พระอดุลยสมณกิจ (ดี) วัดเทวสังฆาราม กาญจนบุรี ถ่ายเมื่อพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๐ |
หลวงปู่ดี พุทธโชติ วัดเหนือ หรือ พระเทพมงคลรังษี เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆาราม กาญจนบรี ถือเป็นพระเกจิที่โด่งดังอีกรูปหนึ่งของเมืองกาญจน์ ผู้คนกล่าวขานกันเป็นกลอนว่า "ถ้าเจ้าชู้ต้องวัดเหนือ ถ้าเป็นอ้ายเสือต้องวัดใต้" ซึ่งบ่งบอกถึงคุณวิเศษของหลวงพ่อได้เป็นอย่างดี
๑. นางตุ้ม คล่องแคล่ว
๒. นางหงิม บุญธนวงศ์
๓. นายโต เอกฉันท์
๔. นายปลอด เอกฉันท์
๕. นายชุ่ม เอกฉันท์
๖. นายแฉ่ง เอกฉันท์
๗. พระเทพมงคลรังษี (ดี เอกฉันท์)
๘. นายแจ้ เอกฉันท์
๙. นางเงียบ พ่วงกุล
เมื่ออายุได้ ๑๘ ปี ก็ได้บวชเณรที่วัดทุ่งสมอ โดยมีพระอธิการรอด วัดทุ่งสมอ ซึ่งมีศักดิ์เป็นปู่ของท่าน เป็นผู้บวชให้ บวชได้ ๖ เดือนก็สึกออกมาช่วยบิดามารดาทำนา
ปี พ.ศ. ๒๔๓๖ หลวงปู่ดี ท่านมีอายุครบบวช ท่านจึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดทุ่งสมอ ตำบลทุ่งสมอ อำเภอพนมทวน จังวหัดกาญจนบุรี ได้รับฉายา "พุทธโชติ" โดยมี
พระครูวิสุทธิรังษี (หลวงพ่อช้าง วัดบ้านทวน) อำเภอพนมทวน เป็นพระอุปัชฌายะ
พระอาจารย์รอด วัดทุ่งสมอ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระใบฏีกาเปลี่ยน วัดใต้ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านได้อยู่จำพรรษาที่วัดทุ่งสมอเรื่อยมา เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยกับพระอธิการรอด
หลวงปู่ดี วัดเหนือ หรือ พระเทพมงคลรังษี วัดเทวสังฆาราม กาญจนบุรี ถ่าย ปี พ.ศ. ๒๔๔๘ |
ในพรรษาแรกท่านพยายามท่องบทสวดมนต์ได้บางบท และพยายามท่องปาติโมกข์ให้จบ แต่เนื่องจากบทปาฏิโมกข์ ในเวลานั้นมีแต่หนังสือขอม
สมัยนั้นหาผู้ที่สามารถท่องปาฏิโมกข์ให้จบครบสมบูรณ์ได้ยาก ท่านจึงใช้วิธีไปขอต่อหนังสือเอาจากพระผู้สามารถท่องปาฏิโมกข์ได้วันละเล็กละน้อย จนในที่สุดท่านก็ท่องปาฏิโมกข์ได้ครึ่งหนึ่ง
เมื่อออกพรรษาท่านก็ได้ไปเรียนทางวิปัสสนา กับท่านอาจารย์อิน วัดห้วยสะพาน ซึ่งวัดอยู่ไม่ไกลกันนัก รวม ๑๕ วัน ครั้นในพรรษาที่ ๒ ท่านก็สามารถท่องปาฏิโมกข์ได้จบบริบูรณ์
เมื่อออกพรรษาได้ธุดงค์ไปนมัสการ พระพุทธบาทสระบุรีกับพระอีก ๓ รูป ระหว่างทางได้แวะนมัสการหลวงพ่อโต วัดเกษไชโย จังหวัดอ่างทอง จากนั้นจึงไปถึงพระพุทธบาท พักอยู่สามคืนจึงเดินทางกลับ
ในพรรษาที่ ๓ ได้ไปเรียนวิปัสสนากับท่านพระอาจารย์เกิด วัดกกตาล นครชัยศรี อีก ๗ วัน หลังจากนั้นจึงกลับมาอยู่วัด ทุ่งสมอตามเดิม
ต้นพรรษาที่ ๔ พระใบฏีกาเปลี่ยน ( เจ้าอาวาสวัดไชยชุมพลชนะสงคราม ) ชวนท่านมาเรียนบาลีที่วัด ท่านก็มาอยู่ที่วัดใต้ แต่ไม่ได้เรียนบาลี แต่มาท่องบทสวดมนต์แทน
จากนั้นจึงไปอยู่กรุงเทพ ที่วัดรังษี ปัจจุบันรวมเข้าไว้ในวัดบวรนิเวศ ซึ่งขณะนั้นท่านเจ้าคุณธรรมกิจเป็นเจ้าอาวาส โดยได้ศึกษาภาษาบาลีกับท่านอาจารย์ลี แต่ศึกษาไปได้เพียงผูกเดียว อาจารย์ผู้สอนก็ลาสิกขาไปเสีย พอออกพรรษาที่ ๕ ท่านก็เลยกลับมาอยู่วัดทุ่งสมอตามเดิม
หลวงปู่ดี วัดเหนือ หรือ พระเทพมงคลรังษี วัดเทวสังฆาราม กาญจนบุรี |
ในระหว่างที่อยู่ที่วัดทุ่งสมอนั้น มีพระอาคันตุกะรูปหนึ่ง ชื่อพระอาจารย์ชื่น มาจากวัดในอำเภอ สองพี่น้อง สุพรรณบุรี มาพักอยู่ที่วัดทุ่งสมอ และได้แนะนำในเรื่องการศึกษา และการปฏิบัติให้กับท่าน ซึ่งท่านสนใจอยากจะเรียนปาฏิโมกข์แปลมาก
