ภาพหายาก หลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม |
มีเรื่องเล่าจากคนเฒ่าคนแก่ท่านหนึ่งว่า ตาโพธิ์เคยเป็นเด็กในคณะลิเกแห่งหนึ่ง เล่าให้ฟังว่าเจ้าของคณะเป็นศิษย์หลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม แก่มีของดีอยู่ที่รับจากมือหลวงพ่อชุ่มอยู่ชิ้นหนึ่งเป็นผ้ายันต์ธง ใช้สำหรับเรียกทรัพย์ และเมตตามหานิยม สมัยก่อนเวลามีการประชันลิเก ..ตาโพธิ์ซึ่งยังเป็นเด็กจะถูกเจ้าของคณะลิเกใช้ให้เอาผ้ายันต์ธง ปีนขึ้นไปโบกบนเสาเวทีลิเก ส่วนเจ้าของคณะลิเก จะทำการสวดมนต์คาถาอยู่ด้านล่าง แก่เล่าว่าพอโบกผ้ายันต์ คนที่มาดูประชันลิเกหรือคนที่ดูเลกิคณะคู่แข่งอยู่..จะพากันเดินมาทางคณะของแก่เป็นที่อัศจรรย์ จนลิเกคณะตรงกันข้ามแพ้ประชันไปนักต่อนัก
ปัจจุบันผ้ายันต์ของหลวงพ่อชุ่ม หาชมได้ยากชาวบ้านในพื้นที่จะนิยมนำไปติดที่เสาเอกของบ้าน ทำให้ชำรุดขาดหายไปตามกาลเวลา หากผู้ใดพบเห็นจงเก็บรักษาไว้ให้ดีเพื่อเป็นศิริมงคลแก่บ้านเรือนและร้านค้าต่อไป
ผ้ายันต์ธงหลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม (หายาก)
ออกให้บูชาในคราวหล่อรูปเหมือนเท่าองค์จริงของหลวงพ่อชุ่มเมื่อวันศุกร์ที่ ๑๑ มีนาคม ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ณ วัดราชคาม มีทั้งที่ทำจากกระดาษ และทำจากผ้า ชาวบ้านนิยมนำไปติดที่เสาเอก บางคนนิยมนำมาพับให้เห็นหน้าหลวงพ่อแล้วเลี่ยมขึ้นคอ จัดเป็นผ้ายันต์ที่ทันหลวงพ่อเพียงผืนเดียว ที่เป็นสากล
ผ้ายันธ์ธง หลวงพ่อชุ่มวัดราชคาม ทำจากกระดาษ |
ผ้ายันต์ธง หลวงพ่อชุ่มวัดราชคาม ทำจากผ้า |
ผ้ายันต์พระแม่โพสพ
สร้างในยุคของหลวงพ่อป้อม วัดราชคาม เพื่อเป็นที่ระลึกถึงหลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม ทำจากผ้า ด้านบนมีภาพหลวงพ่อชุ่ม มีอักขระยันต์ ด้านล่างมีรูปพระแม่โพสพ
ผ้ายันต์พระแม่โพสพ หลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม |
ผ้ายันต์ท้าวเวสสุวรรณ
สร้างในคราวเดียวกับผ้ายันต์พระแม่โพสพ โดยหลวงพ่อป้อม วัดราชคาม ด้านบนมีภาพหลวงพ่อชุ่ม มีอักขระยันต์ ด้านล่างมีรูปท้าวเวชสุวรรณ มีทั้งแบบที่ลงสี และไม่ลงสี
ผ้ายันต์ท้าวเวชสุวรรณ หลวงพ่อชุ่มวัดราชคาม |
ผ้ายันต์สิงหราช หลวงพ่อป้อม วัดราชคาม
สร้างขึ้นในยุคของหลวงพ่อป้อม วัดราชคาม ยันต์เป็นแบบเดียวกับเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อป้อม มีทั้งหมึกสี และหมึกดำ นอกจากนี้ยังมีแบบเขียนมืออีกด้วย ซึ่งหากเป็นลายที่เขียนด้วยมือจะเป็นฝีมือของหลวงตากวย พระลูกวัดในสมัยนั้นเป็นผู้วาด
ซึ่งท่านเก่งกาจด้านศิลปการวาดและเขียนสีเป็นอย่างมาก โดยหลวงตากวย นอกจากจะเก่งวิชาทางศิลปะเขียนภาพ และทำว่าวจุฬาแล้ว ท่านยังทำปลักขิกไว้แจกเด็กๆ และญาติโยมจากกรุงเทพฯ
ลูกศิษย์ท่านมาฝากตัวเป็นศิษย์กันเยอะมาก ชนิดที่ว่าสมัยนั้นปลูกกุฏิเป็นตึกให้ทีเดียว (ปัจจุบันถูกทุบทิ้งเมื่อคราวสร้างกฏิหลังปัจจุบัน)
ผ้ายันต์สิงหราช หลวงพ่อป้อม หมึกน้ำเงิน วัดราชคาม |
ผ้ายันต์สิงหราช หลวงพ่อป้อม วัดราชคาม หมึกดำ สภาพไม่ได้ใช้ |
สุดท้ายนี้ขอนำตัวอย่างเหรียญหลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม ที่สร้างโดยหลวงพ่อป้อม วัดราชคาม ที่มีการออกให้บูชาโดยทั้ง ๓ เหรียญมีอักขระเขียนตรงกันว่า "พระครูชุ่ม อดีตเจ้าคณะหมวด" โดยเหรียญที่มีคำว่า "อดีตเจ้าคณะหมวด" มีการสร้างด้วยกัน ๓ รุ่นคือ
เหรียญหลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม ปี พ.ศ. ๒๕๑๙
เหรียญหลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม รุ่นพิเศษ
เหรียญหลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม ปี พ.ศ. ๒๕๓๖
เหรียญหลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม สร้างโดยหลวงพ่อป้อม วัดราชคาม |
โดยเหรียญหลวงพ่อชุ่มทั้ง ๓ เหรียญ ปัจจุบันเริ่มหาชมได้ยากแล้ว โดยเฉพาะเหรียญรุ่นพิเศษ และเหรียญรุ่นปี พ.ศ. ๒๕๑๙ โดยเหรียญดังกล่าว มีประสบการณ์วัยรุ่นคนหนึ่งชื่อนายแห้ว เป็นลูกของยายแตน อยู่บ้านท่าใหญ่ ไปเที่ยวงานวัดแห่งหนึ่งในเขตคุ้งกระถิน
แต่ไม่รู้ไปผิดใจอะไรเข้ากับกลุ่มวัยรุ่นในพื้นที่เลยถูกวัยรุ่นกลุ่มดังกล่าวไล่ยิง แกเล่าว่าวิ่งหนีสุดชีวิต ในใจร้องว่า "หลวงพ่อช่วยลูกด้วยๆ" แต่ทั้งที่ถูกไล่ยิงในระยะประชิดแต่ก็ไม่ถูกยิงเลย จนแกวิ่งเข้าสวนลัดเลาะไปเรื่อยๆเลยรอดมาได้ ในคอห้อยเหรียญหลวงพ่อชุ่ม ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ เพียงเหรียญเดียว เรื่องนี้โด่งดังมากในพื้นที่บ้านท่าใหญ่ในสมัยนั้น.
บทความที่น่าสนใจ :
- ไขข้อข้องใจรูปหล่อเล็กหลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม เก๊-แท้ ดูกันตรงไหน? และคาถาเดินธุดงค์ครั้งแรกของหลวงพ่อ
***-[เป็นกำลังใจและสนับสนุนให้เราเขียนบทความดีๆ ช่วยกดดูโฆษณาด้านล่างนะคะ]-***
ผ้ายันต์ที่เขียนว่า อดีตเจ้าคณะหมวด มีบางคนพยายามยัดให้ทันหลวงพ่อชุ่ม บ้างก็ว่าสร้างก่อนเหรียญรุ่นแรกหรือปี ๒๔๗๐ กว่า บ้างก็ว่าสร้างหลังปี ๒๔๙๔ ไม่นาน แต่ให้ลองพิจารณาตามหลักความจริงว่าคำว่า "อดีตเจ้าคณะหมวด" หมายถึงหลวงพ่อไม่ได้ดำรงตำแหน่งนั้นแล้วและสมัยก่อนไม่มีการถอดถอนตำแหน่งอย่างแน่นอนและไม่มีหลักฐานการสละตำแหน่งของหลวงพ่อแต่อย่างใด นอกจากนี้ภาพหลวงพ่อชุ่ม ที่ดูชราภาพมากแล้วแปลว่าต้องเป็นภาพถ่ายในช่วงท้ายของท่านแล้ว คราวนี้ะลองเทียบกับเหรียญรูปไข่ที่ออกปี ๒๔๙๔ ที่ยังใช้คำว่า "เจ้าคณะหมวด" (หลวงพ่อมรณะภาพต้นปี ๒๔๙๘) อยู่เป็นหลักฐานยืนยันว่าหลวงพ่อชุ่มยังดำรงตำแหน่งเจ้าคณะหมวดอยู่ รวมถึงคำบอกเล่าจากบทสัมภาษณ์หลวงพ่อป้อม ไม่มีการกล่าวถึงผ้ายันต์ทั้ง ๒ ชนิดนี้เลย
ตอบลบก่อนหน้านี้เคยมีผู้ออกมาบอกว่า ตำแหน่งเจ้าคณะหมวดได้ถูกยกเลิกไปในช่วงก่อนปี พ.ศ. ๒๔๘๐ แล้วใช้คำว่า "เจ้าคณะตำบล" ทำให้ผ้ายันต์ผืนที่เขียนว่า "อดีตเจ้าคณะหมวด" สร้างก่อนปี พ.ศ. ๒๔๘๐ และทันนั้น
ตอบลบขอให้พิจารณาง่ายๆว่าแล้วทำไมเหรียญ ๘๖ และเหรียญ ๙๔ ของหลวงพ่อชุ่้มกลับไม่ใช้คำว่า "อดีตเจ้าคณะหมวด" หรือใช้คำว่า "เจ้าคณะตำบล" กลับใช้คำว่า "เจ้าคณะหมวด"
อีกหนึ่งข้อพิสูจน์ว่าตำแหน่งเจ้าคณะหมวดไม่ได้ถูกยกเลิกไปนั้น ขอให้ดูเหรียญพระอธิการบิล วัดแก้ว บางแพ ราชบุรี ที่ออกปี ๒๔๙๕ ก็ใช้คำว่า "พระอธิการบิล เจ้าคณะหมวด" ซึ่งทั้ง ๒ วัดนี้ไม่เกี่ยวข้องกันแต่กลับใช้คำว่า "เจ้าคณะหมวด" เหมือนกัน นั้นย่อมแปลว่าตำแหน่งเจ้าคณะหมวดยังใช้อยู่นั่นเอง.
จริงครับ เพราะคนที่บอกว่ามีหลักฐานก็เป็นแค่คำพูดไม่มีเอกสารอะไรมายืนยัน
ลบ