ประวัติและวัตถุมงคลหลวงพ่อปล้อง วัดหลุมดิน เจ้าของพระเบญจภาคีพระปิดตาเนื้อเมฆพัดของไทย
หลวงพ่อปล้อง วัดหลุมดิน หรือ พระครูธรรมาภินันท์ วัดสุรชายาราม ราชบุรี |
หลวงพ่อปล้อง วัดหลุมดิน หรือ พระครูธรรมาภินันท์ (สุสีโล) เจ้าของพระปิดตาเนื้อเมฆพัดที่แสนจะหายากของวัดหลุมดิน ถือว่าเป็นพระปิดตาเบญจภาคีแห่งเนื้อเมฆพัดที่มีประสบการณ์สูงไม่แพ้พระปิดตาของหลวงปู่ดี วัดบ้านยาง มีพุทธคุณโดดเด่นด้านคงกระพัน กับมหาอุดเป็นที่สุด ส่วนทางเมตตามหานิยมกับโชคลาภก็มีไม่แพ้กัน
คนโบราณมักพูดถึงพระลักษณะนี้ว่า ”ครบเครื่องแก่งไก่” หรือ ”ดีนอกพร้อมใน” พระท่านทำช่วงสงครามอินโดจีน หรือประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๘๓ โดยทำแจกให้ทหารช่างราชบุรี ตอนเกิดศึกสงคราม และหลวงพ่อปล้องยังได้รับการยกย่องเป็นพระเกจิอาจารย์ชั้นสุดยอดเป็น ๑ใน ๑๐๘ อาจารย์ชั้นสุดในยุคสงครามอินโดจีนอีกด้วย
หลวงพ่อปล้อง ท่านเป็นชาวตำบลท่าราบ อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี เป็นบุตรของนายแพง มณเทียร และนางหุ่น มณเทียร ท่านเกิดเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๘ ตรงกับวันศุกร์ เดือน ๑๑ ปีชวด มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๙ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๕
หลวงพ่อปล้อง วัดหลุมดิน หรือ พระครูธรรมาภินันท์ วัดสุรชายาราม ราชบุรี |
ในวัยเด็กหลวงพ่อปล้อง ได้ศึกษาหนังสือไทยและหนังสือขอมที่วัดบางลี่ ตำบลโคกหม้อ อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี แล้วไปอยู่กับพระยอด (น้าชาย) ที่วัดกันมาตุยาราม กรุงเทพ ฯ จนอายุได้ ๑๘ ปี จึงกลับมาบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดสุรชายาราม หรือ วัดหลุมดิน ในปี พ.ศ. ๒๔๓๗ ได้ ๑ พรรษา ก็ลาสิกขาไปช่วยบิดามารดาทำนา และประกอบสัมมาอาชีพ
จนเมื่อหลวงพ่อปล้อง มีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดสุรชายาราม (วัดหลุมดิน) เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๙ ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๘/๘ ปีวอก ได้รับฉายาว่า "สุสีโล" โดยมี
พระพุทธวิริยากร (จิตร ฉนฺโน) วัดสัตตนารถปริวัตร เป็นพระอุปัชฌาย์
พระอธิการยา ปุณณโณ วัดอัมรินทราราม (วัดตาล) เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระอธิการเกิด วัดท่าโขลง เป็นพระอนุสาวนาจารย์
หลังอุปสมบท หลวงพ่อปล้องได้จำพรรษาที่วัดหลุมดินแห่งนี้เรื่อยมา โดยท่านเป็นผู้ที่มีความรู้แตกฉานทั้งทางโลกและพระวินัย ได้ศึกษาภาษาบาลีเพิ่มเติมกับพระวินัยธร (เบี้ยว จิตตกาโร) ป.ธ.๕ วัดท่าโขลง จนมีความรู้สามารถแปลหนังสือได้ แต่ท่านไม่ได้เข้าสอบในสนามหลวง
พระวินัยธร หรือ หลวงพ่อเบี้ยว จิตตกาโร วัดท่าโขลง ราชบุรี |
ปี พ.ศ. ๒๔๔๘ หลวงพ่อปล้อง ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดสุรชายาราม หรือ วัดหลุมดิน หลังจากที่ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหลุมดินว่างลง
หลวงพ่อปล้อง วัดหลุมดิน สมัยก่อนนับวันที่ ๑๓ เมษายน เป็นวันเปลี่ยนศักราช |