เมื่ออาจารย์ชื่นกลับ ท่านจึงขอติดตามไปด้วย และได้ไปจำพรรษาที่ ๖ อยู่ที่วัดโบสถ์ เมืองนนทบุรี ที่วัดนี้ท่านได้แสดงความสามารถในเรื่องสวดมนต์ และท่องปาฏิโมกข์จนได้รับคำชมเชยเป็นอันมาก
เมื่อออกพรรษา เพื่อนพระด้วยกันชวนเข้ากรุงเทพ มาอยู่ที่วัดสังเวชได้ ๓ เดือน ก็ได้ข่าวจากทางบ้านว่าพี่ชายตาย จึงเดินทางกลับไปปลงศพพี่ชาย และพักอยู่ที่วัดทุ่งสมอตามเดิม
วัดทุ่งสมอนั้นพระอธิการรอดได้มรณภาพลงแล้ว พวกทายกนิมนต์พระอาจารย์ทา วัดหนองขาว มาเป็นสมภาร และเทื่ออกพรรษา ท่านได้มอบหมายให้หลวงปู่ดีสวดกฐิน เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่บวชมา
ในพรรษาที่ ๙ มีบวชพระที่วัด โดยมีหลวงพ่อยิ้ม วัดหนองบัว เป็นพระอุปัชฌายะ และมีท่านอาจารย์ทา วัดทุ่งสมอ เป็นคู่สวด บังเอิญวันนั้นท่านอาจารย์ทาป่วย ไม่สามารถสวดนาคได้
หลวงพ่อยิ้ม จึงให้ท่านสวดแทน เรื่องสวดนาคนี้ท่านเคยปฏิเสธหลวงพ่อยิ้ม ตอนมีบวชพระที่วัดหนองบัวมาครั้งหนึ่งแล้ว แต่ในครั้งนี้ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เมื่อท่านสวดนาคไปได้ชุดหนึ่ง ก็เป็นที่ถูกใจของพระอุปัชฌายะโดยได้ชมขึ้นในท่ามกลางสงฆ์ และนับแต่นั้นมา ท่านก็เป็นคู่สวดนาคตลอดมา
ในพรรษาที่ ๑๒ ท่านได้มาอยู่ที่วัดรังษีอีก ตั้งใจมาเรียนบาลีแต่ไม่ได้เรียน จึงหันไปเรียนปาฏิโมกข์แปลแทน เมื่อออกพรรษาจึงได้ติดตามพระครูสิงคิบุราคณาจารย์ (หลวงพ่อสุด) เจ้าอธิการวัดเทวสังฆาราม
ซึ่งรู้จักกันมาก่อน ครั้งญาติโยมนิมนต์ให้ไปสวดที่วัดใต้ ในครั้งนั้นหลวงปู่ดีได้สวดมนต์ผิด แถมเสียงสวดมนต์ของท่านยังดังกว่าพระองค์อื่น การสวดมนต์บทนั้น ก็เลยล่มลงกลางคัน
หลวงปู่ดี วัดเหนือ หรือ พระเทพมงคลรังษี วัดเทวสังฆาราม กาญจนบุรี |
จากครั้งแรกนั้นก็มาพบกันอีกคราวตอนพระครูสิงคิฯ ท่านไปสวดกรรมบวชนายเจียม ที่วัดทุ่งสมอ ในคืนวันจะบวช ท่านเข้าไปนอนในห้องเดียวกับหลวงปู่ดี แล้วท่านมาถามหลวงปู่ดีว่า "ทราบไหมว่าเขานิมนต์ใครมาเป็นคู่สวด"
หลวงปู่ดีตอบว่า "ไม่ทราบ" ท่านก็เลยบอกกับหลวงปู่ดีว่าญาติโยมเขานิมนต์ให้ฉันมาสวด แต่ท่านไม่สบาย ไม่สามารถสวดได้ ขอให้หลวงปู่ดีช่วยสวดแทน
หลวงปู่ดีก็ปฏิเสธ บอกขึ้นว่า "ไม่ได้ดอกครับ ผมเป็นลูกบ้านนี้ โยมที่นิมนต์มา เขาเป็นคนมีฐานะเป็นสมุหบัญชี เขาคงจะไม่ยอมแน่ๆ" แม้พระครูสิงคิฯ จะบอกว่าท่านจะไปพูดกับญาติโยมให้ หลวงปู่ดีก็ไม่ยอม
เมื่อถึงเวลาสวด พระครูสิงคิฯ ท่านก็สวดได้ถึงซ้อมอันตรายิกธรรม จึงขอให้หลวงปู่ดีช่วยสวดต่อ โดยท่านบอกว่า ถ้าให้ท่านสวดต่อจนจบท่านก็ตาย เวลานั้นหลวงปู่ดีอยู่มา ๙ พรรษาแล้ว
ส่วนพระครูสิงคิฯ ท่านบวชมา ๒๐ พรรษาแล้ว นั่นเป็นครั้งแรกๆที่พระครูสิงคิฯ ได้พบกับหลวงปู่ดี โดยที่หลวงปู่ดีได้เข้าไปช่วยสวดในเวลาที่ท่านไม่สบายมาก
หลวงปู่ดี วัดเหนือ หรือ พระเทพมงคลรังษี วัดเทวสังฆาราม กาญจนบุรี |
การไปนมัสการพระเจดีย์ชเวดากองในครั้งนี้ เป็นบุญของพระครูสิงคิฯที่อนุญาติให้หลวงปู่ดีเดินทางไปด้วย เพราะต่อมา ในการเดินทางไปนมัสการพระเจดีย์ชเวดากองในครั้งกระนี้ พระครูสิงคิฯ ซึ่งอาพาธกะเสาะกระแสะ
ทั้งระหว่างทางไปและกลับ ระยะเวลารวม ๑ เดือน ก็ได้อาศัยหลวงปู่ดีนี่แหละแสดงน้ำใจ เฝ้าปรนนิบัติ ดูแล ยิ่งกว่าพระ และศิษย์คนใดที่ท่านหวังพึ่ง ในระหว่างทาง แล้วเอาไปร่างกุ้งด้วย
