ประวัติและวัตถุมงคลหลวงปู่กรับ วัดโกรกกราก ตำนานหลวงพ่อปู่วัดโกรกกรากพระใส่แว่นของไทย
![]() |
หลวงปู่กรับ วัดโกรกกราก สมุทรสาคร |
หลวงปู่กรับ วัดโกรกกราก หรือ พระครูธรรมสาคร ญาณวัฑฒโน เจ้าอาวาสรูปที่ ๕ ของวัดโกรกกราก ตำบลโกรกกราก อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ท่านเป็นพระเกจิผู้ทรงวิทยาอาคม และเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวมหาชัย นอกจากนี้ภายในวัดมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ก็คือ "หลวงพ่อปู่" ซึ่งประดิษฐานเป็นมิ่งขวัญของชาวลุ่มน้ำมหาชัยและใกล้เคียงมาอย่างยาวนาน ซึ่งมีเอกลักษณ์เด่นเป็นที่กล่าวขวัญด้วยการสวมแว่นตาดำ
หลวงปู่กรับ ท่านมีนามเดิมว่า "กรับ" นามสกุล "เจริญสุข" เกิดเมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๖ ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๒ ปีมะเส็ง จุลศักราช ๑๒๕๕ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ที่บ้านบางปิ้ง ตำบลนาดี อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร เป็นบุตรของนายไข่ นางลอย ไข่ม่วง มีพี่น้องต่างมารดา ๒ คน ร่วมมารดาเดียวกัน ๑๑ คน
![]() |
หลวงปู่กรับ วัดโกรกกราก สมุทรสาคร และพระภิกษุของทางวัด |
เมื่ออายุครบบวชได้บรรพชาอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดราษฎร์รังสรรค์ ตำบลคอกกระบือ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ตรงกับวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ ได้รับฉายาว่า "ญาณวัฑฒโน" โดยมี
พระครูสมุทรคุณากร วัดตึกมหาชยาราม เป็นพระอุปัชฌาย์
พระอธิการโต วัดโกรกกราก เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระอธิการชิด วัดราษฎร์รังสรรค์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ครั้นอุปสมบทแล้วได้จำพรรษาศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยอยู่ที่วัดราษฎร์รังสรรค์ จนมีความรู้ความสามารถพอที่จะรักษาตัวได้ จึงย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดโกรกกราก เพื่อศึกษาวิทยาคมจากพระอธิการโต เจ้าอาวาสวัดโกรกกรากจนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๔๖๓ พระอธิการโต เจ้าอาวาสวัดโกรกกรากได้มรณภพาลง ชาวบ้านและทางคณะสงฆ์ มีความเห็นตรงกันให้หลวงปู่กรับ ซึ่งขณะนั้นอุปสมบทได้ ๗ พรรษา ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดโกรกกราก สืบแทน
เมื่อดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสแล้ว ท่านได้ริเริ่มพัฒนาวัดให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง ทั้งในด้านถา่วรวัตถุต่างๆ ภายในวัด และอบรมสั่งสอนชาวบ้านให้ละเว้นจากบาปทำความดี
![]() |
หลวงปู่กรับ วัดโกรกกราก สมุทรสาคร |
ในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ หลวงปู่กรับ ซึ่งขณะนั้นอุปสมบทได้ ๒๙ พรรษา ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลมหาชัย เขต ๒
ในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ หลังจากที่หลวงปู่กรับ อุปสมบทได้ ๕๗ พรรษาท่านได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูชั้นเอกในราชทินนาม "พระครูธรรมสาคร"
หลวงปู่กรับ วัดโกรกกราก ท่านได้ประกอบคุณงามความดีและพัฒนาวัดโกรกกรากให้เจริญรุ่งเรืองเรื่อยมาจนท่านชราภาพ และมรณะภาพด้วยโรคชรา เมื่อวันเสาร์ที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๗ นับรวมสิริอายุได้ ๘๑ ปี ๖๑ พรรษา
ปัจจุบันนี้ทางวัดได้หล่อรูปเหมือนของหลวงปู่กรับ ไว้ให้ลูกศิษย์และผู้เลื่อมใสศรัทธาได้กราบไหว้สักการะ โดยมีผู้นำแผ่นทองมาปิดองค์ท่านจนเหลืองอร่าม และนำแว่นตามาถวายท่านเช่นเดียวกับหลวงพ่อปู่ โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องตา มีความเชื่อว่าจะช่วยให้ดีขึ้นด้วยบารมีของท่านทั้งสอง.
