หลวงพ่อเชย วัดเกาะลอยเอกอุดมธาราม ตำบลคุ้งกระถิน อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ท่านจัดเป็นพระอริยสงฆ์ ผู้ซึ่งมีวิชาอาคม โดดเด่นในด้านคงกระพันมหาอุด นอกจากนี้ท่านยังเป็นพระนักพัฒนาอีกด้วย
หลวงพ่อเชย วัดเกาะลอย(แควอ้อม) ท่านมีนามเดิมว่า เชย ครุทา เกิดเมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๙ ตรงกับวันพฤหัสบดี ๑๕ ค่ำ เดือน ๕ ณ พื้นที่บ้านหนองเกศร ตำบลเกาะศาลพระ อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี โยมบิดาชื่อนายพ่วง ครุทา โยมมารดาชื่อนางหนู ครุทา มีพี่น้องร่วมกัน ๓ คน ท่านเป็นคนสุดท้อง
ด้วยความที่ทางบ้านฐานะยากจน ขณะท่านมีอายุได้ ๘ ปี โยมบิดาได้พาท่านไปฝากกับให้ร่ำเรียนเขียนอ่านกับพระแดง ผู้ซึ่งมีสักเป็นลุงแท้ๆของท่าน ที่วัดอมรินทาราม(วัดตาล) ตำบลโคกหม้อ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ซึ่งสมัยก่อนการศึกษาในพื้นที่บ้านหนองเกศรนั้นยังไม่เจริญนัก
จนกระทั้งถึงปี พ.ศ. ๒๔๖๙ หลวงพ่อเชย มีอายุครบบวช ก็ได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดอมรินทาราม ตำบลโคกหม้อ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ได้รับฉายาว่า "นิติสาโร" โดยมี
พระครูอุดมธีรคุณ วัดสัตตานาถปริวัตร เป็นพระอุปัชฌาย์
พระปลัดแบ่ง ปภสุสโร วัดอมรินทาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์
เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านได้ศึกษาร่ำเรียนวิชาอาคมจากพระอาจารย์อยู่หลายปี จึงได้เดินทางกลับมาจำพรรษาที่วัดเกาะลอยอุดมเอกทาราม ตำบลคุ้งกระถิน อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ซึ่งสมัยนั้นเป็นวัดขนาดเล็กมีพระอยู่จำพรรษาน้อยจนไม่สามารถทำสังฆกรรมได้
ปี พ.ศ. ๒๔๘๗ ตำแหน่งเจ้าอาวาสของวัดว่างลง ชาวบ้านจึงได้นิมนต์ท่าน ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสวัดเกาะลอยอุดมเอกทาราม ที่ว่างลง เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๗
หลังจากที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสหลวงพ่อเชย ได้พัฒนาวัดให้เจริญรุ่งเรืองเรื่อยมา ทั้งการสร้างเสนะสนะต่างๆ
ปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ด้วยคุณงามความดีของท่านที่พัฒนาวัดจนเจริญรุ่งเรือง ทำให้ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระครูชั้นประทวน และพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี มีพระทินนามว่า พระครูนิติสารโกวิท เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๘
นอกจากนี้ท่านยังเป็นพระเกจิอาจารย์ ผู้ซึ่งมีวิชาอาคมเข้มขลัง มีตะบะบารมีและพลังจิตรอันแก่กล้า สืบเนื่องมาจากท่านได้ไปศึกษาเรียนรู้วิชาอาคม มาจากหลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ และหลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม
มีเรื่องเล่ากันว่าคราวที่ทางวัดราชคาม
สร้างพระรูปหล่อหลวงพ่อชุ่มพิมพ์ใหญ่ใน ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ หลวงพ่อเชย
ท่านทราบข่าวจึงได้เดินลัดทุ่งนามายังวัดราชคาม เพื่อมาขอรูปหล่อใหญ่ไปบูชา ซึ่งรูปหล่อที่หลวงพ่อเชยได้รับไปนั้นเป็นพระชุดแรกที่สร้างแค่ ๑๐ องค์ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า แจกกรรมการ
ส่วนอาจารย์ที่เป็นฆราวาสนั้น ที่มีการบันทึกมีแค่นายพ่วง ซึ่งเป็นบิดาของท่าน ที่ถ่ายทอด วิชาทำเชือกหัวมงคล ไหมเจ็ดสี อันเข้มขลังจนเลื่องลือมาช้านาน เป็นที่ต้องการของนักสะสม เครื่องรางของคลัง สืบมาจวบจนถึงปัจจุบัน
หลวงพ่อเชย ปกครองวัดเรื่อยมาจนถึงแก่มรณภาพลงด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ นับรวมสิริอายุได้ ๘๔ ปี ๖๔ พรรษา.