พระครูธรรมาภินันท์ (หลวงพ่อปล้อง วัดหลุมดิน) เป็นพระที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักแพร่หลายไปทั้งประเทศ ทั้งนี้เพราะนอกจากหลวงพ่อจะเป็นพระที่มีศีลาจารวัตร น่าศรัทธาเลื่อมใสแล้ว ยังมีคุณลักษณะพิเศษได้รับการยกย่องให้เป็นพระเกจิ ๑ ใน ๑๐๘ องค์ ของประเทศไทยขณะนั้นด้วย
ช่วงสมัยสงครามอินโดจีน ก่อนออกเดินทางทหารทุกคนจะไปขอพระเครื่องจากหลวงพ่อปล้องแทบทั้งสิ้น ระยะแรกๆ หลวงพ่อก็จะแจกพระเนื้อเมฆพัดให้
จนเมื่อมีทหารมาขอแจกมากๆเข้าทำให้พระทำไม่ทัน เพราะพระเนื้อเมฆพัดมีขั้นตอนการทำที่ยุ่งยากและใช้เวลามากและยังต้องตกแต่งองค์พระให้เรียบร้อย และพระทุกองค์หลวงพ่อจะจารเอง ก่อนนำไปเข้าพิธีปลุกเสก
ประกอบกับช่วงนั้นหลวงพ่อปล้อง เริ่มมีอาการอัมพฤกษ์(อาการเริ่มต้นของอัมพาต) มือขวาที่ใช้จารจะใช้ได้เฉพาะตอนเช้ามืด ท่านจึงหันมาทำพระปิดตาเนื้อตะกั่วแทน แม้กระนั้นก็ยังไม่พอแจกอีกอยู่ดี จนถึงขั้นต้องพิมพ์ภาพพระปิดตามหาอุดลงที่ผ้า (ผ้ากระเจียด) แล้วทำพิธีพุทธาภิเศกกันเลยทีเดียวช่วงนั้นทั้งพระ เณร และชาวบ้าน ไม่ต้องหลับต้องนอนกันเลยทีเดียว เพราะต้องช่วยหลวงพ่อสร้างพระเมื่อให้ทันกับความต้องการของทหารที่ต้องออกไปรบเพื่อชาติของเรานั่นเอง
หลวงพ่อปล้อง สุลีโส หรือ พระครูธรรมาภินันท์ ปกครองวัดเรื่อยมาจนถึงแก่มรณภาพด้วยโรคอัมพาต เมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ เวลา ๑๐.๓๕ น. นับรวมสิริอายุได้ ๖๖ ปี ๔๕ พรรษา.
วัตถุมงคลหลวงพ่อปล้อง วัดหลุมดิน
วัตถุมงคลของท่านที่โด่งดังก็มี พระมหาอุตม์ ลักษณะเป็นพระปิดทวารทั้งเก้า ที่นิยมกันมาก ก็คือ พระมหาอุตม์เนื้อเมฆพัด มีสีดำเป็นมันวาว เริ่มสร้างแจกในช่วงสร้างศาลาการเปรียญในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ โดยอุบาสกจะได้รับพระมหาอุตม์ ส่วนอุบาสิกาจะได้รับพระพิมพ์กลีบบัว
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ ด้วยเนื้อเมฆพัดเสียเป็นส่วนใหญ่แต่ก็มีบ้างที่สร้างด้วยเนื้อเมฆสิทธิ์ จัดเป็นพระปิดตายุคแรกๆของหลวงพ่อปล้อง โดยหลวงพ่อปล้องสร้างขึ้นเพื่อแจกจ่ายให้ผู้ร่วมบริจาคทรัพย์สร้างศาลาการเปรียญและถาวรวัตถุให้แก่วัดหลุมดิน จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
พระปิดตาหลวงพ่อปล้อง วัดหลุมดิน พิมพ์จั๊กจั่น เนื้อเมฆพัด ปี พ.ศ. ๒๔๗๑ |
ด้านหน้า หล่อเป็นรูปพระปิดตาภควัมบดี มือทั้ง ๒ ข้างปิดตา
ด้านหลัง มีลักษณะทั้งแบบเรียบและแบบหลังเบี้ย ขององค์พระจะมีรอยจารมือหลวงพ่อทุกองค์ โดยรอยจารจะเป็นเอกลักษณ์สำหรับแยกเก๊-แท้ ได้เป็นอย่างดี
พระกลีบบัวหลวงพ่อปล้อง วัดหลุมดิน
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ เพื่อสมนาคุณแก่ผู้บริจาคทรัพย์สร้างศาลาการเปรียญ โดยมีการจัดสร้างด้วยเนื้อเมฆพัด เนื้อผง และเนื้อสำริด โดยหลวงพ่อปล้อง จะมีการจารอักขระด้วยมือของท่านเอง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
พระกลีบบัวหลวงพ่อปล้อง วัดหลุมดิน เนื้อเมฆพัด ปี พ.ศ. ๒๔๗๑ |
