ประวัติและวัตถุมงคลหลวงพ่อเกลี้ยง วัดเขาใหญ่ อีกหนึ่งพระเกจิผู้เข้มขลังของกาญจนบุรี ศิษย์หลวงปู่เปลี่ยน วัดใต้
หลวงพ่อเกลี้ยง วัดเขาใหญ่ กาญจนบุรี |
หลวงพ่อเกลี้ยง (อินฺทสโร) วัดเขาใหญ่ หรือ พระครูอินทรสรวุฒิคุณ อดีตเจ้าอาวาสวัดเขาใหญ่ กาญจนบุรี ท่านมีนามเดิมว่า เกลี้ยง ครุฑศิริ เกิดเมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๔ ตรงกับวันอาทิตย์ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๗ ปีฉลู ณ บ้านเลขที่ ๔๔ หมู่ที่ ๗ ตำบลท่าไม้ อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี เป็นบุตรของโยมบิดาชื่อนายเขียว ครุฑศิริ โยมมารดาชื่อนางผิว ครุฑศิริ มีพี่น้องทั้งหมด ๘ คน เป็นชาย ๖ คนเป็นหญิง ๒ คน
โยมบิดามารดามีอาชีพทำนา โดยมีลูกๆทุกคนช่วยกันทำนาอย่างขยันขันแข็ง ครอบครัวของท่านจึงเป็นปึกแผ่น จนมีฐานะดีขึ้นมาเป็นลำดับ จนกระทั่งเมื่อเด็กชายเกลี้ยงมีอายุได้ ๑๔ ปี ได้เกิดอาการล้มป่วยมีโรคแทรกซ้อน โยมบิดามารดาจึงเที่ยวหาหมอรักษาโรคที่ว่าเก่ง แต่ก็ไม่สามารถรักษาโรคให้หายได้ซักราย โยมบิดามารจึงต้องพึ่งพระหมอวัดคร้อพนัน ซึ่งเป็นวัดที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากบ้านมากนัก จึงนำเด็กชายเกลี้ยงมารักษาที่นั่น โดยหวังเป็นที่พึ่งแห่งสุดท้าย
แต่ด้วยความเมตตาของหลวงพ่อใช้ ท่านได้จัดยาแผนโบราณเป็นยาต้ม ให้เด็กชายเกลี้ยงกิน ไม่นานอาการของเด็กชายเกลี้ยงก็หายเป็นปรกติ โยมบิดามารดาจึงถวายเด็กชายเกลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรมอยู่รับใช้พระอาจารย์ (หลวงพ่อใช้)
หลวงพ่อใช้ ท่านเมตตาช่วยสอนสั่งให้เรียนหนังสือ เขียนอ่านจนแตกฉานทั้งภาษาไทยและภาษาขอม เด็กชายเกลี้ยงเรียนหนังสือได้เก่ง สอนเพียงครั้งเดียวก็จำได้ จึงเป็นที่โปรดปรานของหลวงพ่อใช้ เด็กชายเกลี้ยงได้อยู่รับใช้พระอาจารย์เป็นเวลา ๔ ปี จนเติบใหญ่อายุครบ ๑๘ ปี หลวงพ่อใช้ จึงได้บวชเณรให้ เพื่อเกื้อหนุนในทางบุญ ศึกษาพระธรรมวินัย และอยู่รับใช้พระอาจารย์
ปี พ.ศ. ๒๔๖๔ หลวงพ่อเกลี้ยง มีอายุครบ ๒๐ ปี บริบูรณ์ โยมบิดาและโยมมารดา จึงอุปสมบทให้ด้วยใจศรัทธาในพระพุทธศาสนา ณ พัทธสีมาวัดคร้อพนัน ตำบลท่าไม้ อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ได้รับฉายาทางธรรมว่า "อินฺทสโร" โดยมี
หลวงพ่อเปลี่ยน วัดไชยชุมพลชนะสงคราม (วัดใต้) เป็นพระอุปัชฌาย์
หลวงพ่อหลิน เจ้าอาวาสวัดคล้อพนัน เป็นพระกรรมวาจาจารย์
หลวงพ่อใช้ วัดคล้อพนัน เป็นพระอนุสาวนาจารย์
หลังจากอุปสมบท หลวงพ่อเกลี้ยงได้อยู่จำพรรษาแรกที่วัดคร้อพนัน และได้ศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราญจากหลวงพ่อใช้ ซึ่งท่านมีความชำณาญเรื่องว่านยา สมุนไพร โดยได้รับสืบทอดมาจากหลวงพ่อหลิน เจ้าอาวาสรูปแรกของวัดคร้อพนัน ซึ่งท่านเป็นปรมาจารย์ด้านยาแพทย์แผนโบราญที่มีการสืบทอดกันมา
หลวงปู่เปลี่ยน วัดใต้ กาญจนบุรี พระอุปัชฌาย์ของหลวงพ่อเกลี้ยง วัดเขาใหญ่ |