หลวงปู่ดี วัดเหนือ หรือ พระเทพมงคลรังษี วัดเทวสังฆาราม กาญจนบุรี |
เมื่อถึงเมืองไทยแล้ว ครั้งแรกหลวงปู่ดีตั้งใจจะไม่ไปส่งพระครูสิงคิฯ ถึงวัดเทวสังฆาราม โดยจะไปอยู่วัดในกรุงเทพเลย แต่พระครูสิงคิฯ ก็อ้อนวอนขอให้หลวงปู่ดี มาส่งท่านถึงวัดด้วย เมื่อกลับมาถึงวัดชาวบ้าน กรรมการ และศิษย์ของทางวัดเองก็ดีใจ มาเยี่ยมกันมากมาย
เพราะก่อนหน้านี้ได้รับข่าวร้ายทำนองว่าพระครูสิงคิฯ มรณภาพลงเสียแล้วที่กลางทาง แม้แต่ในภายหลัง พระครูสิงคิฯ เองก็ยังปรารภกับหลวงปู่ดีว่า ถ้าไม่ได้หลวงปู่ดีไปร่างกุ้งด้วยกันในครั้งนี้ ท่านก็คงมรณภาพเสียที่กลางทางเป็นแน่
เมื่อเสร็จกิจทั้งปวง หลวงปู่ดีก็มาอยู่กรุงเทพ จากนั้นพระครูสิงคิฯก็มีจดหมายมาถามทุกข์สุขอยู่เสมอ ทุกเดือนมิได้ขาด บางทีท่านลงมากรุงเทพ ก็มาแวะพัก พูดคุยกันเป็นครั้งคราว ในตอนหลังๆ
อีก ๒ ปีถัดมา พระครูสิงคิฯ ก็อาพาธมากไปไหนมาไหนไม่ได้ จากนั้นท่านก็มีจดหมายมาบอกกับหลวงปู่ดีว่า ท่านไปไหนไม่ได้แล้ว ถ้ามีเวลาว่างขอให้ไปเยี่ยมท่านบ้าง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชทานดำเนิน มาถวายผ้าพระกฐินต้น ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ |
และมีคราวหนึ่งพระครูสิงคิฯ ก็ได้ให้ทายกหลายคน มาหาหลวงปู่ดี ขอร้องให้ท่านเป็นสมภาร แต่ท่านก็ได้ปฏิเสธไปอย่างเด็ดขาดว่าเป็นไม่ได้เพราะสมภารองค์เดิมท่านยังมีชีวิตอยู่
ปี พ.ศ. ๒๔๕๔ พระครูสิงคิฯ ก็มรณภาพลง กรรมการและศิษย์วัดรวมถึงชาวบ้านทั้งหลายจึงมานิมนต์ขอให้หลวงปู่ดี ท่านเป็นสมภารอีก คราวนี้ท่านไม่สามารถปฏิเสธได้จึงจำต้องรับเป็นสมภารอย่างเต็มตัว
ในปีชวด พ.ศ. ๒๔๕๕ หลวงปู่ดี ซึ่งตอนนั้นเป็นสมภารใหม่ๆพร้อมด้วยพระหรุง (ต่อมาได้เป็นเจ้าอธิการ วัดทุ่งสมอ ) พระฮวบ พระหัง ( ต่อมาได้เป็นเจ้าอาวาสองค์ต่อมา ) พระไพ่ กับคณะสงฆ์วัดเทวสังฆารามทั้งหมด
ได้พร้อมใจกัน เปลี่ยนการห่มผ้าจากแบบเดิมเป็นห่มแหวก และได้ปฏิบัติพระธรรมวินัยโดยเคร่งครัด ตามพระหรุงที่ได้ห่มแหวกมาก่อนหน้านั้นแล้วหลายปี ในสำนักของพระอาจารย์เภา วัดถ้ำตะโก จังหวัดลพบุรี
ซึ่งในครั้งนี้พระหรุง ได้เดินทางมาร่วมในงานศพของพระครูสิงคิฯ และหลวงปู่ดีได้ชักชวนให้อยู่ด้วยกัน แต่พระหรุง ได้ตั้งข้อแม้ว่า ขอให้เปลี่ยนการห่มผ้าเป็นห่มแหวก และปฏิบัติตามพระธรรมวินัยก่อน ซึ่งหลวงปู่ดีก็เห็นชอบด้วย จึงได้หารือต่อคณะสงฆ์และหมู่สงฆ์ก็เห็นชอบด้วยโดยพร้อมเพรียงกัน
จากนั้นเป็นต้นมา หลวงปู่ดี จึงเป็นประธานเปลี่ยนการห่มผ้า เป็นห่มแหวกด้วยความพร้อมเพรียงแห่งคณะสงฆ์ และปฏิบัติตามบุพพสิกขาวรรณนา และวินัยมุขตลอดมาจนทุกวันนี้
หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ หลวงปู่ดี วัดเหนือ |
ในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระวชิรญาณวโรรสเสด็จมาทรงตรวจการคณะสงฆ์ จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อทรงเห็นพฤติการณ์ของพระวัดเทวสังฆารามโดยตลอดแล้ว จึงได้ทรงยกย่องเป็นตัวอย่างของวัดทั้งหลายที่จะเปลี่ยนเป็นห่มแหวก และได้ตรัสถามหลวงปู่ดีถึงจำนวนปีที่ได้เปลี่ยนการห่มผ้าเป็นห่มแหวก
และเรื่องผ้ากฐิน และเรื่องแสดงอาบัติเป็นต้น ซึ่งหลวงปู่ดีก็ได้กราบทูลตอบตามที่ได้ปฏิบัติมา เมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้าได้ฟัง ก็ตรัสว่า ถูกต้อง ในภายหลังเมื่อเสด็จไปวัดอื่นจังหวัดอื่น ก็ได้ทรงแนะนำให้ไปดูตัวอย่างวัดเทวสังฆาราม ต่อจากนั้นก็มีพระจากวัดอื่นมาดูตัวอย่างการปฏิบัติตนของพระวัดเทวสังฆารามอีกหลายต่อหลายครั้ง
