ประวัติและวัตถุมงคลหลวงพ่อสุด วัดกาหลง พระอาจารย์ของจอมโจรชื่อดังนามว่าตี๋ใหญ่
หลวงพ่อสุด วัดกาหลง สมุทรสาคร |
หลวงพ่อสุด วัดกาหลง หรือ พระครูสมุทรธรรมสุนทร อดีตเจ้าอาวาสวัดกาหลง ตำบลกาหลง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ท่านมีนามเดิมว่า "สุด สัตย์ตัง" เกิดเมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๕ ตรงกับวันพุธ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๖ ปีขาล ณ บ้านค้อใหญ่ ตำบลคำไฮ อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด โยมบิดาท่านชื่อนายมาก สัตย์ตัง โยมมารดาท่านชื่อนางอ่อนศรี สัตย์ตัง พื้นเพครอบครัวของท่านมีอาชีพชาวนา
หลวงพ่อสุด ท่านเป็นบุตรคนเล็กสุดท้อง และเป็นบุตรชายคนเดียวของครอบครัว โดยมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๓ คน คือ
๑. นางบุตรดี มูลลิสาร
๒. นางสาวหวด สัตย์ตัง
๓. พระครูสมุทรธรรมสุนทร(สุด)
ในสมัยเด็ก ท่านเป็นเด็กที่ฉลาดกว่าเด็กทั่วไป ช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพด้วยความขยันขันแข็ง นอกจากนี้ท่านยังมีความศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง จนเมื่อหลวงพ่อสุด มีอายุได้ ๑๖ ปี ท่านได้บวชบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดกลางพนมไพร ตำบลคำไฮ อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๑ โดยมี ท่านพระครูเม้า เป็นพระอุปัชฌาย์
หลังจากบวชเป็นเณร ท่านได้ศึกษาการเขียนอ่านภาษาบาลีตามแบบสมัยนิยมกับหลวงพ่อเม้า จนอ่านออกเขียนได้
จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๖๕ หลวงพ่อสุดมีอายุครบบวชพอดี จึงได้เข้ารับการอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดกลางพนมไพร ตำบลคำไฮ อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๕ ได้รับฉายาว่า "สิริธโร"
หลวงพ่อสุด วัดกาหลง สมุทรสาคร |
หลังจากอุปสมบทแล้วท่านได้เดินธุดงค์ เพื่อไปศึกษาวิชาอาคมต่างๆ จากหลายๆอาจารย์ จนในที่สุดได้เดินทางมาถึงวัดกาหลง และได้ถูกนิมนต์ให้จำวัดอยู่ที่วัดกาหลงแห่งนี้เรื่อยมา
ปี พ.ศ. ๒๔๗๘ ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดกาหลง ได้ว่างลง ชาวบ้านและกรรมการวัดจึงพร้อมใจกันนิมนต์หลวงพ่อสุด ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสวัดกาหลงสืบต่อมา
หลังจากที่หลวงพ่อสุด ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดกาหลง ท่านได้พัฒนาวัดให้เจริญรุ่งเรืองในหลายๆด้าน ทั้งการพัฒนาจิตใจของชาวบ้านในพื้นที่วัดและพื้นที่ใกล้เคียงและการพัฒนาและปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุต่างๆภายในวัดให้มั่นคงแข็งแรง จนท่านมีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่นับถือของชาวบ้านในพื้นที่เป็นอย่างมาก
และคุณงามความดีของท่านนี้เอง ทำให้หลวงพ่อสุดได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระครูสัญญาบัตร ชั้นตรี ที่ "พระครูสมุทรธรรมสุนทร" ในปี พ.ศ. ๒๔๙๐
หลวงพ่อสุด วัดกาหลง สุมรสาคร |
และถึงแม้หลวงพ่อสุด ท่านมิใช่คนสมุทรสาคร แต่ชาวสมุทรสาครก็นับถือเคารพรักท่านเป็นอย่างมาก เพราะท่านได้ช่วยเหลือและให้ความเมตตา ท่านจึงเป็นที่รักของลูกศิษย์ลูกหาและชาวสมุทรสาครเป็นอย่างยิ่ง
ในด้านวิชาอาคมของหลวงพ่อสุดนั้น ท่านเล่าเรียนวิชามาจากหลวงปู่เม้า วัดกลางพนมไพร(พระที่บวชให้ท่านในสมัยตอนเป็นเณร) จนเมื่อมาจำพรรษาอยู่ที่วัดกาหลง ท่านจึงได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ และหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม (เป็นพระที่หลวงพ่อสุดนับถือมาก)
หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม หนึ่งในพระอาจารย์ของหลวงพ่อสุด วัดกาหลง |
หลวงพ่อสุด ท่านเล่าเรียนจนมีวิชาแก่กล้า เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ลุกศิษย์ลูกหาว่าท่านเก่งกาจด้านมหาอุด คงกระพันชาตรี ลูกศิษย์ของท่านที่ได้รับของดีจากท่านไปจึงเป็นที่ครั้นครามของคนทั่วไป
ที่เห็นจะโด่งดังและมีชื่อเสียงที่สุดในสมัยนั้นก็คือ ตี๋ใหญ่ จอมโจรชื่อดังในอดีต ซึ่งมีตะกรุดของท่านพกติดตัวอยู่ตลอดเวลานั่นเอง
หลวงพ่อสุด ปกครองวัดเรื่อยมาจนถึงแก่มรณภาพลงด้วยโรคชราเมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ เวลา ๑๓:๑๕ น. นับรวมสิริอายุได้ ๘๑ ปี ๖๑ พรรษา
หลังจากที่หลวงพ่อสุดมรณะภาพ มีการเผาศพของท่านได้เป็นข่าวดังทางหน้าหนังสือพิมพ์รายวันหลายฉบับ ในเนื้อข่าวกล่าวถึงศพของท่านโดนไฟเผาไหม้ไม่หมด ร่างกายที่เป็นเนื้อหนังกระดูกเผาหมดแล้วแต่กระดูกของท่านยังอยู่ในภาพที่สมบูรณ์มาก ไม่บิ่นหรือแตกร้าวเป็นชิ้นๆ แบบการเผาศพทั่วๆไปเลย
ปัจจุบันทางวัดกาหลงได้นำร่างที่เป็นโครงกระดูกของท่านมาบรรจุไว้ในโลงแก้วตั้งให้ประชาชนไปกราบนมัสการอยู่ที่ชั้น ๒ ของศาลาการเปรียญ วัดกาหลง เพื่อให้ประชาชนทั่วไปสักการะกราบไหว้จวบจนถึงปัจจุบัน.