วัตถุมงคลของหลวงพ่อเชย วัดเกาะลอย
เหรียญหลวงพ่อเชย วัดเกาะลอย รุ่นแรก
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว สร้างด้วยเนื้อทองแดงรมดำ และเนื้อทองแดงกระไหล่ทอง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
|
เหรียญหลวงพ่อเชย วัดเกาะลอย รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๐๘ เนื้อทองแดงกระไหล่ทอง |
|
เหรียญหลวงพ่อเชย วัดเกาะลอย รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๐๘ เนื้อทองแดงรมดำ |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อเชย ครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ใต้รูปหลวงพ่อมีอักขระขอมอ่านได้ว่า "นิติสาโร" ซึ่งเป็นฉายาของท่าน มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อเชย วัดเกาะลอย (แควอ้อม) จ.ราชบุรี"
ด้านหลัง มีอักขระยันต์ ใต้ยันต์มีเลขไทยเขียนว่า "๒๕๐๘" ซึ่งคือปีที่สร้างเหรียญ
เหรียญหลวงพ่อเชย วัดเกาะลอย รุ่นสอง
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว
สร้างด้วยเนื้อทองแดงรมดำ เนื้อทองแดงกระไหล่ทอง
และเนื้อทองแดงทาบรอนเงิน จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
|
เหรียญหลวงพ่อเชย วัดเกาะลอย รุ่น ๒ ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ เนื้อทองแดงกระไหล่ทอง |
|
เหรียญหลวงพ่อเชย วัดเกาะลอย รุ่น ๒ ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ เนื้อทองแดงทาบรอนเงิน |
|
เหรียญหลวงพ่อเชย วัดเกาะลอย รุ่น ๒ ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ เนื้อทองแดงรมดำ |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อเชย ครึ่งองค์ห่มจีวรคลุมไหล่ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูนิติสารโกวิท (หลวงพ่อเชย)"
ด้านหลัง มีอักขระยันต์
มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "วัดเกาะลอย แควอ้อม จ.ราชบุรี ๒๕๑๑"
เหรียญหลวงพ่อเชย วัดเกาะลอย รุ่นสาม
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปใบโพธิ์แบบมีหูในตัว
มีด้วยกัน ๒ พิมพ์ คือพิมพ์ธรรมดา กับ พิมพ์หลัง วกล ซึ่งทั้ง ๒ พิมพ์ ทันหลวงพ่อปลุกเสก สร้างด้วยเนื้อทองแดงรมดำ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
|
เหรียญหลวงพ่อเชย วัดเกาะลอย รุ่น ๓ พิมพ์ วกล ปี พ.ศ. ๒๕๑๖ เนื้อทองแดง
|
|
เหรียญหลวงพ่อเชย วัดเกาะลอย รุ่น ๓ ปี พ.ศ. ๒๕๑๖ เนื้อทองแดง |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อเชย นั่งสมาธิเต็มองค์ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อพระครูนิติสารโกวิท"
ด้านหลัง มีอักขระยันต์ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "๒๕๑๖" ซึ่งเป็นปีที่สร้างเหรียญ ในพิมพ์นิยมจะมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "วกล" ใต้ปี พ.ศ.
