ประวัติและวัตถุมงคลหลวงพ่อป๋อง วัดหนองกระทุ่ม หรือ หลวงพ่อพระครูขันตยาภิรัต อีกหนึ่งเหรียญหายากของราชบุรี
![]() |
หลวงพ่อป๋อง (พระครูขันตยาภิรัต) วัดหนองกระทุ่ม ราชบุรี |
หลวงพ่อป๋อง วัดหนองกระทุ่ม หรือ พระครูขันตยาภิรัต แห่งวัดหนองกระทุ่ม ท่านถือเป็นปูชนียบุคคลที่มีความสำคัญของวัดหนองกระทุ่ม โดยหลวงพ่อป๋องนั้น เป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดหนองกระทุ่ม ที่โด่งดังในด้านวิทยาคมเป็นอย่างมาก วัตถุมงคลของท่านทุกชนิดได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง
หลวงพ่อป๋อง วัดหนองกระทุ่ม ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๒๒ ณ บ้านปากท่อ ตำบลปากท่อ อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี
โยมบิดาชื่อนายเปี่ยม เกิดเปี่ยม โยมมารดาชื่อนางเอม เกิดเปี่ยม ต่อมาไม่นานโยมมารดาของท่านได้เสียชีวิตลง เมื่อตอนที่ท่านมีอายุได้ ๕ ขวบ
หลังจากนั้นโยมบิดาได้เสียชีวิตเมื่อหลวงพ่อมีอายุได้ ๑๗ ปี ท่านจึงอาศัยอยู่กับผู้เป็นย่า ในสมัยเด็กท่านได้รับการฝากให้ไปเรียนหนังสือในสำนักวัดปากท่อ
ปี พ.ศ. ๒๔๔๒ หลวงพ่อป๋อง ท่านมีอายุครบบวช จึงขอผู้เป็นย่าทำการบวชเพื่อทดแทนคุณบิดามารดา ณ พัทธสีมาวัดปากท่อ ตำบลปากท่อ อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๒ ได้รับฉายาว่า "ธมฺมโชโต" โดยมี
พระอธิการเอี่ยม วัดบางจาก เป็นพระอุปัชฌาย์
พระอธิการนวม วัดแจ้งเจริญ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระอธิการภู่ วัดปากท่อ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
หลังอุปสมบทได้จำพรรษาอยู่วัดปากท่อ ๓ พรรษา ท่านก็ย้ายไปเรียนวิชากับหลวงพ่อนวม วัดแจ้งเจริญ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นผู้เรืองวิชาอาคมมากในขณะนั้น ท่านเรียนทั้งด้านวิปัสสนากรรมฐานและวิชาอาคมแขนงต่างๆ จนสำเร็จทุกแขนง![]() |
หลวงพ่อป๋อง (พระครูขันตยาภิรัต) วัดหนองกระทุ่ม ราชบุรี |
ปี พ.ศ. ๒๔๖๒ พระอาจารย์ผล เจ้าอาวาสวัดหนองกระทุ่มได้มรณภาพลง ชาวบ้านจึงนิมนต์ท่านมาเป็นเจ้าอาวาสวัดหนองกระทุ่มทดแทนตำแหน่งที่ว่างลง
วัดหนองกระทุ่ม เป็นวัดราษฏร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ที่บ้านหนองกระทุ่ม หมู่ที่ ๒ ตําบลหนองกระทุ่ม อําเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี
วัดหนองกระทุ่ม ตั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๗ ชื่อวัดตั้งตามชื่อหมู่บ้านหนองกระทุ่ม โดยมีนายเทพ และนางแย้ม เป็นผู้บริจาคที่ดินให้สร้างวัด
วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๙ มีเจ้าอาวาสปกครองวัดเท่าที่ ทราบนามดังนี้
๑. พระพ่วง
๒. พระผล พ.ศ. ๒๔๔๑ - ๒๔๖๒