วัตถุมงคลของหลวงพ่อสุด วัดกาหลง
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นแรก
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว สร้างขึ้นเพื่อแจกจ่ายให้กับผู้ที่มาร่วมงานและบริจาคทรัพย์เพื่อผูกพัทธสีมา วัดกาหลง มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดงกระไหล่ทองเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้ แต่คาดกันว่าสร้างไม่เกิน ๕,๐๐๐ เหรียญ
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ เนื้อทองแดงกระไหล่ทอง |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อสุดครึ่งองค์ ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูสมุทรธรรมสุนทร วัดกาหลง จ.สมุทรสาคร"
ด้านหลัง เป็นยันต์ตะกร้อ ซึ่งเป็นยันต์ครูที่เป็นเอกลักษณ์ของหลวงพ่อ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "งานผูกพัทธสีมา ๒๕๐๖"
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นสอง
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๗ หลังจากเหรียญรุ่นแรกหมดไปอย่างรวดเร็ว ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว สามารถแบ่งออกเป็น ๒ บล็อกคือบล็อกหนา(นิยม) มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดงผิวไฟเท่านั้น และบล็อกบาง(ออกปี พ.ศ. ๒๕๐๘) มีการสร้างด้วยเนื้อทองคำ เนื้อเงิน ทองแดงรมดำ และเนื้อทองแดงกระไหล่ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นสอง ปี พ.ศ. ๒๕๐๗ เนื้อทองแดงผิวไฟ บล็อกหนา |
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นสอง ปี พ.ศ. ๒๕๐๘ เนื้อทองแดงรมดำ บล็อกบาง |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อสุดนั่งสมาธิเต็มองค์ บนตั่ง องค์หลวงพ่อห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูสมุทรธรรมสุนทร วัดกาหลง สมุทรสาคร"
ด้านหลัง เป็นยันต์ตะกร้อ ซึ่งเป็นยันต์ครูที่เป็นเอกลักษณ์ของหลวงพ่อ ไม่มีอักขระภาษาไทยใดๆ
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นสี่ยอด (ปืนแตก)
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อนวโลหะ และเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้ โดยเหรียญสี่ยอดนี้ ซึ่งเรียกตามลักษณะยันต์ด้านหลัง แต่ในกลุ่มลูกศิษย์เรียกอีกชื่อว่า เหรียญปืนแตก จากการบอกเล่าประสบการณ์ เมื่อสมัยหลวงพ่อสุดท่านยังอยู่ มีลูกศิษย์นำปืนมาลองยิง ปรากฏว่ายิงไม่ออก ๓ ครั้ง และครั้งที่ ๔ ปืนถึงกับแตก จนเป็นที่เล่าขานสืบต่อมา เหรียญรุ่นนี้ออกแบบสวยงาม และปลุกเสกยาวนานมาก สร้างปี พ.ศ. ๒๕๑๔ แต่มาแจกหลังเหรียญสรงน้ำ ปี พ.ศ. ๒๕๑๕
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นสี่ยอด(ปืนแตก) ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ เนื้อนวะ ของร้านพระเครื่องนพเกล้า |
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นสี่ยอด(ปืนแตก) ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ เนื้อทองแดง |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อสุดครึ่งองค์ ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ศิษย์สร้างบูชาพระคุณอุปัชฌาย์ (สุด) อายุ ๖๙ ปี พ.ศ. ๒๕๑๔"
ด้านหลัง เป็นยันต์ตะกร้อ ซึ่งเป็นยันต์ครูที่เป็นเอกลักษณ์ของหลวงพ่อ และมียันต์สี่ยอดครอบไว้ที่ชั้นนอก มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ลาภผลพูลทวี วัดกาหลง"เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นสรงน้ำ (เจ้าทุย)
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว โดยเหรียญรุ่นนี้มีชื่อเรียกอยู่หลายชื่อ เช่น รุ่นสังฆาฏิใหญ่ , รุ่นไอ้ทุย , รุ่นสาม , รุ่นปี ๒๕๑๕ และรุ่นสรงน้ำ เป็นต้น โดยเหรียญรุ่นนี้มีการสร้าง ๔ เนื้อด้วยกัน ประกอบไปด้วย๑. เนื้อทองคำ ประมาณการสร้างไม่เกิน ๙-๒๐ เหรียญ
๒. เนื้อเงิน ประมาณการสร้างไม่เกิน ๒๐๐-๔๐๐ เหรียญ
๓. เนื้ออัลปาก้ากระไหล่เงิน ประมาณ ๕,๐๐๐ เหรียญ
๔. เนื้อลงหินหรือเนื้อฝาบาตรกระไหล่ทอง ประมาณ ๕,๐๐๐ เหรียญ
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นสรงน้ำ(เจ้าทุย) ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ เนื้อเงิน |
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นสรงน้ำ(เจ้าทุย) ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ เนื้ออัลปาก้ากระไหล่เงิน |
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นสรงน้ำ(เจ้าทุย) ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ เนื้อลงหินกระไหล่ทอง |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อสุดครึ่งองค์ ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูสมุทรธรรมสุนทร วัดกาหลง สมุทรสาคร"
ด้านหลัง เป็นยันต์ตะกร้อ ซึ่งเป็นยันต์ครูที่เป็นเอกลักษณ์ของหลวงพ่อ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "๑๓ เมษา ๑๕ อายุ ๗๐ ปี" เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นเสือเผ่น (๒๕๑๗)
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่ย่อมุมข้างแบบมีหูในตัว โดยเหรียญรุ่นนี้มีการสร้างด้วยกัน ๔ เนื้อ คือเนื้อเงิน เนื้ออัลปาก้า เนื้อนวะ และเนื้อทองแดง โดยเนื้อทองแดง แบ่งออกอีกเป็น ผิวไฟ กะไหล่ทอง กะไหล่เงิน และรมดำ จำนวนการสร้างไม่ได้จดบันทึกไว้
ในส่วนของพิมพ์นั้นใช้แม่พิมพ์และตัวตัดเดียวกันในการปั๊มเหรียญ แต่แบ่งออกเป็น ๓ พิมพ์ A พิมพ์ B และพิมพ์ C ซึ่งพิมพ์ A ปั๊มก่อนพิมพ์สวยยังไม่เกิดรอยแตก พิมพ์ B ปั๊มออกมาเริ่มมีรอยแตกใต้วงแขนขวาของหลวงพ่อเป็น ขีด ๒ เส้นขนานกัน ส่วนพิมพ์ C มีรอยแตกเพิ่มจากพิมพ์ B คือมีเส้นแตกจากเข่าขวาของหลวงพ่อทแยงลงมาชนขอบเหรียญ