วัตถุมงคลของหลวงปู่กรับ วัดโกรกกราก
เหรียญหลวงพ่อปู่วัดโกรกกราก รุ่นแรก
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ ลักษณะเป็นเหรียญทรงเสมาแบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยกัน ๒ เนื้อคือ เนื้อเงิน และเนื้อทองแดงกะไหล่ทอง จัดเป็นพระที่หายากเนื่องด้วยจำนวนการสร้างที่น้อยมาก จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
![]() |
เหรียญหลวงพ่อปู่ วัดโกรกกราก รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๐๒ เนื้อเงิน |
![]() |
เหรียญหลวงพ่อปู่ วัดโกรกกราก รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๐๒ เนื้อทองแดงกระไหล่ทอง |
ด้านหน้า จำลองรูปพระประธานในพระอุโบสถวัดโกรกรกราก หรือหลวงพ่อปู่วัดโกรกกราก ประดิษฐานบนฐานบัว ด้านล่างมีเลขไทย "๒๕๐๒" บอกปีที่สร้าง
ด้านหลัง มีอักขระยันต์เฑาะห์ ใต้ยันต์มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อปู่วัดโกรกกราก"
เหรียญรูปไข่หลวงปู่กรับ วัดโกรกกราก รุ่นแรก
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่มีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองคำ เนื้อเงิน และเนื้องทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
![]() |
เหรียญรูปไข่หลวงปู่กรับ วัดโกรกกราก ปี พ.ศ. ๒๕๑๐ เนื้อเงิน |
![]() |
เหรียญรูปไข่หลวงปู่กรับ วัดโกรกกราก ปี พ.ศ. ๒๕๑๐ เนื้อทองแดง |
ด้านหน้า จำลองรูปหลวงปู่กรับครึ่งองค์ ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฎิ ด้านบนมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูธรรมสาคร (กรับ) ญาณวฑฺฒโน"
ด้านหลัง มีอักขระยันต์เฑาะห์ ใต้ยันต์มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "วัดโกรกกราก ๓๑ ม.ค. ๒๕๑๐"
เหรียญกลมหลวงปู่กรับ วัดโกรกกราก รุ่นแรก
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ลักษณะเป็นเหรียญทรงกลมมีหูในตัว
มีการสร้างด้วยเนื้ออัลปาก้า
จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
![]() |
เหรียญกลมหลวงปู่กรับ วัดโกรกกราก ปี พ.ศ. ๒๕๑๐ เนื้ออัลปาก้า |
ด้านหน้า จำลองรูปหลวงปู่กรับครึ่งองค์ ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฎิ ด้านบนมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูธรรมสาคร วัดโกรกกราก"
ด้านหลัง มีอักขระยันต์เฑาะห์ ใต้ยันต์มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "๓๑ ม.ค. ๒๕๑๐"
เหรียญหลวงพ่อปู่วัดโกรกกราก รุ่นสอง พิมพ์ใหญ่
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ลักษณะเป็นเหรียญทรงเสมาแบบมีหูในตัว
มีการสร้างด้วยกัน ๓ เนื้อคือ เนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อตะกั่ว และเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
![]() |