พระของวัดเทวสังฆาราม มีการปฏิบัติเรียบร้อย ทั้งสม่ำเสมอเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การปฏิบัติ ตลอดจนขนบธรรมเนียม และระเบียบพิธีการที่ดีอยู่แล้ว ก็ใช้ต่อๆมา ที่บกพร่องก็แก้ไขให้ดียิ่งๆขึ้น ที่ยังไม่มีก็เพิ่มเติมเป็นลำดับ
จะเห็นได้ว่าตั้งแต่สมัยก่อนหน้านี้ มาถึงสมัยหลวงปู่ดี ไม่มีสมัยใดๆที่ วัดเทวสังฆารามได้รับการพัฒนาในด้านต่างๆจนเจริญรุ่งเรืองเท่านี้มาก่อน
ปี พ.ศ. ๒๔๕๘ ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็น พระครูอดุลยสมณกิจ
ปี พ.ศ. ๒๔๖๑ ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะแขวงอำเภอท่ามะกา
ปี พ.ศ. ๒๔๖๖ ท่านได้เป็นพระอุปัชฌาย์
ปี พ.ศ. ๒๔๖๙ ได้เป็นรองเจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี
ปี พ.ศ. ๒๔๗๓ ท่านได้สร้างโรงเรียนเทวกุล เป็นตึกโครงคอนกรีต ๒ ชั้น มีมุขกลาง สำหรับใช้เป็นโรงเรียนปริยัติธรรม
ปี พ.ศ. ๒๔๗๘ ท่านได้นำให้สโมสรคณะราษฏร์ไปทอดกฐินถวายทุนสร้างโบสถ์เป็นประเดิม เพราะพระอุโบสถเก่านั้นสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๓๕ ได้ชำรุดทรุดโทรมตามกาลเวลา
ปี พ.ศ. ๒๔๘๐ นายฮวด พูนสวัสดิ์ ผู้เสนอราคาต่ำสุดเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างในราคา ๒ หมื่นบาท (เป็นค่าแรงค่าสิ่งของทั้งหมด เว้นอิฐ ปูน ทราย ที่วัดจัดหาให้) เริ่มก่อสร้างวันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
ปี พ.ศ. ๒๔๘๒ ได้เชิญพระประธานจากศาลาเข้าประดิษฐานในโบสถ์นี้ เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ เวลา ๗.๓๔ น. สโมสรคณะราษฏร์ได้นำกฐินมาทอดสมทบทุนสร้างโบสถ์อีก ๒ ครั้ง
ปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็น พระวิสุทธิรังษี ครองตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี
ปี พ.ศ. ๒๔๙๒ หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ทางวัดจึงได้สร้างโบสถ์ต่อ ได้จัดงานยกช่อฟ้าเมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๒
ปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ทางวัดได้จัดงานผูกพัทธสีมา พระสงฆ์ได้ทำพิธีสมมติสีมาในวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๓
ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็น พระมงคลรังษีวิสุทธิ์ (ชั้นราช) และปีนั้นทางวัดได้เจาะพระเจดีย์องค์ใหญ่ซึ่งอยู่ข้างโบสถ์เก่า เพื่อบรรจุพระเครื่อง ๒๕ พุทธศตวรรษของทางราชการ ในการนี้ได้พบพระเครื่องต่างๆ จำนวนมาก
ปี พ.ศ. ๒๕๐๕ วัดเทวสังฆาราม ได้รับพระมหากรุณาธิคุณยกขึ้นเป็นพระอารามหลวง ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๕ และวัดได้ขอพระราชทานชื่อพระประธานว่า "พระพุทธสุทธิมงคล"
ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็น พระเทพมงคลรังษี
ปี พ.ศ. ๒๕๐๘ สร้างอาคารเรียนโรงเรียนวัดเทวสังฆาราม และสร้างฌาปนกิจสถานทรงไทย มีสามมุข และสร้างศาลาทรงไทย ๑ หลัง
หลวงปู่ดี ปกครองวัดเรื่อยมาจนถึงแก่มรณะภาพลงด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๐ ประมาณ ๒๓.๐๐ น. นับรวมสิริอายุได้ ๙๔ ปี ๑๔๑ วัน ๗๓ พรรษา.