๓. พระครูขันตยาภิรัต (ป้อง ธมฺมโชโต) พ.ศ. ๒๔๖๒ - ๒๕๐๖
๔. พระครูสมุห์สนิท พ.ศ. ๒๕๐๖ - ๒๕๑๐
๕. พระครูสุจิตวรคุณ (สมจิตต์ วรจิตโต) พ.ศ. ๒๕๑๐ - ๒๕๔๒
๖. พระครูพิมลสรกิจ (สาโชติ อาภาธโร) พ.ศ. ๒๕๔๒ - ปัจจุบัน
หลังจากที่หลวงพ่อป๋องได้ขึ้นเป็นเจ้าอาวาส ท่านได้พัฒนาวัดอย่างสุดความสามารถ ทั้งการสร้างเสนาสนะและถาวรวัตถุต่างๆ จนวัดเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ
ท่านได้เป็นเจ้าอาวาสด้วยจิตใจยึดมั่นต่อพระพุทธศาสนา และเร่งพัฒนาวัดให้มีความเจริญรุ่งเรืองหมั่นพอสอนลูกศิษย์ให้เป็นคนดี
ปี พ.ศ. ๒๔๗๑ ท่านจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
ปี พ.ศ. ๒๔๗๓ ได้รับตำแหน่งเจ้าคณะหมวด และด้วยการที่ท่านได้ประกอบคุณงามความดีปกครองคณะสงฆ์ด้วยความสงบ
ปี พ.ศ. ๒๔๙๑ หลวงพ่อป๋อง ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ "พระครูขันตยาภิรัต"จากคำบอกเล่าว่าหลวงพ่อป๋อง เป็นพระสงฆ์ที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย และมีวาจาศักดิ์สิทธิ์ เมื่อท่านกล่าวเช่นใด เหตุการณ์ก็จะเป็นไปตามนั้น
รวมทั้งหลวงพ่อป๋องยังเป็นผู้ที่ทำการบูรณะปฎิสังขรวัดหนองกระทุ่ม ให้มีความเจริญรุ่งเรือง จึงมีชาวบ้านและพุทธศาสนิกชนจำนวนมากให้ความเคารพนับถือศรัทธาในตัวหลวงพ่อป๋องเป็นอย่างมากหลวงพ่อป๋อง วัดหนองกระทุ่ม เป็นพระเกจิที่ผู้คนในแถบ ราชบุรี สมุทรสงคราม เพชรบุรี รู้จักท่านกันเป็นอย่างดี ซึ่งหลวงปู่ยวง วัดโพธิ์ศรี ศิษย์เอกของท่านเล่าให้ฟังว่า หลวงพ่อป๋องท่านได้ร่ำเรียนวิชาอาคมมาจากหลวงปู่นวม วัดแจ้งเจริญ อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี
ซึ่งหลวงปู่นวม วัดแจ้งเจริญ ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ยุคเก่าอีกรูปของจังหวัดราชบุรี ท่านเป็นพระกะเหรี่ยง เดิมทีท่านจำพรรษาอยู่แถวสวนผึ้ง ต่อมาได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดแจ้งเจริญ โดยท่านมักจะโดนพวกกะเหรี่ยงด้วยกันลองของใส่ท่านอยู่เป็นประจำ หากแต่ท่านไม่เป็นไรเลย เพราะสามารถแก้ไขได้หมด![]() |
หลวงพ่อนวม วัดแจ้งเจริญ |
หลวงวปู่ยวง บอกว่ากะเหรี่ยงมันลองวิชาโดยการฆ่าพระให้ถึงแก่มรณภาพ ซึ่งถ้าทำได้วิชาของมันจะแรงมาก แต่หลวงปู่นวม ท่านไม่เคยพลั้งพลาดเลยแม้แต่ครั้งเดียว นานวันเข้าท่านเกิดความเบื่อหน่ายจึงย้ายมาพำนักอยู่ที่วัดแจ้งเจริญ จนถึงกาลมรณะภาพ
หลวงพ่อป๋อง ซึ่งท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เก่งทางด้านคงกระพัน มหาอุด แคล้วคลาด ตะกรุดของท่านหายากเป็นที่แสวงหากันเป็นอย่างมาก ซึ่งเมื่อก่อนหลวงพ่อท่านทำแจกชาวบ้านทั่วไป ส่วนใหญ่พวกที่มีไว้ครอบครองมักจะเป็นพวกชาวไร่ ชาวสวน ชาวนา หรือสุจริตชนทั่วไป พวกนักเลงหัวไม้อย่าหวังจะได้ของจากท่าน เพราะท่านกลัวคนพวกนี้เมื่อได้ไปจะเอาไปใช้ในทางที่ผิด สร้างความเดือดร้อนให้แก่คนอื่น