เหรียญหลวงพ่อเชย วัดเกาะลอย รุ่น ๔ ยันต์เชือก
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว
สร้างด้วยเนื้อทองแดง เพื่อแจกในงานทำบุญอายุหลวงพ่อเชย ครบ ๖ รอบ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
|
เหรียญหลวงพ่อเชย วัดเกาะลอย รุ่น ๔ ยันต์เชือก ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ เนื้อทองแดง |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อเชย ครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ใต้รูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูนิติสารโกวิท เชย นิติสาโร พระอุปัชฌายะ"
ด้านหลัง มีอักขระยันต์เชือก มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ครบรอบ ๗๒ ปี วัดเกาะลอยอุดมเอกธาราม แควอ้อม จ.ราชบุรี"
เหรียญหลวงพ่อเชย วัดเกาะลอย รุ่น ๕
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปอาร์มหรือโล่แบบมีหูในตัว
สร้างด้วยเนื้อทองแดงรมดำ และเนื้อทองแดงกระไหล่ทอง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
|
เหรียญหลวงพ่อเชย วัดเกาะลอย รุ่น ๕ ปี พ.ศ. ๒๕๒๙ เนื้อทองแดงกระไหล่ทอง |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อเชย นั่งสมาธิเต็มองค์ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูนิติสารโกวิท (เชย)"
ด้านหลัง มีอักขระยันต์ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "๑๐ เม.ย. ๒๕๒๙" ซึ่งเป็นปีที่สร้างเหรียญ
เหรียญหลวงพ่อเชย วัดเกาะลอย รุ่น ๖
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว สร้างด้วยเนื้อทองแดงรมดำ และเนื้อทองแดงกระไหล่ทอง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
|
เหรียญหลวงพ่อเชย วัดเกาะลอย รุ่น ๖ ปี พ.ศ. ๒๕๓๒ เนื้อทองแดงกระไหล่ทอง |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อเชย ครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ ใต้รูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูนิติสารโกวิท"
ด้านหลัง มีอักขระยันต์พระเจ้าห้าพระองค์ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "วัดเกาะลอยฯ ราชบุรี ๒๕๓๒" ซึ่งเป็นปีที่สร้างเหรียญ
รูปหล่อหลวงพ่อเชย วัดเกาะลอย รุ่นแรก
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ลักษณะเป็นรูปหล่อโบราณขนาดเล็ก สร้างด้วยเนื้อโลหะผสม จัดเป็นรูปหล่อรุ่นแรกของหลวงพ่อเชย ที่มีการจัดสร้างเป็นครั้งแรก จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
|
รูปหล่อหลวงพ่อเชย วัดเกาะลอย รุ่นแรก |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อเชย นั่งสมาธิเต็มองค์ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ บนฐานเขียง ที่ฐานมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อเชย"
ด้านหลัง ที่ฐานมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "วัดเกาะลอย"
รูปหล่อหลวงพ่อเชย วัดเกาะลอย รุ่นสอง
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ลักษณะเป็นรูปหล่อโบราณขนาดใหญ่
สร้างด้วยเนื้อโลหะผสม จัดเป็นรูปหล่อรุ่นสองของหลวงพ่อเชย
ที่มีการจัดสร้างขึ้นชาวบ้านมักเรียกรูปหล่อใหญ่ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
|
รูปหล่อหลวงพ่อเชย วัดเกาะลอย รุ่น ๒ (พิมพ์ใหญ่) |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อเชย นั่งสมาธิเต็มองค์ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ ที่สังฆาฏิมียันต์อ่านได้ว่า "มะ อะ อุ" บนฐานเขียง ที่ฐานมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อเชย"
ด้านหลัง ที่ฐานมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "วัดเกาะลอย"
พระใบโพธิ์หลวงพ่อเชย วัดเกาะลอย
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๖
ลักษณะเป็นพระเนื้อดินเผารูปใบโพธิ์แบบมีหูในตัว สร้างพร้อมเหรียญรุ่นสาม โดยใช้แม่พิมพ์เหรียญรุ่นสามเป็นต้นแบบในการจัดสร้าง
จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
|
พระใบโพธิ์หลวงพ่อเชย วัดเกาะลอย ปี พ.ศ. ๒๕๑๖ เนื้อดินเผา |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อเชย นั่งสมาธิเต็มองค์ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อพระครูนิติสารโกวิท"
ด้านหลัง มีอักขระยันต์ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "๒๕๑๖" ซึ่งเป็นปีที่สร้างเหรียญ และมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "วกล" ใต้ปี พ.ศ.
เชือกสายน้ำเกลือหลวงพ่อเชย วัดเกาะลอย
สร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๘ เป็นต้นมา ลักษณะเป็นเชือกไหมเจ็ดสีแบบเดียวกับของหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ แต่ของหลวงพ่อเชยจะมีเอกลักษณ์ที่สามารถจดจำได้ง่าน โดยในยุคแรกๆท่านจะนำเชือกร้อยไปในสายน้ำเกลือ เพื่อให้เชือกมีความคงทนไม่เปื่อยง่าย
|
เชือกสายน้ำเกลือหลวงพ่อเชย วัดเกาะลอย ราชบุรี |
แล้วจึงนำมาถักร้อยกันเป็นเงื่อนไว้สำหรับคล้องคอ ในบางเส้นจะมีการใส่เหรียญหรือรูปหล่อของหลวงพ่อถักลงไปด้วย มีหลากหลายขนาด บางรุ่นถักแล้วเลี่ยมพลาสติคมาจากวัดเลยก็มี.
โดย : สารานุกรมพระเครื่องลุ่มน้ำแม่กลอง
บทความที่เกี่ยวข้อง
***-[เป็นกำลังใจและสนับสนุนให้เราเขียนบทความดีๆ ช่วยกดดูโฆษณาด้านล่างนะคะ]-***
ไม่มีความคิดเห็น