วัตถุมงคลของหลวงปู่ดี วัดเหนือ
พระท่ากระดานหลังยันต์นะ หลวงปู่ดี วัดเทวสังฆาราม(วัดเหนือ)
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ โดยใช้เนื้อชินตะกั่วของพระท่ากระดาน และชิ้นส่วนพระกรุแตกหักของวัดเหนือ มาเป็นส่วนผสมโดยคัดแยกเอาเฉพาะเนื้อชินแข็ง มาทำการจัดสร้าง เพื่อแจกในงานกฐินคณะราษฎร พระพิมพ์นี้เป็นที่แสวงหากันมาก เพราะพระท่ากระดานนั้นมีชื่อในทางด้านแคล้วคลาด จำนวนการสร้างประมาณไม่เกิน ๕๐๐ องค์ ด้วยเนื้อโลหะมีจำกัด
พระท่ากระดานหลังยันต์นะ หลวงปู่ดี วัดเทวสังฆาราม(วัดเหนือ) ปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ของคุณเกมส์ |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระพุทธรูปประทับนั่งมารวิชัย ศิลปแบบเดียวกับพระท่ากระดานทั่วไป
พระอู่ทองหลังลิ่ม หลวงปู่ดี วัดเทวสังฆาราม(วัดเหนือ)
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ พร้อมกับพระท่านกระดานหลังยันต์นะ โดยใช้เนื้อชินตะกั่วของพระท่ากระดาน และชิ้นส่วนพระกรุแตกหักของวัดเหนือ มาเป็นส่วนผสมโดยคัดแยกเอาเฉพาะส่วนที่เป็นตะกั่วนม หรือชินนิ่ม มาทำการจัดสร้าง เพื่อแจกในงานกฐินคณะราษฎร พระพิมพ์นี้เป็นอีกหนึ่งพิมพ์ที่แสวงหากันมาก เพราะพระท่ากระดานนั้นมีชื่อในทางด้านแคล้วคลาด จำนวนการสร้างประมาณไม่เกิน ๕๐๐ องค์ ด้วยเนื้อโลหะมีจำกัด
พระอู่ทองหลังลิ่ม หลวงปู่ดี วัดเทวสังฆาราม(วัดเหนือ) ปี พ.ศ. ๒๔๘๑ |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิ ศิลปแบบเดียวกับพระอู่ทองทั่วไป
เหรียญพระพุทธชินราช หลวงปู่ดี วัดเทวสังฆาราม(วัดเหนือ)
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ลักษณะเป็นเหรียญทรงเสมา เพื่อแจกในงานกฐินคณะราษฎรฯ มีการจัดสร้างด้วยเนื้อเงิน เนื้อทองแดง และเนื้อทองแดงกระไหล่ทอง มีพุทธคุณโดเด่นในทางด้านแคล้วคลาด จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
เหรียญพระพทุธชินราช หลวงปู่ดี วัดเทวสังฆาราม(วัดเหนือ) ปี พ.ศ. ๒๔๘๑ เนื้อเงิน |
เหรียญพระพทุธชินราช หลวงปู่ดี วัดเทวสังฆาราม(วัดเหนือ) ปี พ.ศ. ๒๔๘๑ เนื้อทองแดงกระไหล่ทอง |
ด้านหน้า เป็นรูปพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับนั่งบนฐานบัว ๒ ชั้นด้านบนมีซุ้มกนก โดยองค์พระจำลองพระประธานในโบสถ์นี้ได้ชื่อว่า "พระพุทธสุทธิมงคล" ซึ่งจำลองมาจากองค์พระพุทธชินราชอีกต่อหนึ่ง
พระลืออุดกริ่ง หลวงปู่ดี วัดเทวสังฆาราม(วัดเหนือ)
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ โดยใช้เนื้อผงใบลานผสมดินแตกหักจากการเปิดกรุของวัดเหนือ มาเป็นส่วนผสม เพื่อแจกในงานกฐินคณะราษฎร พระพิมพ์นี้เป็นพิมพ์ที่หายาก เด่นในทางด้านแคล้วคลาด จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
พระลืออุดกริ่ง หลวงปู่ดี วัดเทวสังฆาราม(วัดเหนือ) ปี พ.ศ. ๒๔๘๑ |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิ ศิลปแบบเดียวกับพระลือของภาคเหนือ
พระกริ่งพุทธโชติ หลวงปู่ดี วัดเทวสังฆาราม(เหนือ)
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ครั้งนั้นพระยาพหลพลพยุหเสนา ศิษย์ใกล้ชิดได้ขออนุญาตสร้างวัตถุมงคลขึ้นเพื่อแจกจ่ายให้กับทหารที่ไปราชการสงคราม รวมถึงประชาชนทั่วไป มีการสร้างด้วยเนื้อทองผสมกลับแดง และเนื้อทองแดง(สัมฤทธิ์) แต่เนื้อทองแดงอุดกริ่งแบบเจาะสะโพก นอกจากนี้ยังมี เนื้อดินเผา(ละเอียด) มีปีกหลังอูม พุทธคุณเด่นทางด้าน แคล้วคลาดคงกระพันชาตรี เมตตามหานิยม โชคลาภ
พระกริ่งพุทธโชติ หลวงปู่ดี วัดเทวสังฆาราม(วัดเหนือ) เนื้อทองผสม ปี พ.ศ. ๒๔๘๔ |
พระกริ่งพุทธโชติ หลวงปู่ดี วัดเทวสังฆาราม(วัดเหนือ) เนื้อทองแดง ปี พ.ศ. ๒๔๘๔ |
พระกริ่งพุทธโชติ หลวงปู่ดี วัดเทวสังฆาราม(วัดเหนือ) เนื้อดิน ปี พ.ศ. ๒๔๘๔ |
ด้านหน้า เป็นพระกริ่งศิลปะแบบกริ่งเขมร ฐานบัวฟันปลา ๓ คู่ พระหัตถ์ซ้ายอุ้มบาตร พระหัตถ์ขวาถือดอกบัว
พระท่ากระดานอินโดจีน หลวงปู่ดี วัดเทวสังฆาราม(วัดเหนือ)