หลวงพ่อป๋อง ปกครองวัดเรื่อยมาจนถึงแก่มรณภาพลงโดยอาการสงบด้วยโรคชราเมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๖ นับรวมสิริอายุได้ ๘๔ ปี ๖๔ พรรษา หลังจากมรณภาพชาวบ้านและคณะศิษย์จึงมีการหล่อรูปเหมือนหลวงพ่อป๋องขึ้น เพื่อให้ชาวบ้านลูกศิษย์ลูกหาได้กราบไหว้บูชามาจนถึงปัจจุบัน.
วัตถุมงคลของหลวงพ่อป๋อง วัดหนองกระทุ่ม
เหรียญปั๊มรูปเหมือนหลวงพ่อป๋อง รุ่นแรก (ยันต์เฑาะห์ใหญ่)
สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่มีหูในตัว สร้างด้วยเนื้อทองแดง ทองแดงกระไหล่ทอง และทองแดงกระไหล่เงิน จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
จัดเป็นเหรียญหายากและมีราคาแพงเหรียญหนึ่งของหลวงพ่อป๋อง ด้วยจำนวนสร้างที่น้อยนิดและประสบการณ์ที่โชกโชนทำให้เหรียญรุ่นนี้เป็นที่ต้องการของชาวราชบุรี
![]() |
เหรียญหลวงพ่อป๋อง วัดหนองกระทุ่ม รุ่นแรก พิมพ์ยันต์เฑาะห์ใหญ่ ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ |
ด้านหน้า เป็นรูปแจำลองหลวงพ่อป๋อง ครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฎิ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูขันตยาภิรัต เจ้าคณะตำบลหนองกระทุ่ม อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี"
ด้านหลัง มีอักขระยันต์เทาะห์ขนาดใหญ่หนึ่งตัว
เหรียญปั๊มรูปเหมือนหลวงพ่อป๋อง รุ่นแรก (ยันต์เฑาะห์เล็ก)
สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๘
ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่มีหูในตัว สร้างด้วยเนื้อทองแดง ทองแดงกระไหล่ทอง
และทองแดงกระไหล่เงิน จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
จัดเป็นเหรียญหายากและมีราคาแพงเหรียญหนึ่งของหลวงพ่อป๋อง
ด้วยจำนวนสร้างที่น้อยนิดและประสบการณ์ที่โชกโชนทำให้เหรียญรุ่นนี้เป็นที่ต้องการของชาวราชบุรี
![]() |
เหรียญหลวงพ่อป๋อง วัดหนองกระทุ่ม รุ่นแรก พิมพ์ยันต์เฑาะห์เล็ก ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ |
ด้านหน้า เป็นรูปแจำลองหลวงพ่อป๋อง ครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฎิ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูขันตยาภิรัต เจ้าคณะตำบลหนองกระทุ่ม อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี"
ด้านหลัง มีอักขระยันต์เทาะห์หนึ่งตัว อยู่ภายในกรอบรูปสี่เหลี่ยม มุมของกรอบมีตัวอุณาโลมอยู่มุมละ ๑ ตัว
เหรียญปั๊มรูปเหมือนหลวงพ่อป๋อง รุ่นสอง
สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๒ เพื่อแจกจ่ายบรรดาลูกศิษย์ลูกหาในคราวที่หลวงพ่อป๋องมีอายุครบ ๘๐ ปี ลักษณะเป็นเหรียญรูปพัดยศมีหูในตัว สร้างด้วยเนื้อทองแดง
![]() |
เหรียญหลวงพ่อป๋อง วัดหนองกระทุ่ม รุ่น ๒ ปี พ.ศ. ๒๕๐๒ |
ด้านหน้า เป็นรูปแจำลองหลวงพ่อป๋อง ครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฎิ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูขันตยาภิรัต"
ด้านหลัง มีอักขระยันต์พระเจ้า ๕ พระองค์ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ที่ระลึกในงานครบรอบอายุ ๘๐ ปี ๒๑/๓/๒๕๐๒"
เหรียญปั๊มรูปเหมือนหลวงพ่อป๋อง รุ่นสาม
สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๓
เพื่อแจกจ่ายบรรดาลูกศิษย์ลูกหาในคราวที่หลวงพ่อป๋องมีอายุครบ ๘๐ ปี
ลักษณะเป็นเหรียญรูปพัดยศมีหูในตัว คล้ายเหรียญรุ่น ๒ ให้สังเกตุที่ปากหลวงพ่อจะงุ้มลง(หน้าดุ) สร้างด้วยเนื้อทองแดง และเนื้อทองแดงกระไหล่ทอง
![]() |
เหรียญหลวงพ่อป๋อง วัดหนองกระทุ่ม รุ่น ๓ ปี พ.ศ.๒๕๐๓ |
ด้านหน้า เป็นรูปแจำลองหลวงพ่อป๋อง ครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฎิ รูปปากของหลวงพ่อจะงุ้มลง มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูขันตยาภิรัต"
ด้านหลัง มีอักขระยันต์พระเจ้า ๕ พระองค์ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ที่ระลึกในงานครบรอบอายุ ๘๐ ปี ๒๑/๓/๒๕๐๓"
เหรียญปั๊มรูปเหมือนหลวงพ่อป๋อง รุ่นสี่
สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ลักษณะเป็นเหรียญรูปใบเสมามีหูในตัว สร้างด้วยเนื้อเงิน เนื้อทองแดง
และเนื้อทองแดงกระไหล่ทอง มีด้วยกัน ๒ พิมพ์คือ พิมพ์ปากขอบเดียว กับปาก ๒ ขอบ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
![]() |
เหรียญหลวงพ่อป๋อง วัดหนองกระทุ่ม รุ่น ๔ ปี พ.ศ.๒๕๐๕ พิมพ์ปากขอบเดียว |
![]() |
เหรียญหลวงพ่อป๋อง วัดหนองกระทุ่ม รุ่น ๔ ปี พ.ศ.๒๕๐๕ พิมพ์ปาก ๒ ขอบ ของคุณขวัญชัย สวัสดี |
ด้านหน้า เป็นรูปแจำลองหลวงพ่อป๋อง ครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฎิ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูขันตยาภิรัต"
ด้านหลัง มีอักขระยันต์พระเจ้า ๕ พระองค์ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "๕/๓/๒๕๐๕"
พุทธคุณของท่าน
ที่ทำให้โด่งดังนั้นเนื่องมาจากประสบการณ์ทางด้านคงกระพันชาตรี
ที่เรียกกันว่าเหนียวสุดๆ
ลูกศิษย์ท่านที่ยังอยู่และทราบประวัติอย่างชัดเจนในปัจจุบันคือหลวงพ่อยวง วัดโพธิ์ศรี จังหวัดราชบุรี และหลวงพ่อแถม วัดช้างแทงกระจาด ซึ่งหลวงพ่อแถมนี้มีศักดิ์เป็นหลานแท้ๆของท่านอีกด้วย.
***-[เป็นกำลังใจและสนับสนุนให้เราเขียนบทความดีๆ ช่วยกดดูโฆษณาด้านล่างนะคะ]-***
ไม่มีความคิดเห็น