         ซึ่งท่านเก่งกาจด้านศิลปการวาดและเขียนสีเป็นอย่างมาก โดยหลวงตากวย นอกจากจะเก่งวิชาทางศิลปะเขียนภาพ และทำว่าวจุฬาแล้ว ท่านยังทำปลักขิกไว้แจกเด็กๆ และญาติโยมจากกรุงเทพฯ 

         ลูกศิษย์ท่านมาฝากตัวเป็นศิษย์กันเยอะมาก ชนิดที่ว่าสมัยนั้นปลูกกุฏิเป็นตึกให้ทีเดียว (ปัจจุบันถูกทุบทิ้งเมื่อคราวสร้างกฏิหลังปัจจุบัน)

ผ้ายันต์สิงหราช หลวงพ่อป้อม หมึกน้ำเงิน วัดราชคาม

ผ้ายันต์สิงหราช หลวงพ่อป้อม วัดราชคาม หมึกดำ สภาพไม่ได้ใช้

          สุดท้ายนี้ขอนำตัวอย่างเหรียญหลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม ที่สร้างโดยหลวงพ่อป้อม วัดราชคาม ที่มีการออกให้บูชาโดยทั้ง ๓ เหรียญมีอักขระเขียนตรงกันว่า "พระครูชุ่ม อดีตเจ้าคณะหมวด" โดยเหรียญที่มีคำว่า "อดีตเจ้าคณะหมวด" มีการสร้างด้วยกัน ๓ รุ่นคือ

         เหรียญหลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม ปี พ.ศ. ๒๕๑๙
         เหรียญหลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม รุ่นพิเศษ
         เหรียญหลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม ปี พ.ศ. ๒๕๓๖

เหรียญหลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม สร้างโดยหลวงพ่อป้อม วัดราชคาม

           โดยเหรียญหลวงพ่อชุ่มทั้ง ๓ เหรียญ ปัจจุบันเริ่มหาชมได้ยากแล้ว โดยเฉพาะเหรียญรุ่นพิเศษ และเหรียญรุ่นปี พ.ศ. ๒๕๑๙ โดยเหรียญดังกล่าว มีประสบการณ์วัยรุ่นคนหนึ่งชื่อนายแห้ว เป็นลูกของยายแตน อยู่บ้านท่าใหญ่ ไปเที่ยวงานวัดแห่งหนึ่งในเขตคุ้งกระถิน

           แต่ไม่รู้ไปผิดใจอะไรเข้ากับกลุ่มวัยรุ่นในพื้นที่เลยถูกวัยรุ่นกลุ่มดังกล่าวไล่ยิง แกเล่าว่าวิ่งหนีสุดชีวิต ในใจร้องว่า "หลวงพ่อช่วยลูกด้วยๆ" แต่ทั้งที่ถูกไล่ยิงในระยะประชิดแต่ก็ไม่ถูกยิงเลย จนแกวิ่งเข้าสวนลัดเลาะไปเรื่อยๆเลยรอดมาได้ ในคอห้อยเหรียญหลวงพ่อชุ่ม ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ เพียงเหรียญเดียว เรื่องนี้โด่งดังมากในพื้นที่บ้านท่าใหญ่ในสมัยนั้น.


บทความที่น่าสนใจ :


***-[เป็นกำลังใจและสนับสนุน​ให้เราเขียนบทความดีๆ ช่วยกดดูโฆษณาด้านล่างนะคะ]-***

3 ความคิดเห็น:

  1. ผ้ายันต์ที่เขียนว่า อดีตเจ้าคณะหมวด มีบางคนพยายามยัดให้ทันหลวงพ่อชุ่ม บ้างก็ว่าสร้างก่อนเหรียญรุ่นแรกหรือปี ๒๔๗๐ กว่า บ้างก็ว่าสร้างหลังปี ๒๔๙๔ ไม่นาน แต่ให้ลองพิจารณาตามหลักความจริงว่าคำว่า "อดีตเจ้าคณะหมวด" หมายถึงหลวงพ่อไม่ได้ดำรงตำแหน่งนั้นแล้วและสมัยก่อนไม่มีการถอดถอนตำแหน่งอย่างแน่นอนและไม่มีหลักฐานการสละตำแหน่งของหลวงพ่อแต่อย่างใด นอกจากนี้ภาพหลวงพ่อชุ่ม ที่ดูชราภาพมากแล้วแปลว่าต้องเป็นภาพถ่ายในช่วงท้ายของท่านแล้ว คราวนี้ะลองเทียบกับเหรียญรูปไข่ที่ออกปี ๒๔๙๔ ที่ยังใช้คำว่า "เจ้าคณะหมวด" (หลวงพ่อมรณะภาพต้นปี ๒๔๙๘) อยู่เป็นหลักฐานยืนยันว่าหลวงพ่อชุ่มยังดำรงตำแหน่งเจ้าคณะหมวดอยู่ รวมถึงคำบอกเล่าจากบทสัมภาษณ์หลวงพ่อป้อม ไม่มีการกล่าวถึงผ้ายันต์ทั้ง ๒ ชนิดนี้เลย

    ตอบลบ
  2. ก่อนหน้านี้เคยมีผู้ออกมาบอกว่า ตำแหน่งเจ้าคณะหมวดได้ถูกยกเลิกไปในช่วงก่อนปี พ.ศ. ๒๔๘๐ แล้วใช้คำว่า "เจ้าคณะตำบล" ทำให้ผ้ายันต์ผืนที่เขียนว่า "อดีตเจ้าคณะหมวด" สร้างก่อนปี พ.ศ. ๒๔๘๐ และทันนั้น
    ขอให้พิจารณาง่ายๆว่าแล้วทำไมเหรียญ ๘๖ และเหรียญ ๙๔ ของหลวงพ่อชุ่้มกลับไม่ใช้คำว่า "อดีตเจ้าคณะหมวด" หรือใช้คำว่า "เจ้าคณะตำบล" กลับใช้คำว่า "เจ้าคณะหมวด"
    อีกหนึ่งข้อพิสูจน์ว่าตำแหน่งเจ้าคณะหมวดไม่ได้ถูกยกเลิกไปนั้น ขอให้ดูเหรียญพระอธิการบิล วัดแก้ว บางแพ ราชบุรี ที่ออกปี ๒๔๙๕ ก็ใช้คำว่า "พระอธิการบิล เจ้าคณะหมวด" ซึ่งทั้ง ๒ วัดนี้ไม่เกี่ยวข้องกันแต่กลับใช้คำว่า "เจ้าคณะหมวด" เหมือนกัน นั้นย่อมแปลว่าตำแหน่งเจ้าคณะหมวดยังใช้อยู่นั่นเอง.

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่ระบุชื่อ18 พ.ค. 2564 10:22:00

      จริงครับ เพราะคนที่บอกว่ามีหลักฐานก็เป็นแค่คำพูดไม่มีเอกสารอะไรมายืนยัน

      ลบ

ค้นหาบล็อกนี้