เหรียญหลวงพ่อปู่ วัดโกรกกราก รุ่น ๒ ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ พิมพ์ใหญ่ เนื้อเงิน |
![]() |
เหรียญหลวงพ่อปู่ วัดโกรกกราก รุ่น ๒ ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ พิมพ์ใหญ่ เนื้อทองแดง |
![]() |
เหรียญหลวงพ่อปู่ วัดโกรกกราก รุ่น ๒ ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ พิมพ์ใหญ่ เนื้อโลหะเคลือบ |
ด้านหน้า จำลองรูปพระประธานในพระอุโบสถวัดโกรกรกราก หรือหลวงพ่อปู่วัดโกรกกราก ประดิษฐานบนฐานบัว ด้านล่างมีเลขไทย "๒๕๑๔" บอกปีที่สร้าง
ด้านหลัง มีอักขระยันต์เฑาะห์ ใต้ยันต์มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อปู่วัดโกรกกราก"
เหรียญหลวงพ่อปู่วัดโกรกกราก รุ่นสอง พิมพ์เล็ก
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ลักษณะเป็นเหรียญทรงเสมาแบบมีหูในตัว
มีการสร้างด้วยกัน ๓ เนื้อคือ เนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อตะกั่ว และเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
![]() |
เหรียญหลวงพ่อปู่ วัดโกรกกราก รุ่น ๒ ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ พิมพ์เล็ก เนื้อเงิน |
![]() |
เหรียญหลวงพ่อปู่ วัดโกรกกราก รุ่น ๒ ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ พิมพ์เล็ก เนื้อทองแดง |
![]() |
เหรียญหลวงพ่อปู่ วัดโกรกกราก รุ่น ๒ ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ พิมพ์เล็ก เนื้อโลหะเคลือบ |
ด้านหน้า จำลองรูปพระประธานในพระอุโบสถวัดโกรกรกราก หรือหลวงพ่อปู่วัดโกรกกราก ประดิษฐานบนฐานบัว ด้านล่างมีเลขไทย "๒๕๑๔" บอกปีที่สร้าง
ด้านหลัง มีอักขระยันต์เฑาะห์ ใต้ยันต์มีเลข "๒" และอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อปู่วัดโกรกกราก"
เหรียญหลวงปู่กรับ พิมพ์อาร์มเล็ก
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ลักษณะเป็นเหรียญรูปอาร์มขนาดเล็กมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้ออัลปาก้า จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้ แต่น่าจะมีจำนวนมาก เพราะพบเจอได้ง่าย นอกจากนี้น่าจะมีการปั๊มออกมาหลายวาระด้วยกัน โดยยุคแรกองค์พระจะมีความคมชัดกว่ายุคหลังๆ
![]() |
เหรียญเสมาเล็ก หลวงปู่กรับ วัดโกรกกราก ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ เนื้ออัลปาก้า |
ด้านหน้า จำลองรูปหลวงปู่กรับครึ่งองค์หันข้าง ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฎิ ด้านบนมีอักขระยันต์เขียนว่า "พุทโธ"
ด้านหลัง มีอักขระยันต์เฑาะห์ ใต้ยันต์มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "วัดโกรกกราก พระครูธรรมาสาคร"
เหรียญหันข้าง หลวงปู่กรับ พิมพ์เสมา
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ลักษณะเป็นเหรียญทรงเสมามีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