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ สร้างขึ้น ๒ บล็อกด้วยกันคือ ๑.บล็อกหน้าหนุ่มเอวแตก ๒.บล็อกหน้าแก่คอแตก พระพิมพ์นี้ของท่าน มีแค่เนื้อนวะเพียงเนื้อเดียวเท่านั้น ส่วนที่เป็นเนื้อทองแดง จะเป็นพระที่ลูกศิษย์ท่านสร้างขึ้นในยุคหลังไม่ทันท่าน จัดสร้างพร้อมพระท่ากระดาน หลังยันต์นะ เพื่อแจกนายทหารทั้งหมด ของจังหวัดกาญจนบุรี ที่ไปร่วมสงครามอินโดจีน ทุกคนที่ได้รับท่ากระดานไป ต่างกลับมาอย่างปลอดภัยและมีประสบการณ์มากมาย
พระท่ากระดานอินโดจีน หลวงปู่ดี วัดเทวสังฆาราม(วัดเหนือ) ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระพุทธรูปประทับนั่งมารวิชัย ศิลปแบบเดียวกับพระท่ากระดานทั่วไป
พระชินราชหลังยันต์นะ หลวงปู่ดี วัดเทวสังฆาราม(วัดเหนือ)
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ โดยพระชินราชของหลวงปู่ดี จะมีความคล้ายกับพระพุทธชินราชครึ่งซีกของวัดสุทัศน์ โดยใช้วิธีการหล่อโบราณ มีการสร้างด้วยเนื้อโลหะ ๒ ชนิดคือ เนื้อทองเหลือง และเนื้อทองแดง
พระพุทธชินราช หลังยันต์นะ หลวงปู่ดี วัดเทวสังฆาราม(วัดเหนือ) ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ |
ด้านหน้า เป็นรูปพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับนั่งในซุ้มกนก โดยองค์พระจำลองพระประธานในโบสถ์นี้ได้ชื่อว่า "พระพุทธสุทธิมงคล" ซึ่งจำลองมาจากองค์พระพุทธชินราชอีกต่อหนึ่ง
พระปิดตาหัวบานเย็น หลวงปู่ดี วัดเทวสังฆาราม(วัดเหนือ)
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ เพื่อแจกจ่ายให้แก่ชาวบ้านให้พื้นที่วัดเหนือ ลักษณะเป็นแบบพระปิดตาหัวบานเย็นของหลวงปู่เอี่ยม วัดหนังแต่องค์พระจะมีขอบข้าง ทำให้พระดูกลม เนื้อพระมีสีออกขาว จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
พระปิดตาหัวบานเย็น หลวงปู่ดี วัดเทวสังฆาราม(วัดเหนือ) ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระปิดตาคล้ายพิมพ์หัวบานเย็นของหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง แต่มีขอบข้างหรือปีกจากพิมพ์พระยื่นออกมา
พระขุนแผนพิมพ์ใหญ่ หลวงปู่ดี วัดเทวสังฆาราม(วัดเหนือ)
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ เพื่อแจกจ่ายให้แก่ชาวบ้านให้พื้นที่วัดเหนือและระแวกใกล้เคียง ลักษณะเป็นพระเนื้อดินเผา โดยพระเนื้อดินของท่านสร้างขึ้นจากดินอิฐดำพระเจดีย์เก่า ที่เปิดกรุพระท่ากระดาน วัดเทวสังฆาราม เนื้อพระมีสีออกดำ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
พระขุนแผน พิมพ์ใหญ่ หลวงปู่ดี วัดเทวสังฆาราม(วัดเหนือ) ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับในซุ้มเรือนแก้ว
พระขุนแผนพิมพ์กลาง หลวงปู่ดี วัดเทวสังฆาราม(วัดเหนือ)
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ เพื่อแจกจ่ายให้แก่ชาวบ้านให้พื้นที่วัดเหนือและระแวกใกล้เคียง บางคนจะเรียกพระพิมพ์นี้ว่าพระโคนสมอ ลักษณะเป็นพระเนื้อดินเผาโดยพระเนื้อดินของท่านสร้างขึ้นจากดินอิฐแดงพระเจดีย์เก่า ที่เปิดกรุพระท่ากระดาน วัดเทวสังฆาราม เนื้อพระละเอียดมีสีออกแดง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
พระขุนแผน พิมพ์กลาง หลวงปู่ดี วัดเทวสังฆาราม(วัดเหนือ) ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับนั่งในซุ้มเรือนแก้ว มีผ้าทิพย์
พระขุนแผนพิมพ์เล็ก หลวงปู่ดี วัดเทวสังฆาราม(วัดเหนือ)
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ เพื่อแจกจ่ายให้แก่ชาวบ้านให้พื้นที่วัดเหนือและระแวกใกล้เคียง ลักษณะเป็นพระเนื้อดินเผาพิมพ์ห้าเหลี่ยม โดยพระเนื้อดินของท่านสร้างขึ้นจากดินอิฐแดงพระเจดีย์เก่า ที่เปิดกรุพระท่ากระดาน วัดเทวสังฆาราม เนื้อพระละเอียดมีสีออกแดง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
พระขุนแผน พิมพ์เล็ก หลวงปู่ดี วัดเทวสังฆาราม(วัดเหนือ) ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับนั่งในซุ้มเรือนแก้ว
พระพุทธชินราช หลวงปู่ดี วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ)