โดยหลังจากปั๊มเหรียญของวัดกาหลงทั้งหมดแล้ว ทางวัดศาลาครืน กรุงเทพมหานคร ได้ยืมบล็อคของวัดกาหลง ไปปั๊มเหรียญออกมาอีกชุดหนึ่งแต่คนละตัวดัดกัน (กนกข้างไม่ขยัก) ซึ่งเหรียญที่ออกวัดศาลาครึนนี้ได้หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี เป็นผู้ปลุกเสก
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นเสือเผ่น ปี พ.ศ. ๒๕๑๗ บล็อก A เนื้อทองแดง |
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นเสือเผ่น ปี พ.ศ. ๒๕๑๗ บล็อก B เนื้อทองแดง |
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นเสือเผ่น ปี พ.ศ. ๒๕๑๗ บล็อก C เนื้อทองแดงกระไหล่เงิน |
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นเสือเผ่น บล็อกศาลาครึน ปี พ.ศ. ๒๕๑๗ เนื้อทองแดง |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อสุดนั่งสมาธิเต็มองค์บนฐานผ้า ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ใต้องค์หลวงพ่อมีรูปเสือเผ่น มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ที่ระลึกทำบุญอายุครบ ๖ รอบ พระครูสมุทรธรรมสุนทร (สุด) วัดกาหลง รุ่นพิเศษ ๗ พ.ค. ๑๗"
ด้านหลัง เป็นยันต์ตะกร้อ ซึ่งเป็นยันต์ครูที่เป็นเอกลักษณ์ของหลวงพ่อ ไม่มีอักขระภาษาไทยใดๆ เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นทับตะกรุด
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว ออกให้บูชาในงานฉลองอายุหลวงพ่อครบ ๖ รอบ โดยเหรียญรุ่นนี้มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดงเพียงชนิดเดียวเท่านั้น และมีการตอกโต้ดที่เหรียญ พระสร้างจำนวนน้อย จำนวนการสร้างไม่ได้จดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นทับตะกรุด ปี พ.ศ. ๒๕๑๗ เนื้อทองแดง |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อสุดนั่งสมาธิเต็มองค์บนฐานผ้า ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ใต้องค์หลวงพ่อมีรูปตะกรุด มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูสมุทรธรรมสุนทร (สุด) งานฉลองอายุครบ ๖ รอบ พ.ศ. ๒๕๑๗" ใต้องค์หลวงพ่อมีเลข ๗๒ และมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อวัดกาหลง"
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นเสือหมอบ
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว ออกให้บูชากับผู้ที่บริจาคทรัพย์ในการปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัด โดยเหรียญรุ่นนี้มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดงเพียงชนิดเดียวเท่านั้น โดยเนื้อทองแดงนั้นมีการแยกออกเป็นเนื้อทองแดงกระไหล่ทอง เนื้อทองแดงกระไหล่เงิน และเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้จดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นเสือหมอบ ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ เนื้อทองแดงกระไหล่เงิน |
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นเสือหมอบ ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ เนื้อทองแดง |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อสุดนั่งสมาธิเต็มองค์บนฐานผ้า ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ใต้องค์หลวงพ่อมีรูปเสือหมอบอยู่ตัวหนึ่ง มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูสมุทรธรรมสุนทร (สุด) วัดกาหลง"
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นเสือเดี่ยว
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว ออกให้บูชากับผู้ที่บริจาคทรัพย์ในการปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัด โดยเหรียญรุ่นนี้มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดงเพียงชนิดเดียวเท่านั้น โดยเนื้อทองแดงนั้นมีการแยกออกเป็นเนื้อทองแดงกระไหล่ทอง เนื้อทองแดงกระไหล่เงิน และเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้จดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นเสือเดี่ยว ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ เนื้อทองแดงกระไหล่ทอง |
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นเสือเดี่ยว ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ เนื้อทองแดงกระไหล่เงิน |
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นเสือเดี่ยว ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ เนื้อทองแดง |
ด้านหน้า
เป็นรูปจำลองหลวงพ่อสุดครึ่งองค์
ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ใต้องค์หลวงพ่อมีรูปเสือนอนอยู่ตัวหนึ่ง มีอักขระภาษาไทยว่า "พิเศษ"
ขอบเหรียญมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูสมุทรธรรมสุนทร (สุด) วัดกาหลง จ.สมุทรสาคร"
ด้านหลัง เป็นยันต์ตะกร้อ ซึ่งเป็นยันต์ครูที่เป็นเอกลักษณ์ของหลวงพ่อ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ลาภผล พูนทวี นพเก้า"
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นเสือคู่
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว ออกให้บูชากับผู้ที่บริจาคทรัพย์ในการปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัด โดยเหรียญรุ่นนี้มีการสร้างด้วยเนื้อเงิน เนื้อนวะ และเนื้อทองแดง โดยเนื้อทองแดงนั้น มีการแยกออกเป็นเนื้อทองแดงกระไหล่ทอง เนื้อทองแดงกระไหล่เงิน เนื้อทองแดงผิวไฟ และเนื้อทองแดงรมดำ โดยที่เหรียญจะมีการตอกโค้ดตัว อุ ตัว มะ และบางเหรียญไม่ตอกโค้ด จำนวนการสร้างไม่ได้จดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นเสือคู่ ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ เนื้อนวะ ตอกโค้ดอุ |