![]() |
เหรียญเสมาหันข้าง หลวงปู่กรับ วัดโกรกกราก ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ เนื้อทองแดง |
ด้านหน้า จำลองรูปหลวงปู่กรับครึ่งองค์หันข้าง ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฎิ ด้านล่างมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงปู่กรับ"
ด้านหลัง มีอักขระยันต์เฑาะห์ ใต้ยันต์มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูธรรมาสาคร วัดโกรกกราก ๗ ม.ค. ๒๕๑๕"
เหรียญหันข้าง หลวงปู่กรับ พิมพ์รูปไข่
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่มีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
![]() |
เหรียญรูปไข่หันข้าง หลวงปู่กรับ วัดโกรกกราก ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ เนื้อทองแดง |
ด้านหน้า จำลองรูปหลวงปู่กรับครึ่งองค์หันข้าง ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฎิ ด้านล่างมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงปู่กรับ"
ด้านหลัง มีอักขระยันต์เฑาะห์ ใต้ยันต์มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูธรรมาสาคร วัดโกรกกราก ๒๕๑๕"
พระสมเด็จรุ่นวัวชน หลวงพ่อกรับ วัดโกรกกราก
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ลักษณะเหมือนพนะสมเด็จทั่วไป เนื้อหามวลสารออกสีขาวอมน้ำตาล ซึ่งเป็นผงที่หลวงปู่กรับ ท่นทำขึ้นเอง วัตถุประสงค์เพื่อแจกจ่ายให้กับลูกศิษย์ลูกหาของหลวงปู่ โดยผู้ที่นำไปใช้เกิดโดยวัวหวิดเข้าอย่างจังตัวลอยกระเด็นไปหลายเมตร แต่ไม่เป็นอะไร จึงเป็นที่มาของชื่อรุ่น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้ แต่คาดว่าน่าจะมีการสร้างน้อยมาก เนื่องจากหลวงปู่ลงมือทำพระด้วยตัวเองและพบเห็นหมุนเวียนในวงการน้อยมาก
![]() |
สมเด็จวัวชน หลวงปู่กรับ วัดโกรกกราก ปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ของคุณช่างคต |
ด้านหน้า จำลองรูปพระแบบพระสมเด็จ ฐานสามชั้น แบบทั่วไป
ด้านหลัง เรียบไม่มีอักขระยันต์ใดๆ
พระสมเด็จหลวงพ่อปู่วัดโกรกกราก
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ลักษณะเหมือนพระสมเด็จทั่วไป วรรณะเนื้อขององค์พระออกเหลืองในองค์พระมีการปิดทองสวยงาม จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
![]() |
สมเด็จหลวงพ่อปู่ วัดโกรกกราก ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ |
ด้านหน้า จำลองรูปพระประธานในพระอุโบสถวัดโกรกรกราก หรือหลวงพ่อปู่วัดโกรกกราก ประดิษฐานบนฐานบัว มีซุ้มระฆังครอบองค์พระแบบพระสมเด็จ มีการปิดทางที่เส้นซุ้มและองค์พระสวยงาม
ด้านหลัง มีอักขระยันต์เฑาะห์ ใต้ยันต์มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อปู่วัดโกรกกราก สมุทรสาคร ๒๕๑๕"
พระสมเด็จเสาชิงช้าหลวงพ่อปู่วัดโกรกกราก