พระกลีบบัวหลวงพ่อปล้อง วัดหลุมดิน เนื้อสำริด ปี พ.ศ. ๒๔๗๑ |
ด้านหน้า หล่อเป็นรูปจำลององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับนั่งปางสมาธิ บนฐานกลีวบัว องค์พระห่มจีวรลดไหล่และมีผ้าสังฆาฏิพาด
พระปิดตาหลวงพ่อปล้อง วัดหลุมดิน พิมพ์ใหญ่
สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ด้วยเนื้อเมฆพัดเสียเป็นส่วนใหญ่ โดยหลวงพ่อปล้องสร้างขึ้นเพื่อแจกจ่ายให้แก่ทหารที่ไปรบในสงครามอินโดจีน ซึ่งเป็นที่นิยมกันเป็นอย่างมากในยุคแรกที่สร้างแจกจะมีแค่เนื้อเมฆพัดเพียงอย่างเดียว จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
พระปิดตาหลวงพ่อปล้อง วัดหลุมดิน พิมพ์ใหญ่ เนื้อเมฆพัด |
พระปิดตาหลวงพ่อปล้อง วัดหลุมดิน พิมพ์ใหญ่ เนื้อเมฆพัด |
ด้านหน้า หล่อเป็นรูปพระปิดตาภควัมบดี มือใหญ่ทั้ง ๒ ข้างปิดตา
พระปิดตาหลวงพ่อปล้อง วัดหลุมดิน พิมพ์กลาง
องค์พระจะเล็กกว่าพิมพ์ใหญ่เล็กน้อย และรายละเอียดในองค์พระจะตื้นกว่าเล็กน้อย สร้างด้วยเนื้อเมฆพัดเสียเป็นส่วนใหญ่ โดยหลวงพ่อปล้องสร้างขึ้นเพื่อแจกจ่ายให้แก่ทหารที่ไปรบในสงครามอินโดจีน ซึ่งเป็นที่นิยมกันเป็นอย่างมากในยุคแรกที่สร้างแจกจะมีแค่เนื้อเมฆพัดเพียงอย่างเดียว จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
พระปิดตาหลวงพ่อปล้อง วัดหลุมดิน พิมพ์กลาง เนื้อเมฆพัด |
ด้านหน้า หล่อเป็นรูปพระปิดตาภควัมบดี มือทั้ง ๒ ข้างปิดตา
พระปิดตาหลวงพ่อปล้อง วัดหลุมดิน พิมพ์เล็ก
องค์พระจะเล็กกว่าพิมพ์กลาง และรายละเอียดในองค์พระจะตื้นกว่าเล็กน้อย สร้างด้วยเนื้อเมฆพัดเสียเป็นส่วนใหญ่ โดยหลวงพ่อปล้องสร้างขึ้นเพื่อแจกจ่ายให้แก่ทหารที่ไปรบในสงครามอินโดจีน ซึ่งเป็นที่นิยมกันเป็นอย่างมากในยุคแรกที่สร้างแจกจะมีแค่เนื้อเมฆพัดเพียงอย่างเดียว จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
พระปิดตาหลวงพ่อปล้อง วัดหลุมดิน พิมพ์เล็ก เนื้อเมฆพัด |
ด้านหน้า หล่อเป็นรูปพระปิดตาภควัมบดี มือทั้ง ๒ ข้างปิดตา
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ในสมัยที่พระราชเมธาภรณ์ (จรัส สุมงฺคโล) เป็นเจ้าอาวาส เพื่อแจกจ่ายให้ผู้ร่วมบริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อโลหะทองแดงเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่อปล้อง วัดหลุมดิน รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ เนื้อทองแดงผิวไฟ |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อปล้องครึ่งองค์ ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูธรรมาภินันท์ (ปล้อง) สุลีโล"
ด้านหลัง ตรงกลางเหรียญจำลองเป็นรูปพระปิดตามหาอุด ด้านบนของพระปิดตามีอักขระยันต์อ่านได้ว่า "นะ โม พุท ธา ยะ" ใต้พระปิดตามีอักขระยันต์อ่านได้ว่า "พุท ธะ สัง มิ" ด้านล่างของอักขระยันต์มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "วัดสุรชายาราม(หลุมดิน) ราชบุรี"
โดย : สารานุกรมพระเครื่องลุ่มน้ำแม่กลอง
บทความที่เกี่ยวข้อง
***-[เป็นกำลังใจและสนับสนุนให้เราเขียนบทความดีๆ ช่วยกดดูโฆษณาด้านล่างนะคะ]-***
ไม่มีความคิดเห็น