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นเสือเดี่ยว ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ เนื้อทองแดงกระไหล่ทอง ตอกโค้ดมะ |
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นเสือเดี่ยว ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ เนื้อทองแดงกระไหล่เงิน ตอกโค้ดอุ |
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นเสือเดี่ยว ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ เนื้อทองแดงรมดำ ตอกโค้ดมะ |
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นเสือเดี่ยว ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ เนื้อทองแดงผิวไฟ ไม่ตอกโค้ด |
ด้านหน้า
เป็นรูปจำลองหลวงพ่อสุดนั่งสมาธิเต็มองค์บนฐานผ้า
ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ด้านข้างรูปหลวงพ่อมีรูปเสืออยู่คู่หนึ่ง ด้านบนมีอักขระภาษาไทยว่า "ลาภผล พูนทวี"
ใต้รูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "นพเก้า พระครูสมุทรธรรมสุนทร (สุด) วัดกาหลง จ.สมุทรสาคร"
ด้านหลัง เป็นยันต์ตะกร้อ ซึ่งเป็นยันต์ครูที่เป็นเอกลักษณ์ของหลวงพ่อ ไม่มีอักขระภาษาไทยใดๆ
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นเสือคำราม หรือ เสือบิน
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว ออกให้บูชากับผู้ที่บริจาคทรัพย์ในการปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัด โดยเหรียญรุ่นนี้มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดง โดยเนื้อทองแดงนั้น มีการแยกออกเป็นเนื้อทองแดงกระไหล่ทอง เนื้อทองแดงกระไหล่เงิน เนื้อทองแดงผิวไฟ และเนื้อทองแดงรมดำ โดยที่เหรียญบางจะมีการตอกโค้ดตัว จำนวนการสร้างไม่ได้จดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นเสือคำราม(เสือบิน) ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ เนื้อทองแดงกระไหล่เงิน บล็อกนิยม(มีเม็ดตา) |
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นเสือคำราม(เสือบิน) ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ เนื้อทองแดง บล็อกนิยม(มีเม็ดตา) |
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นเสือคำราม(เสือบิน) ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ เนื้อทองแดงกระไหล่ทอง |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อสุดนั่งเต็มองค์ ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ มือทั้ง ๒ ข้างจับที่หัวเข่า ด้านข้างรูปหลวงพ่อมีเสือหันหน้าตรง ด้านล่างมีอักขระภาษาไทยว่า "วัดกาหลง"
ด้านหลัง เป็นยันต์ตะกร้อ ซึ่งเป็นยันต์ครูที่เป็นเอกลักษณ์ของหลวงพ่อ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูสมุทรธรรมสุนทร (หลวงพ่อสุด). ๒๕๒๐"
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นเสือน้อย
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว ออกให้บูชากับผู้ที่บริจาคทรัพย์ในการปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัด โดยเหรียญรุ่นนี้มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้จดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นเสือน้อย ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ เนื้อทองแดง |
ด้านหน้า
เป็นรูปจำลองหลวงพ่อสุดนั่งสมาธิเต็มองค์
ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ด้านข้างรูปหลวงพ่อมีอักขระยันต์ ด้านบนมีอักขระภาษาไทยว่า "หลวงพ่อสุด วัดกาหลง"
ใต้รูปหลวงพ่อมีเสืออยู่หนึ่งตัว
ด้านหลัง เป็นยันต์ตะกร้อ ซึ่งเป็นยันต์ครูที่เป็นเอกลักษณ์ของหลวงพ่อ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พ.ศ. ๒๕๒๑"
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นเสือกลับ(ออกวัดรวก)
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มแบบมีหูในตัว ออกให้บูชากับผู้ที่บริจาคทรัพย์ในการปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุต่างๆของวัดรวกสุทธาราม บางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เหรียญรุ่นนี้มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดงเพียงชนิดเดียวเท่านั้น โดยจะมีการตอกโค้ดไว้ที่ตัวเหรียญ จำนวนการสร้างไม่ได้จดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นเสือกลับ (ออกวัดรวก) ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ เนื้อทองแดง |
ด้านหน้า
เป็นรูปจำลองหลวงพ่อสุดนั่งสมาธิเต็มองค์
ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ รัดประคต มีการตอกโค้ดตัว "นะ" ที่สังหาฏิ ใต้องค์หลวงพ่อมีรูปเสืออยู่ตัวหนึ่ง แต่เสือตัวนี้จะหันตัวไปทางขวามือซึ่งต่างจากเสือของเหรียญรุ่นอื่นๆ จึงเป็นที่มาของชื่อรุ่น มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อสุด วัดกาหลง จ.สมุทรสาคร"
ด้านหลัง เป็นยันต์ตะกร้อ ซึ่งเป็นยันต์ครูที่เป็นเอกลักษณ์ของหลวงพ่อ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พัฒนาวัดรวกสุทธาราม บางกอกน้อย ๕ ตุลาคม ๒๕๒๑"
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นเสาร์ห้า