สร้างในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ ลักษณะเป็นพระพิมพ์กลีบบัว เนื้อดินแดง โดยพระเนื้อดินของท่านสร้างขึ้นจากดินอิฐแดงพระเจดีย์เก่า ที่เปิดกรุพระท่ากระดาน วัดเทวสังฆาราม แล้วท่านนำดินอิฐพระเจดีย์ที่แตกหักนำมาบด แล้วนำมากดพิมพ์
พระพุทะชินราช หลวงปู่ดี วัดเทวสังฆาราม(วัดเหนือ) ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับนั่งในซุ้มกนก แบบพระพุทธชินราช
พระคง หลวงปู่ดี วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ)
สร้างในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ ลักษณะคล้ายกับพระคงทั่วไป องค์พระสร้างด้วยเนื้อดินผสมผงใบลาน โดยพระเนื้อดินของท่านสร้างขึ้นจากดินอิฐแดงพระเจดีย์เก่า ที่เปิดกรุพระท่ากระดาน วัดเทวสังฆาราม แล้วท่านนำดินอิฐพระเจดีย์ที่แตกหักนำมาบดผสมกับผงใบลาน แล้วนำมากดพิมพ์
พระคง หลวงปู่ดี วัดเทวสังฆาราม(วัดเหนือ) ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับนั่งบนฐานบัว ๒ ชั้น
พระกลีบบัว หลวงปู่ดี วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ)
สร้างในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ ลักษณะคล้ายกับพระกลีบบัวทั่วไป องค์พระสร้างด้วยเนื้อดินผสมผงใบลาน ท่านนำดินอิฐแดงพระเจดีย์เก่า ที่เปิดกรุพระท่ากระดาน วัดเทวสังฆาราม แล้วท่านนำดินอิฐพระเจดีย์ที่แตกหักนำมาบดผสมกับผงใบลาน แล้วนำมากดพิมพ์
พระกลีบบัว หลวงปู่ดี วัดเทวสังฆาราม(วัดเหนือ) ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับนั่งบนฐานบัว ๒ ชั้น
พระกริ่งปทุมสุริยวงศ์ (บัวรอบ) หลวงพ่อดี วัดเหนือ
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๑ โดยมีการเทหล่อที่วัดบวรนิเวศ จัดสร้างโดยสมเด็จพระสังฆราชชื่นจำนวนการสร้างโดยประมาณ ๒๐๐ องค์ ส่วนหนึ่งท่านนำไปใส่ไว้ในบาตรน้ำมนต์ อีกส่วนหนึ่งท่านได้มอบให้แก่หลวงปู่ดี วัดเหนือ หลวงปู่จึงนำมาแจกลูกศิษย์ใกล้ชิด ชาวบ้านจึงนิยมเรียกกันว่ากริ่งบัวรอบวัดเหนือ
กริ่งปทุมสุริยวงศ์ (บัวรอบ) หลวงปู่ดี วัดเทวสังฆาราม(วัดเหนือ) ปี พ.ศ. ๒๔๙๑ |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปกริ่งอวโลกิเตศวร ประทับนั่งบนฐานบัว ๒ ชั้น
เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่ดี วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ)
สร้างในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ เหรียญนี้จัดสร้างโดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ฯ วัดบวรนิเวศวิหาร (หลวงปู่ดีท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ของสมเด็จพระสังฆราชฯ) โดยสร้างเป็นที่ระลึกเนื่องใน ๒ วาระ คือในวาระที่หลวงปู่ดีท่านได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นชั้นเทพ ที่พระเทพมงคลรังษี เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๗ และอีกวาระหนึ่งคือฉลองอายุครบ ๙๑ ปี ของหลวงปู่ดี ในวันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๘ สำหรับเหรียญนี้เป็นเหรียญรุ่นแรกของหลวงปู่ดี จัดทำที่กองกษาปณ์ เป็นเหรียญรูปอาร์ม สร้างด้วยเนื้ออัลปาก้า เพียงเนื้อเดียว
เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่ดี วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ) ปี พ.ศ. ๒๕๐๘ เนื้ออัลปาก้า |
ด้านหน้า จำลองรูปหลวงปู่ดีครึ่งองค์ ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ด้านล่างมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระเทพมงคลรังษี วัดเทวสังฆาราม"
พระบูชารูปเหมือนหลวงปู่ดี วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ) รุ่นแรก
สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๐ หลังจากที่หลวงปู่ดีได้มรณภาพลงแล้ว โดยให้การหล่อโบราณ ด้วยโลหะทองเหลือง มีการจัดสร้างดัวยกัน ๒ ขนาดคือ ขนาดหน้าตัก ๕ นิ้ว และขนาดหน้าตัก ๓ นิ้ว
พระบูชารูปเหมือนหลวงปู่ดี วัดเทวสังฆาราม(วัดเหนือ) รุ่นแรก ๕ นิ้ว ปี พ.ศ. ๒๕๑๐ |
