ประวัติและวัตถุมงคลหลวงพ่อทองสุข วัดราษฎร์บูรณะ สมุทรสงคราม เจ้าของยาต้มใบมะนาว ๑๐๘ ใบอันเล้นลับ
พระครูทองสุข (สุวรรณคงฺโค) วัดราษฎร์บูรณะ สมุทรสงคราม |
หลวงพ่อทองสุข สุวรรณคงฺโค วัดราษฎร์บูรณะ (
วัดใหม่ราษฎร์บูรณะ ) ท่านเกิดประมาณปี
พ.ศ. ๒๔๒๒ ภูมิลำเนาเดิมของท่านอยู่บ้านคลองแค
ใกล้ๆกับวัดราษฎร์บูรณะ บิดาของท่านชื่อนายดี ส่วนโยมมารดาของท่านชื่อนางบุญมี ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดารวม ๓ คน ดังนี้
คนที่ ๑ นายแปลก
คนที่ ๒ หลวงพ่อทองสุข
คนที่ ๓ นายทรัพย์ ชาวบ้านเรียก คุณตาทรัพย์ บวชเป็นพระเคยอยู่ที่วัดบางวันทอง ร่วมสมัยกับหลวงปู่ตาด เก่งทางยาแผนโบราณ ภายหลังสึกออกมาเป็นหมอยา
เมื่อหลวงพ่อทองสุข มีอายุสมควรแก่การศึกษาเล่าเรียน โยมบิดาและโยมมารดาจึงได้จำไปฝากตัวกับพระอาจารย์โม วัดราษฏร์บูรณะเพื่อเล่าเรียนวิชาจนอ่านออกเขียนได้
หลวงพ่อโม วัดราษฏร์บูรณะ สมุทรสงคราม |
ปี พ.ศ. ๒๔๔๒ เมื่อหลวงพ่อทองสุข มีอายุได้ ๒๐ ปี บริบูรณ์ ท่านจึงได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดราษฏร์บูรณะ ตำบลเหมืองใหม่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๒ ตรงกับเดือน ๖ ขึ้น ๕ ค่ำ วันพฤหัสบดี ได้รับฉายาว่า "สุวรรณคงฺโค" โดยมี
หลวงพ่อตาด วัดบางวันทอง เป็นพระอุปัชฌาย์
พระปลัดจันทร์ วัดเหมืองใหม่ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระอาจารย์โม วัดราษฏร์บูรณะ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
เมื่ออุปสมบทแล้วได้อยู่จำพรรษาที่วัดราษฏร์บูรณะเรื่อยมา เพื่อร่ำเรียนพระธรรมวินัยและวิชาอาคมต่างๆ กับหลวงพ่อโม
ต่อมาได้ไปศึกษาวิชาด้านวิปัสสนากัมมัฏฐานกับหลวงพ่อตาด ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ และนอกจากนี้ท่านยังได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อเพชร วัดไทรโยค หรือปัจจุบันคือวัดตรีจินดาวัฒนารามอีกด้วย
ครอบครัวนี้เก่งทางยาแผนโบราณ ซึ่งต่อมา หลวงพ่อสุขเองท่านก็เก่งทางยาแผนโบราณด้วยเช่นกัน ยาที่เป็นที่รู้จักของท่านก็คือ ยาต้มใบมะนาว ๑๐๘ ใบ
นอกจากนี้ด้วยความที่วัดอยู่ติดกับวัดละมุด หลวงพ่อทองสุข จึงไปฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อเทียน เพื่อร่ำเรียนวิชาอาคมอีกด้วย