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว ทำพิธีปลุกเศกในวันเสาร์ห้า ซึ่งตามโบราณเชื่อกันว่าเป็นวันแรงและเป็นฤกษ์ยามที่ดี โดยเหรียญรุ่นนี้มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้จดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นเสาร์ห้า ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ เนื้อทองแดง |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อสุดนั่งสมาธิเต็มองค์ ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ใต้องค์หลวงพ่อมีรูปเสือนอนอยู่ตัวหนึ่ง มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูสมุทรธรรมสุนทร (สุด) วัดกาหลง เสาร์ห้า ๒๕๒๑"
ด้านหลัง เป็นยันต์ตะกร้อ ซึ่งเป็นยันต์ครูที่เป็นเอกลักษณ์ของหลวงพ่อ
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นเสือเผ่นหางงอ
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว ออกให้บูชากับผู้ที่บริจาคทรัพย์ในการปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัด โดยเหรียญรุ่นนี้มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดง และมีการตอกโค้ดที่เหรียญอีกด้วย ซึ่งโค้ดที่ตอกนั้นจะมีโค้ด ส.เสือในวงกลม และโค้ดเลข ๒ ไทย หรือโค้ดจิ จำนวนการสร้างไม่ได้จดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นเสือเผ่นหางงอ ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ เนื้อทองแดง โค้ด ส.เสือ |
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นเสือเผ่นหางงอ ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ เนื้อทองแดง โค้ด ๒ |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อสุดนั่งสมาธิเต็มองค์ ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ใต้องค์หลวงพ่อมีรูปเสือเผ่นอยู่ตัวหนึ่งโดยหางของเสือจะงอขึ้นไปจรดอาสนะของหลวงพ่อ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูสมุทรธรรมสุนทร (สุด) วัดกาหลง ๒๕๒๑"
ด้านหลัง เป็นยันต์ตะกร้อ ซึ่งเป็นยันต์ครูที่เป็นเอกลักษณ์ของหลวงพ่อ
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นเสือเผ่นหางตรง
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว ออกให้บูชากับผู้ที่บริจาคทรัพย์ในการปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัด โดยเหรียญรุ่นนี้มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดง และมีการตอกโค้ดที่เหรียญอีกด้วย ซึ่งโค้ดที่ตอกนั้นจะมีโค้ด ส.เสือในวงกลม และโค้ดเลข ๒ ไทย หรือโค้ดจิ จำนวนการสร้างไม่ได้จดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นเสือเผ่นหางตรง ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ เนื้อทองแดง โค้ด ส.เสือ |
ด้านหลัง เป็นยันต์ตะกร้อ ซึ่งเป็นยันต์ครูที่เป็นเอกลักษณ์ของหลวงพ่อ
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นแอ๊ปเปิ้ล
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปคล้ายผลแอ๊ปเปิ้ลแบบมีหูในตัว ออกให้บูชากับผู้ที่บริจาคทรัพย์ในการปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัด โดยเหรียญรุ่นนี้มีการสร้างด้วยเนื้อเงิน และเนื้อทองแดง และมีการตอกโค้ดที่เหรียญอีกด้วย จำนวนการสร้างไม่ได้จดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นแอ๊ปเปิ้ล ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ เนื้อเงิน โค้ด อุ |
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นแอ๊ปเปิ้ล ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ เนื้อทองแดง โค้ด อุ |
ด้านหน้า
เป็นรูปจำลองหลวงพ่อสุดนั่งสมาธิเต็มองค์
ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ
ใต้องค์หลวงพ่อมีรูปเสือเผ่นอยู่ตัวหนึ่ง
มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูสมุทรธรรมสุนทร (หลวงพ่อสุด วัดกาหลง) ๙ ก.ค. ๒๑"
ด้านหลัง เป็นยันต์ตะกร้อ ซึ่งเป็นยันต์ครูที่เป็นเอกลักษณ์ของหลวงพ่อ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "รุ่นมูลนิธิสมุทรธรรมสุนทร วัดกาหลง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี"
เหรียญมหาเฮง หลวงพ่อสุด วัดกาหลง วัดโพรงอากาศ
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปวงกลมแบบไม่มีหูในตัว ออกให้บูชากับผู้ที่บริจาคทรัพย์ในการปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุวัดโพรงอากาศ จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยเหรียญรุ่นนี้มีการสร้างด้วยเนื้อเงิน จำนวนการสร้างไม่ได้จดบันทึกไว้
เหรียญมหาเฮง หลวงพ่อสุด วัดกาหลง ออกวัดดพรงอากาศ ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ เนื้อเงิน |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองเสือ ด้านบนตัวเสือมีอักขระยันต์ "นะ มะ อะ อุ" ใต้ตัวเสือมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "มหาเฮง"
ด้านหลัง มีอักษรจีน มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "โชคดี วัดโพรงอากาศ พ.ศ. ๒๕๒๒"
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นหยดน้ำ
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปหยดน้ำแบบมีหูในตัว ออกให้บูชากับผู้ที่บริจาคทรัพย์ในการปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัด โดยเหรียญรุ่นนี้มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดง และมีการตอกโค้ดที่เหรียญอีกด้วย จำนวนการสร้างไม่ได้จดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นหยดน้ำ ปี พ.ศ. ๒๕๒๒ เนื้อทองแดง |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อสุดนั่งสมาธิเต็มองค์ ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ใต้องค์หลวงพ่อมีรูปเสือเผ่นอยู่ตัวหนึ่ง มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อสุด วัดกาหลง ๒๕๒๒"