|
ด้านหน้า จำลองรูปหลวงปู่ดีนั่งสมาธิเต็มองค์ ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏินั่งบนฐานเขียง ด้านล่างมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระเทพมงคลรังษี (ดี พุทธโชติเถร)"
ด้านหลัง มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "๒๔๑๖ - ๒๕๑๐"
พระบูชากฐินต้น วัดเทวสังฆาราม
สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชทานดำเนิน มาถวายผ้าพระกฐินต้น แก่คณะสงฆ์วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ) และพร้อมกันนี้ทางวัดก็ได้ขอพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญ พระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. มาจารึกไว้เหนือผ้าทิพย์ ของพระพุทธรูปปางประทานพร ที่จะจัดสร้างไว้ให้ประชาชนผู้มีจิตศรัทธา เช่าหาไปบูชา เพื่อนำรายได้มาบำรุงวัด
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เสด็จเททอง ณ วัดเทวสังฆาราม |
ซึ่งในครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ได้พระราชทานแผ่น ทอง เงิน และนาก ลงในเบ้าหลอมพระพุทธรูปทุกเบ้าอีกด้วย โดยใช้วิธีหล่อโบราณ และใช้แบบพระพุทธรูปฉลองเจ็ดสิบสองปี ศิริราชเป็นต้นแบบ ช่างที่ทำการปั้นแบบคือนายโต ขำเดช เป็นผู้ปั้น และดำเนินการปั้นหล่อที่ช่างฟุ้ง อ้นเจริญ ทีเดียวกันกับที่ปั้นหล่อพระพุทธรูปเจ็ดสิบสองปี ศิริราช โดยในการจัดสร้างครั้งนี้มีการจัดสร้างพระบูชาด้วยกัน ๒ ขนาดคือ ขนาดหน้าตัก ๙ นิ้ว และขนาด ๕ นิ้ว
พระบูชากฐินต้น วัดเทวสังฆาราม ขนาด ๙ นิ้ว ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ |
พระบูชากฐินต้น วัดเทวสังฆาราม ขนาด ๙ นิ้ว ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ |
โดยพิมพ์ขนาด ๙ นิ้ว นั้นจะสามารถถอดพระออกจากกันได้ระหว่างองค์พระกับฐาน และจะมีการตอกหมายเลข ลำดับองค์พระ และมีการตอกโค้ดช้างสามเศียร กำกับไว้อีกครั้งหนึ่งด้วย ใต้ฐานพระจะมีดินไทยทุกองค์ ส่วนพระบูชาขนาด ๕ นิ้ว นั้นจะเป็นการหล่อชิ้นเดียวไม่สามารถถอดออกจากกันได้ โดยพระทุกองค์จะมีการตอกโต้ดช้างสามเศียร แต่จะไม่มีการตอกเลข
พระบูชากฐินต้น วัดเทวสังฆาราม ขนาด ๕ นิ้ว ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ |
ด้านหน้า จำลองรูปพระพุทธรูปปางประทานพร ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ นั่งบนฐานชุกชี มีพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. มาจารึกไว้เหนือผ้าทิพย์
สร้างในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ เพื่อเป็นเหรียญที่ระลึกเนื่องในพระราชวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ทรงเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน และเททองหล่อพระพุทธรูปบูชา ภปร. ที่วัดเทวสังฆาราม หรือวัดเหนือ เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๖ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จมายัง จังหวัดกาญจนบุรี โดยให้กองกษาปณ์จัดทำเหรียญรุ่นนี้ขึ้นเป็นรูปทรงกลม แบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้ออัลปาก้า และเนื้อทองเหลือง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
เหรียญกฐินต้น วัดเทวสังฆาราม ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ เนื้องทองเหลืองกระไหล่ทอง |
เหรียญกฐินต้น วัดเทวสังฆาราม ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ เนื้องอัลปาก้ากระไหล่เงิน |
ด้านหลัง เป็นรูปช้างสามเศียรอยู่ตรงกลางและด้านข้างเป็นเทวดา ๒ ตน มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ในการเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ๒๖ ตุลาคม ๒๕๐๖"
ข้อมูล : หนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระเทพมงคลรังษี ๗ เมษายน ๒๕๑๑
โดย : สารานุกรมพระเครื่องลุ่มน้ำแม่กลอง
บทความที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น