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ลักษณะเหมือนพระสมเด็จทั่วไป
วรรณะเนื้อขององค์พระออกขาวในองค์พระมีการปิดทองสวยงาม
จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
![]() |
สมเด็จเสาชิงช้าหลวงพ่อปู่ วัดโกรกกราก ปี พ.ศ. ๒๕๑๖ |
ด้านหน้า จำลองรูปพระประธานในพระอุโบสถวัดโกรกรกราก หรือหลวงพ่อปู่วัดโกรกกราก ประดิษฐานบนฐานบัว มีซุ้มสี่เหลี่ยมครอบองค์พระไว้ มีการปิดทางที่เส้นซุ้มและองค์พระสวยงาม
ด้านหลัง มีอักขระยันต์เฑาะห์ ใต้ยันต์มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อปู่วัดโกรกกราก สมุทรสาคร ๒๕๑๖"
พระบูชาหลวงพ่อปู่ วัดโกรกกราก รุ่นแรก
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๑๔ เพื่อออกให้พุทธศาสนิกชนได้เช่าบูชา มีการจัดสร้างด้วยเนื้อโลหะทองเหลืองรมดำ สามารถจำแนกออกเป็น ๒ ขนาดคือ ขนาด ๕ นิ้ว และขนาด ๙ นิ้ว(มีแว่น) จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
![]() |
พระบูชาหลวงพ่อปู่ วัดโกรกกราก รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ขนาด ๙ นิ้ว ของร้านตี๋เล็กวิศวะ2 |
![]() |
พระบูชาหลวงพ่อปู่ วัดโกรกกราก รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ขนาด ๕ นิ้ว |
![]() |
พระบูชาหลวงพ่อปู่ วัดโกรกกราก รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ขนาด ๕ นิ้ว |
ด้านหน้า จำลองรูปพระประธานในพระอุโบสถวัดโกรกรกราก หรือหลวงพ่อปู่วัดโกรกกราก ประดิษฐานบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย มีการใช้ตัวตอกอักขระภาษาไทย อ่านได้ว่า "หลวงพ่อปู่ วัดโกรกกราก ๒๕๑๔"
ด้านหลัง ไม่มีอักขระใดๆ
ด้านใต้ฐาน มีการหล่อด้วยดินไทย แล้วทำการปิดทำด้วยปูนปลาสเตอร์และประทับตราวัด อ่านได้วา "วัดโกรกกราก อ.เมือง จ.สมุทรสาคร"
พระบูชาหลวงพ่อปู่ วัดโกรกกราก รุ่นสอง
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๑๕ เพื่อออกให้พุทธศาสนิกชนได้เช่าบูชา
มีการจัดสร้างด้วยเนื้อโลหะทองเหลืองรมดำ สามารถจำแนกออกเป็น ๓ ขนาดคือ
ขนาด ๕ นิ้ว ๗ นิ้ว และขนาด ๙ นิ้ว จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
![]() |
พระบูชาหลวงพ่อปู่ วัดโกรกกราก รุ่น ๒ ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ขนาด ๕ นิ้ว |
![]() |
พระบูชาหลวงพ่อปู่ วัดโกรกกราก รุ่น ๒ ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ขนาด ๕ นิ้ว |
ด้านหน้า จำลองรูปพระประธานในพระอุโบสถวัดโกรกรกราก หรือหลวงพ่อปู่วัดโกรกกราก ประดิษฐานบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย มีการใช้ตัวตอกอักขระภาษาไทย อ่านได้ว่า "หลวงพ่อปู่ วัดโกรกกราก ๒๕๑๕"
ด้านหลัง ไม่มีอักขระใดๆ
ด้านใต้ฐาน มีการหล่อด้วยดินไทย แล้วทำการปิดทำด้วยปูนปลาสเตอร์และประทับตราวัด อ่านได้วา "วัดโกรกกราก อ.เมือง จ.สมุทรสาคร"