ด้านหลัง เป็นยันต์ตะกร้อ ซึ่งเป็นยันต์ครูที่เป็นเอกลักษณ์ของหลวงพ่อ
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นเมืองทอง
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปหยดน้ำแบบมีหูในตัว ออกให้บูชากับผู้ที่บริจาคทรัพย์ในการปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัด โดยเหรียญรุ่นนี้มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้จดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นเมืองทอง ปี พ.ศ. ๒๕๒๒ เนื้อทองแดง |
ด้านหน้า
เป็นรูปจำลองหลวงพ่อสุดครึ่งองค์
ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ใต้รูปหลวงพ่อมีรูปเสือเผ่นอยู่ตัวหนึ่ง
มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อสุด วัดกาหลง"
ด้านหลัง เป็นยันต์พระเจ้าห้าพระองค์ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "รุ่นเมืองทอง พ.ศ. ๒๕๒๒"
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นปิตุภูมิ หรือ บัวเล็ก
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว ออกให้บูชากับผู้ที่บริจาคทรัพย์ในการสร้างพระอุโบสถ วัดศรีมงคล จังหวัดร้อยเอ็ด โดยเหรียญรุ่นนี้มีการสร้างด้วยเนื้อเงิน และเนื้อทองแดง ทุกเหรียญจะมีการตอกโค้ด ส.เสือ ที่สังฆาฏิ จำนวนการสร้างไม่ได้จดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นปิตุภูมิ(บัวเล็ก) ปี พ.ศ. ๒๕๒๒ เนื้อทองแดง |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อสุดนั่งสมาธิเต็มองค์ ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ใต้องค์หลวงพ่อมีรูปเสืออยู่ตัวหนึ่ง มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อสุด วัดกาหลง"
ด้านหลัง เป็นยันต์ตะกร้อ ซึ่งเป็นยันต์ครูที่เป็นเอกลักษณ์ของหลวงพ่อ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "รุ่นปิตุภูมิ เมตตาสร้างโบสถ์ วัดศรีมงคล จ.ร้อยเอ็ด"
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นมาตาปิตุภูมิ หรือ บัวใหญ่
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว ออกให้บูชากับผู้ที่บริจาคทรัพย์ในงานผูกพัทธสีมา วัดโพธิ์ไทร จังหวัดร้อยเอ็ด โดยเหรียญรุ่นนี้มีการสร้างด้วยเนื้อเงิน และเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้จดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นมาตาปิตุภูมิ(บัวใหญ่) ปี พ.ศ. ๒๕๒๒ เนื้อเงิน ของคุณสุรวัช เรืองศรี |
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นมาตาปิตุภูมิ(บัวใหญ่) ปี พ.ศ. ๒๕๒๒ เนื้อทองแดง |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อสุดนั่งสมาธิเต็มองค์ ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ใต้องค์หลวงพ่อมีรูปเสืออยู่ตัวหนึ่งใต้เสือมีเลขไทยเขียนว่า "๒๕๒๒" ขอบเหรียญมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อสุด วัดกาหลง"
ด้านหลัง เป็นยันต์ตะกร้อ ซึ่งเป็นยันต์ครูที่เป็นเอกลักษณ์ของหลวงพ่อ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "รุ่นมาตาปิตุภูมิ งานผูกพัทธสีมา วัดโพธิ์ไทร อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด"
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นเสาร์ห้า เสือเผ่น ๒๕๒๓
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๓ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่ย่อข้างแบบมีหูในตัว ออกให้บูชากับผู้ที่บริจาคทรัพย์ในการปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัด เหตุที่สร้างเนื่องจากผู้ที่ได้รับเหรียญเสาร์ห้า รุ่นก่อน ต่างมีประสพการณ์กันมากมาย ทางคณะศิษย์จึงขอให้หลวงพ่อสร้างขึ้นอีกครั้ง โดยเหรียญรุ่นนี้มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดง และมีการตอกโค้ดทุกเหรียญ จำนวนการสร้างไม่ได้จดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นเสาร์ ๕ เสือเผ่น ปี พ.ศ. ๒๕๒๓ เนื้อทองแดง บล็อคหูขีด |
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นเสาร์ ๕ เสือเผ่น ปี พ.ศ. ๒๕๒๓ เนื้อทองแดง บล็อคไหล่ขีด |
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นเสาร์ ๕ เสือเผ่น ปี พ.ศ. ๒๕๒๓ เนื้อทองแดง บล็อควงเดือน |
ด้านหน้า
เป็นรูปจำลองหลวงพ่อสุดนั่งสมาธิเต็มองค์
ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ใต้องค์หลวงพ่อมีรูปเสืออยู่ตัวหนึ่งใต้เสือมีเลขไทยเขียนว่า "๒๕๒๓" ขอบเหรียญมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูสมุทรธรรมสุนทร (สุด) วัดกาหลง เสาร์ห้า"
ด้านหลัง เป็นยันต์ตะกร้อ ซึ่งเป็นยันต์ครูที่เป็นเอกลักษณ์ของหลวงพ่อ ไม่มีอักขระภาษาไทยใดๆ
เหรียญปิดตาหลวงพ่อสุด วัดกาหลง
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๓ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปวงกลมแบบมีหูในตัว ออกให้บูชากับผู้ที่บริจาคทรัพย์ในการปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัด พุทธคุณโดดเด่นด้านคล้าดแคล้ว และมีโชคลาภเจริญรุ่งเรือง โดยเหรียญรุ่นนี้มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้จดบันทึกไว้
เหรียญปิดตาหลวงพ่อสุด วัดกาหลง ปี พ.ศ. ๒๕๒๓ เนื้อทองแดง |
ด้านหน้า
เป็นรูปจำลองพระปิดตาภควัมบดีนั่งสมาธิเต็มองค์บนฐานบัวคว่ำบัวหงาย มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "วัดกาหลง สมุทรสาคร ๒ ธ.ค. ๒๕๒๓"
ด้านหลัง เป็นยันต์ดอกบัว คล้ายกับเหรียญอริยสัจสี่ของวัดบวร
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นโรงเหล็ก