หลวงพ่อทองสุข ท่านยังเป็นพระสหมิกธรรมกับหลวงพ่อธูป วัดแคนางเลิ้ง กรุงเทพฯอีกด้วย เวลาที่หลวงพ่อทองศุุขได้รับกิจนิมนต์มาที่กรุงเทพฯทีไร ก็มักจะไปมาหาสู่กันโดยตลอด
ภาพถ่ายหลวงพ่อทองศุข วัดราษฎร์บูรณะ แจกในงานทำบุญอายุครบ ๖๐ ปี พ.ศ. ๒๔๘๒ |
ปี พ.ศ. ๒๔๔๘ หลังจากที่ท่านอุปสมบทได้เพียง ๖ พรรษา พระอาจารย์โมได้มรณะภาพลง ชาวบ้านจึงได้นิมนต์หลวงพ่อทองสุข ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสวัดราษกร์บูรณะสืบแทน
วัดราษฎร์บูรณะ เป็นวัดเก่าแก่ตั้งอยู่ริมคลองแควอ้อม ในพื้นที่บ้านหัวหาด หมู่ที่ ๙ ตำบลเหมืองใหม่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ด้านหลังวัดจดถนนผลไม้ใกล้กับวัดละมุด สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๓๐๐ ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้สร้าง
ต่อมานายสุขและนางเงิน พร้อมด้วยน้องสาว ได้บริจาคทรัพย์และที่ดิน เพื่อให้สร้างวัดขึ้นใหม่ พร้อมด้วยสังฆารามต่างๆ จึงได้เรียกชื่อวัดว่า “วัดใหม่ยายเงิน” ตามนามของผู้บริจาค
อุโบสถเดิมของวัดเป็นไม้สักทรงผ่ากระดาน หันหน้าอุโบสถไปทางคลองแควอ้อม ศาลาการเปรียญ ตลอดจนกุฏิสงฆ์ เป็นเรือนไม้สักทรงไทยทั้งสิ้น ต่อมาได้ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา
หลวงพ่อจั่น วัดเหมืองใหม่ สมุทรสงคราม พระกรรมวาจาจารย์ของหลวงพ่อทองศุข |
หลังจากได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาส หลวงพ่อสุข ได้เห็นความสำคัญในด้านการศึกษาจึงได้เปิดโรงเรียนสอนหนังสือให้แก่บุตรธิดาของชาวบ้านในพื้นที่ โดยใช้ศาลาการเปรียญเป็นที่สอน โดยว่าจ้างครูมาสอน
นอกจากนี้ท่านยังทำการสร้างอุโบสถหลังใหม่เป็นอุโบสถคอนกรีตก่ออิฐถือปูน เพื่อทดแทนหลังเดิมที่เป็นไม้และผุพังไปตามการเวลา และได้รับวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๙ พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อวัดใหม่ว่า “วัดราษฎร์บูรณะ”
สิ่งสำคัญของวัด ที่ควรชมและนมัสการ ได้แก่ พระประธานในอุโบสถ และหน้าบันของอุโบสถ เป็นรูปหน้ากาล ซึ่งแปลกกว่าวัดอื่นๆ กุฏิ หอฉัน หอสวดมนต์ ทรงไทยโบราณทั้งสิ้น ต้นตะเคียนใหญ่ และต้นพิกุล อายุ ๓๐๐ ปี
รูปหล่อหลวงพ่อทองสุข วัดราษฏร์บูรณะ สมุทรสงคราม |
หลวงพ่อทองสุข ปกครองวัดราษฏร์บูรณะเรื่อยมาจนถึงแก่มรณถาพลงด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๒ นับรวมสิริอายุได้ ๘๐ ปี ๖๐ พรรษา.