“หลวงพ่อปู่” เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์อยู่ในอุโบสถวัดโกรกกราก เคยประดิษฐานอยู่ที่วัดช่องสะเดา ซึ่งเป็นวัดร้างเก่าแก่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน ดังนั้นชาวรามัญบ้านกำพร้า จึงได้อัญเชิญมาทางเรือสององค์ องค์หนึ่งเป็นพระเนื้อสำริด อีกองค์หนึ่งเป็นพระเนื้อศิลาแลง ล่องเรือมาตามแม่น้ำท่าจีน
พอเรือใกล้ถึงหน้าวัดโกรกกราก ได้เกิดลมพายุฝนตกหนักจนไม่สามารถล่องเรือต่อไปไม่ได้ จึงนำเรือมาจอดหลบลมฝนริมคลองข้างวัด พอจอดเรือเรียบร้อยก็ช่วยกันยกพระศิลาแลงขึ้นมาบนฝั่งเพื่อไม่ให้ถูกน้ำฝนเซาะ
![]() |
หลวงพ่อปู่ วัดโกรกกราก สมุทรสาคร |
เมื่อลมฝนสงบลงแล้ว จึงยกพระศิลาแลงลงเรือ เพื่อจะล่องต่อไป แต่ปรากฏว่ายกไม่ขึ้น ทำอย่างไรก็ยกไม่ขึ้น จนหนึ่งในจำนวนชาวรามัญบ้านกำพร้าที่อยู่ในเหตุการณ์ ได้อธิฐานว่าถ้าพระศิลาแลงจะอยู่วัดโกรกกราก ก็ขออัญเชิญพระศิลาแลงไปประดิษฐานยังอุโบสถของวัด หลังอธิฐานเสร็จปรากฏว่ายกขึ้น นับแต่นั้นเป็นต้นมาทางวัดโกรกกราก จึงมีพระศิลาแลงเป็นพระประธานในอุโบสถตั้งแต่บัดนั้นจวบจนถึงปัจจุบัน
สิ่งที่แปลกคือองค์พระมีการใส่แว่น ทั้งแว่นดำ แว่นแฟชั่นและแว่นสายตา รวมทั้งรูปหล่อของ พระครูธรรมสาคร ญาณวฒโน หรือ หลวงปู่กรับอดีตเจ้าอาวาสวัดโกรกกราก ก็สวมแว่นตาสีดำเช่นเดียวกัน
พระครูวิสุทธิ์สิทธิคุณ หรือ หลวงพ่อมหาสัมฤทธิ์ วิสุทฺธสีโล เจ้าคณะตำบลโกรกกราก และเจ้าอาวาสวัดโกรกกราก องค์ในปัจจุบันเล่าว่า การถวายแว่นแก้บนน่าจะเกิดขึ้นเมื่อเกือบร้อยปีมาแล้ว เกิดโรคตาแดงระบาด ชาวบ้านจึงบนบานให้หายจากโรคตาแดง
ปรากฏว่าหายป่วยทั้งหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงแห่กันมาปิดทองที่ดวงตาของหลวงพ่อปู่ เพื่อแก้บนกันยกใหญ่ หลวงปู่กรับอดีตเจ้าอาวาสเกรงพระเก่าแก่จะเสียหายและขาดความสวยงาม ได้ออกอุบายนำแว่นตามาใส่แทน ชาวบ้านและผู้ศรัทธาเห็นเข้าก็ยึดถือปฏิบัติตั้งแต่นั้นมา
ปาฏิหาริย์ของหลวงพ่อปู่มีไม่น้อย ครั้งหนึ่งมีหมอผีลักลอบเจาะช่องท้องหลวงพ่อปู่ ปรากฏว่าเสียสติบ้าคลั่งและตายไป หลวงปู่กรับจึงนำทองคลุกรักอุดรอยเจาะไว้และจัดพิธีบวงสรวงสักการะ ซึ่งตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนอ้าย ดังนั้นวันนี้ของทุกปีจึงเป็นวันไหว้หลวงพ่อปู่เรียกวันนี้ว่า “วันแซยิดหลวงพ่อปู่” และทางวัดได้จัดงานและมีดนตรีและมหรสพให้ดูฟรีตลอดงานทุกปี
หลวงปู่กรับ เป็นพระที่ทรงวิทยาคมสูงจนมีผู้กล่าวขวัญกันว่า
"ถ้ามีเหรียญหลวงปู่กรับแขวนคอแล้ว จะแคล้วคลาดจากภยันอันตรายทั้งปวง
ถึงจะตกระกำลำบากอยู่ที่ใด ก็จะได้กลับบ้านอย่างปลอดภัย"
โดย : สารานุกรมพระเครื่องลุ่มน้ำแม่กลอง
บทความที่เกี่ยวข้อง
***-[เป็นกำลังใจและสนับสนุนให้เราเขียนบทความดีๆ ช่วยกดดูโฆษณาด้านล่างนะคะ]-***
ไม่มีความคิดเห็น