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว มูลเหตุการสร้างนั้นเกิดจากความเลื่อมใสในตัวหลวงพ่อของเจ้าของโรงเหล็กย่านพระประแดง จึงขออนุญาตหลวงพ่อจัดสร้างขึ้น เพื่อแจกพนักงานและลูกค้า โดยเหรียญรุ่นนี้มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดงผิวไฟเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่เกิน ๕๐๐ เหรียญ
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นโีรงเหล็ก ปี พ.ศ. ๒๕๒๔ เนื้อทองแดง |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อสุดนั่งสมาธิเต็มองค์ ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ใต้องค์หลวงพ่อมีรูปเสืออยู่ตัวหนึ่งใต้เสือมีเลขไทยเขียนว่า "๒"
ด้านหลัง เป็นยันต์ตะกร้อ ซึ่งเป็นยันต์ครูที่เป็นเอกลักษณ์ของหลวงพ่อ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูสุมุทรธรรมสุนทร (หลวงพ่อสุด) วัดกาหลง สมุทรสาคร ๑ พ.ค. ๒๔ บริษัท กรุงเทพผลิตเหล็ก จำกัด"
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นหันข้าง
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มแบบมีหูในตัว ออกให้บูชาในคราวฉลองอายุหลวงพ่อครบ ๘๐ ปี โดยเหรียญรุ่นนี้มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดงกระไหล่ทอง และเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้จดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นหันข้าง ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ เนื้อทองแดงกระไหล่ทอง บล็อกรางคู่ |
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นหันข้าง ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ เนื้อทองแดง บล็อกรางคู่ |
ด้านหน้า
เป็นรูปจำลองหลวงพ่อสุดหันข้าง
ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ใต้องค์หลวงพ่อมีรูปเสืออยู่ตัวหนึ่งมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อสุด วัดกาหลง"
ด้านหลัง เป็นยันต์ตะกร้อ ซึ่งเป็นยันต์ครูที่เป็นเอกลักษณ์ของหลวงพ่อ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "อายุครบ ๘๐ ปี จ.สมุทรสาคร ๗ พ.ค. ๒๕๒๕"
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นสุดท้าย
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๖ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มแบบมีหูในตัว ถือเป็นเหรียญที่ทันหลวงพ่อปลุกเสกเป็นรุ่นสุดท้าย โดยเหรียญรุ่นนี้มีการสร้างด้วยเนื้อฝาบาตร และเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้จดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นสุดท้าย ปี พ.ศ. ๒๕๒๖ เนื้อฝาบาตร |
เหรียญหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นสุดท้าย ปี พ.ศ. ๒๕๒๖ เนื้อทองแดง |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อสุดครึ่งองค์ ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ใต้รูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "สิริธโร" ขอบเหรียญมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูสมุทรธรรมสุนทร (สุด) วัดกาหลง จ.สมุทรสาคร"
ด้านหลัง เป็นยันต์ตะกร้อ ซึ่งเป็นยันต์ครูที่เป็นเอกลักษณ์ของหลวงพ่อ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ที่ระลึกในการสร้างวิหาร ลาภผล พูนทวี ๒๕๒๖"
สมเด็จหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นแรก
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ลักษณะเป็นสมเด็จเนื้อผงพุทธคุณ จัดเป็นเครื่องรางเนื้อผงของหลวงพ่อที่หายากและเล่นหาจดจำได้ง่าย จำนวนการสร้างไม่ได้จดบันทึกไว้
สมเด็จหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ |
ด้านหน้า เป็นรูปพระพิมพ์สมเด็จ พิมพ์ใหญ่ ฐานสามชั้น
ด้านหลัง เป็นรูปหลวงพ่อครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ ด้านบนรูปหลวงพ่อมีอักขระยันต์อ่านได้ว่า "พุท ธะ สัง มิ" มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ส.ค. หลวงพ่อวัดกาหลวง ส.ค."
พระหยกหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นแรก
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ลักษณะเป็นรูปหยดน้ำไม่มีหู มีการด้วยเนื้ออัญมณี ๓ ชนิด ประกอบไปด้วยเนื้อหยกลายไม้สัก เนื้อหยกพลอยโมรา(สีออกแดง) และเนื้อหยกเขียว จำนวนการสร้างไม่ได้จดบันทึกไว้
พระหยกหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ เนื้อลายไม้สัก |
พระหยกหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ เนื้อหยกเขียว |
พระหยกหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ เนื้อหยกพลอยโมรา |
ด้านหน้า
เป็นรูปจำลองหลวงพ่อสุดครึ่งองค์
ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ใต้รูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "มูลนิธิ นพเกล้า ๒๕๒๑" ขอบองค์พระมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูสมุทรธรรมสุนทร (สุด) วัดกาหลง จ.สมุทรสาคร"
ด้านหลัง เป็นยันต์ตะกร้อ ซึ่งเป็นยันต์ครูที่เป็นเอกลักษณ์ของหลวงพ่อ
เสือมหาอำนาจหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นแรก
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ลักษณะเป็นรูปเสือหล่อลอยองค์ เชื่อกันว่าผู้ที่ได้บูชาเสือมหาอำนาจนี้แล้ว จะเป็นที่ยำเกรงของคนทั่วไป มีพุทธคุณโดดเด่นในด้านมหาอุต คงกระพัน มหาอำนาจ เสริมสร้างบารมี โดยมีการสร้างด้วยเนื้อนวโลหะ เพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้จดบันทึกไว้