วัตถุมงคลของหลวงพ่อสุข วัดราษฎร์บูรณะ
ในช่วงต้นหลวงพ่อสุขท่านได้สร้าง ตะกรุดโทนเนื้อฝาบาตร เชือกคาดเอว และพิรอดแขน โดยท่านทำแจกลูกศิษย์มาเรื่อยๆ พุทธคุณ กันเขี้ยวงาสารพัด เป็นที่เลื่องลือ ปัจจุบันหาชมได้ยาก
เชือกคาดเอวหลวงพ่อทองสุข วัดราษฎร์บูรณะ
เชือกคาดเอวของหลวงพ่อทองสุขนั้น จะทำมาจากผ้าดิบห่อศพสีขาว นำมาลงอักขระยันต์ต่างๆด้วยดินสอ แล้วควั้นเป็นเกลียวเชือกขมวดปม นอกจากมีขาวแล้วเชือกคาดเอวจะมีที่เป็นสีอื่นๆด้วยแต่หายากมากๆ
เชือกคาดเอว หลวงพ่อทองสุข วัดราษฏณ์บูรณะ สมุทรสงคราม |
ด้านหัว หัวเชือกจะมีการขมวดปม สำหรับร้อยปลายเชือก เพื่อใว้คาดเอวได้สะดวกจัดเป็นของหายากไม่ค่อยได้พบเห็น
ปี พ.ศ. ๒๕๐๐
วัดราษฎร์บูรณะ ได้จัดงานปิดทองฝังลูกนิมิตพระอุโบสถหลังใหม่ หลวงพ่อสุขท่านก็ออกวัตถุมงคล แจกจ่ายให้แก่ชาวบ้าน ดังนี้
เหรียญหลวงพ่อทองสุข วัดราษฎร์บูรณะ รุ่นแรก
สร้างเมื่อคราวฉลองโบสถ ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่มีหูในตัว สร้างด้วยเนื้อทองแดงเพียงชนิดเดียว จำนวนการสร้าง ๓,๐๐๐ เหรียญ
เหรียญหลวงพ่อทองสุข วัดราษฏร์บูรณะ รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ |
ด้านหน้า จำลองรูปหลวงพ่อทองสุขครึ่งองค์ ห่มจีวรคลุมไหล่ มีอักษรไทยเขียนว่า "พระครูทองศุข วัดราษฏร์บูรณะ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม ๒๕๐๐"
ด้านหลัง มียันต์สาม เหนือยันต์สามมีอุณาโลม ๑ ตัว
รูปหล่อลอยองค์หลวงพ่อทองสุข วัดราษฎร์บูรณะ รุ่นแรก
สร้างเมื่อคราวฉลองโบสถ ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ลักษณะเป็นรูปหล่อปั๊ม จัดสร้างด้วยเนื้อทองผสมจำนวนการสร้างไม่มีการจดบันทึกไว้ แต่คาดว่าน่าจะน้อยกว่าเหรียญมากนัก
รูปเหมือนปั๊มหลวงพ่อทองสุข วัดราษฏร์บูรณะ รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ |
ด้านหน้า จำลองรูปหลวงพ่อทองสุข นั่งสมาธิ ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ นั่งบนฐานเขียง มีอักษรไทยอ่านได้ว่า "หลวงพ่อสุข"
ด้านหล้ง ไม่มีอักขระใดๆ ใต้ฐานเรียบไม่มีการอุดกริ่ง
แหวนหลวงพ่อทองสุข วัดราษฎร์บูรณะ รุ่นแรก
ลักษณะเป็นแหวนปั๊มแล้วเชื่อมที่ท้องแหวน ทำขึ้นเพื่อแจกในคราวฉลองพระอุโบสถ จัดสร้างด้วยเนื้อทองแดงกระไหล่ทอง จำนวนการสร้างไม่ได้ระบุไว้
แหวนหลวงพ่อทองสุข วัดราษฏร์บูรณะ รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ |
ด้านหน้า ตรงหัวแหวนมีรูปจำลองหลวงพ่อทองสุข ครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ด้านซ้ายมีอักขระขอมอ่านได้ว่า "อรหัง" ด้านขวามีอักขระขอมอ่านได้ว่า "พุทโธ"
ด้านหลัง ท้องแหวนด้านในเรียบ ไม่มีอักขระใดๆ
ข้อมูลบางส่วนจากคุณกีรกร แก้วเล็ก
โดย : สารานุกรมพระเครื่องลุ่มน้ำแม่กลอง
บทความที่เกี่ยวข้อง
***-[เป็นกำลังใจและสนับสนุนให้เราเขียนบทความดีๆ ช่วยกดดูโฆษณาด้านล่างนะคะ]-***
ไม่มีความคิดเห็น