เสือมหาอำนาจ หลวงพ่าอสุด วัดกาหลง ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ เนื้อนวโลหะ |
เสือมหาอำนาจ หลวงพ่าอสุด วัดกาหลง ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ เนื้อนวโลหะ |
ลักษณะ
เป็นรูปจำลองเสือโลหะเพศผู้ ในลักษณะกระโจน แบบเดียวกับเสือเผ่น มีอักขระยันต์ "นะ มะ อะ อุ" อยู่ที่ด้านข้างของตัวเสือ และบริเวณท้องเสือ
พระหยกหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นสอง
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ ลักษณะเป็นรูปหยดวงรีไม่มีหู เพื่อแจกในงานวันเกิดของหลวงพ่อ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ โดยมีการสร้างด้วยอัญมณีประเภทหยกหลากหลายสี จำนวนการสร้างไม่ได้จดบันทึกไว้
พระหยกหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นสอง ปี พ.ศ. ๒๕๒๒ เนื้อลายไม้สัก |
พระหยกหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นสอง ปี พ.ศ. ๒๕๒๒ เนื้อหยกเขียว |
พระหยกหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นสอง ปี พ.ศ. ๒๕๒๒ เนื้อหยกพลอยโมรา |
พระหยกหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นสอง ปี พ.ศ. ๒๕๒๒ เนื้อหยกสีดำ |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อสุดครึ่งองค์ ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ที่สังฆาฏิมีตัว อุ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงปู่สุด วัดกาหลง"
ด้านหลัง เป็นยันต์ตะกร้อ ซึ่งเป็นยันต์ครูที่เป็นเอกลักษณ์ของหลวงพ่อ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ที่ระลึกวันเกิด ๗ พ.๕. ๒๕๒๒"
ภาพถ่ายหลังตะกรุดหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นแรกสร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ลักษณะเป็นรูปถ่ายสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก เลี่ยมพลาสติกมีรูเจาะห่วงเพื่อใช้ในการแขวน สมัยก่อนหลวงพ่อนิยมแจกให้กับเด็กและผู้หญิง จำนวนการสร้างไม่ได้จดบันทึกไว้
ภาพถ่ายหลังตะกรุด หลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อสุดครึ่งองค์ ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อสุด วัดกาหลง"
ด้านหลัง มีตะกรุดสามกษัรติย์
นกสาริกาหลวงพ่อสุด วัดกาหลง รุ่นแรก
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๖ ลักษณะเป็นนกสาริกาหล่อโลหะขนาดเล็กบนฐานเขียง มีการสร้างด้วยเนื้อโลหะกระไหล่ทอง และเนื้อโลหะกระไหล่เงิน เชื่อกันว่าดีทางโชคลาภ ค้าขาย มีเสนห์เป็นที่เมตตาของผู้หลักผู้ใหญ่ จำนวนการสร้างไม่ได้จดบันทึกไว้
ด้านหน้า
เป็นรูปสาริกาบนฐานเขียง มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "วัด"
ด้านหลัง เป็นรูปสาริกาบนฐานเขียง มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "กาหลง"
ตะกรุด ๑๐๘ หลวงพ่อสุด วัดกาหลง
สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. ๒๕๒๖ ลักษณะเป็นตะกรุดขนาดเล็กจำนวน ๑๐๘ ดอก ถักร้อยเข้าด้วยกันไว้สำหรับคาดที่เอว โดยเนื้อโหละที่นำมาทำตะกรุดจะประกอบได้วย เงิน ฝาบาตร และทองแดง
ตะกรุด ๑๐๘ หลวงพ่อสุด วัดกาหลง เนื้อสามกษัตรย์ |
ซึ่งในยุคแรกหลวงพ่อสุดจะจารอักขระด้วยตัวท่านเองทีละดอก ตามตำราที่ท่านร่ำเรียนจรครบตามจำนวน ๑๐๘ ดอก แล้วจึงนำมาถักด้วยเชือกเพื่อไว้สำหรับคาดที่เอว หลังจากถักเสร็จหลวงพ่อจะปลุกเสกตะกรุดอีกครั้ง ตามฤกษ์ยามด้วยพระคาถาตามตำราของท่าน แล้วจึงนำมาแจกจ่ายให้กับลูกศิษย์ต่อไป จัดเป็นเครื่องรางของหลวงพ่อที่หายาก จำนวนการสร้างไม่ได้จดบันทึกไว้
ตะกรุดโทนหลวงพ่อสุด วัดกาหลง
สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. ๒๕๒๖ ลักษณะเป็นตะกรุดขนาดยาวประมาณ ๔ นิ้วกว่าๆ ถักร้อยด้วยเชือกไว้สำหรับคาดที่เอว โดยเนื้อโหละที่นำมาทำตะกรุดจะเป็นทองแดงเสียเป็นส่วนใหญ่
ตะกรุดโทน หลวงพ่อสุด วัดกาหลง |
ตะกรุดโทน หลวงพ่อสุด วัดกาหลง |
โดยในหลวงพ่อจะจารอักขระในแผ่นทองแดงตามตำราที่ท่านร่ำเรียนมา แล้วจึงทำการถักด้วยเชือกและลูกคั่น ตามตำราของท่าน แล้วจึงนำเข้าปลุกเสกเดี่ยวอีกครั้ง ตามตำราที่ท่านร่ำเรียนมา โดยในการปลุกเสกนี้หลวงพ่อจะเลือกฤกษ์ยามเอง หลังจากเสร็จพิธีการแล้วหลวงพ่อจึงจะนำมาแจกจ่ายให้กับลูกศิษย์ต่อไป จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
ซึ่งตะกรุดนี้มีเรื่องเล่าของ ตี๋ใหญ่ หรือ จอมโจรตี๋ใหญ่ ถือเป็นโจรที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาในอดีต ตัวตี๋ใหญ่นั้นนับถือหลวงพ่อสุดเป็นอย่างมาก มักไปมาหาสู่หลวงพ่อสุดอยู่บ่อยๆ ตี๋ใหญ่มีของดีคือมีผ้ายันต์กับตะกรุดของหลวงพ่อสุดไว้ป้องกันตัว ถึงขนาดถูกตำรวจเป็นร้อยล้อมจับก็ยังสามารถหนีเอาตัวรอดไปได้ จนมีเสียงร่ำลือกันว่าตี๋ใหญ่มีวิชาล่องหนหายตัวได้
ตี๋ใหญ่ ลูกศิษย์ของหลวงพ่อสุด วัดกาหลง |
มีเรื่องเล่าถึงวันที่ ตี๋ใหญ่เสียชีวิต คือวันนั้นก่อนที่จะหนีไปหลบซ่อนตัว ตี๋ใหญ่สั่งให้ลูกน้องขับรถพามาหาหลวงพ่อสุด ที่วัดกาหลง เพราะต้องการมาขอผ้ายันต์และตะกรุด ที่ตัวเองทำหายไป (บ้างก็ว่าลูกน้องลักไป) แต่มาแล้วไม่พบท่าน จึงกลับออกมา ระหว่างที่รถวิ่งออกมาก็โดนถล่มด้สยอาวุธปืนชนิดต่างๆ เป็นจำนวนมาก จากตำรวจที่ยกขบวนกันมาเต็มทั้งสองข้างทาง จบสิ้นตำนานจอมโจรตี๋ใหญ่อันโด่งดัง.
หมายเหตุ : พระบางรุ่นไม่ได้จัดทำ ต้องขออภัยมา ณ โอกาสนี้
โดย : สารานุกรมลุ่มน้ำแม่กลอง
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ประวัติและวัตถุมงคลหลวงพ่อบุญมา วัดนางตะเคียน สมุทรสงคราม ผู้เดินธุดงค์มาพร้อมกับหลวงพ่อสุด วัดกาหลง
ไม่มีความคิดเห็น