พรรษาที่ ๒ ท่านได้ไปศึกษาที่วัดใต้ สอบได้นักธรรมชั้นตรี นอกจากนี้ยังได้ศึกษาพุทธาคมจากหลวงพ่อเปลี่ยน พระอุปัชฌาย์ของท่าน โดยหลวงพ่อเปลี่ยน ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์แห่งลุ่มแม่น้ำกลอง เชี่ยวชาญทางด้านไสยศาสตร์ วิปัสสนากรรมฐาน พุทธาคมแก่กล้า วัตถุมงคลเหรียญรุ่นแรก เสื้อยันต์ ตระกรุดลูกอมของท่านขลัง มีชื่อเสียงลื่อลั่นเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางจนกระทั่งออกพรรษาจึงได้ลากลับวัดบ้านเกิด
หลวงพ่อเกลี้ยง ท่านเป็นพระผู้คงแก่เรียน นอกจากวิชาแพทย์แผนโบราญและพุทธาคมต่างๆที่ท่านได้ร่ำเรียนจากพระอาจารย์แล้ว ท่านยังได้ศึกษาวิชาหวายคาดเอวและหวายมงคลสวมแขน ได้ดั้นดันมาเรียนวิชาหวายกับหลวงพ่อที่วัดสามกระบือเผือก จังหวัดนครปฐม จนหลวงพ่อเกลี้ยงเรียนสำเร็จและทำได้ขลังไม่แพ้ของอาจารย์
พรรษาที่ ๓ ถึง ๕ จำพรรษาวัดคร้อพนันอยู่รับใช้ปรนนิบัติหลวงพ่อใช้ พอพรรษาที่ ๖ หลวงพ่อใช้ได้ล้มป่วยด้วยโรคขรา หลวงพ่อใช้ได้พร่ำสอนหลวงพ่อเกลี้ยง โดยให้คติธรรมโรคอื่น ๆ หาหมอพอรักษา แต่โรคชรา หมดทางแก้ไข
พรรษาที่ ๗ หลวงพ่อใช้ได้สอนไว้ เรื่องความตายเป็นธรรมดา สังขารไม่เที่ยงแท้ มีแต่ทรุดโทรม แม้ท่านป่วยยังเอ่ยสอนธรรมธรรมะ หลวงพ่อใช้ท่านมีสติดีไม่หลงลืม ท่านได้กำหนดวันตายไว้ พอถึงตอนปลายปีท่านได้จากไปตามว่าไว้จริง ออกพรรษาจัดงานศพหลวงพ่อใช้ใด้เสร็จครบถ้วน
ก่อนมรณภาพหลวงพ่อใช้ได้สั่งไว้ว่า เมื่อท่านสิ้นแล้วให้ไปหาพระอาจารย์ชื่น วัดปากบาง ตำบลพงตึก อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวัดคร้อพนันอยู่คนละฝังแม่น้ำ เมื่อหลวงพ่อเกลี้ยงมาถึงวัดปากบางพระอาจารย์ชื่นได้รับหลวงพ่อเกลี้ยงเป็นศิษย์ เพราะก่อนหน้านั้นได้รับปากหลวงพ่อใช้เอาไว้แล้ว
หลวงพ่อเกลึ้ยงได้ศึกษาพุทธาคมจากพระอาจารย์ชื่น ด้วยความวิรยะ อุตสาหะ พระอาจารยชี่น ชื่นชมว่า หลวงพ่อเกลี้ยงเรียนได้ไว เพราะมีพื้นฐูานดีอยู่เล้ว จึงถายทอดวิชาให้ทุกสิงทุกอย่างไม่ปิดบังหลวงพ่อเกลี้ยงได้อยู่รับใช้และศึกษาวิชากับพระอาจารย์ชื่น ถึง ๕ ปี ตั้งแต่พรรษาที่ ๘ ถึง ๑๒
เมื่อศึกษาวิชาอาคมจากพระอาจารย์ชื่นจนจบ ตั้งใจจะลาพระอาจารย์กลับวัดคร้อพนัน ถิ่นบ้านเกิด พอย่างเข้าเดือน ๕ ชาวบ้านเขาใหญ ตำบลโคกตะบอง อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งอยู่ห่างจากวัดปากบาง ประมาณ ๔ กิโลเมตร ได้มาหาพระอาจารย์ชื่นเพื่อขอพระมาอยู่ดูแลจัดการวัดเขาใหญ่เป็นสมภารเจ้าวัด
พระอาจารย์ชื่น เห็นพระเกลี้ยงศิษย์รักของท่านมีความเหมาะสม เชี่ยวชาญเวทย์มนต์คาถา พอที่จะเป็นที่พึงแกชาวบ้านได้ หลวงพ่อชื่นจึงบอกให้ชาวบ้านเขาใหญ่กลับไปก่อน เมื่อถึงกำหนดชาวบ้านเขาใหญ่ได้มานิมนต์หลวงพอเกลี้ยง ไปเป็นสมภารวัดเขาใหญ่
ปี พ.ศ. ๒๔๙๑ เมื่อหลวงพ่อเกลี้ยงมาเป็นเจ้าอาวาสวัดเขาใหญ่ ซึ่งวัดในขณะนั้นยังไม่มีพระอุโบสถ มีเพียงกฏิเพียง ๒ หลัง หลัง จากนั้นหลวงพ่อเกลี้ยงท่านได้มาพัฒนาโดยดำเนินการก่อสร้างเสนาสนะภายในวัด ศาลาการเปรียญ หอระฆัง พระอุโบสถ เมรุฌาปนกิจศพ โรงเรียนประบาล ฯลฯ
หลวงพ่อเกลี้ยง อยู่วัดเขาใหญ่ได้ ๓ พรรษาโยมพ่อได้ถึงแก่มรณภาพท่านจึงได้กลับมาจัดงานศพที่วัดคร้อพนัน พอเสร็จงานได้กลับวัดเขาใหญ่
ปี พ ศ ๒๔๙๔ สร้างโรงเรียนประชาบาล เพื่อให้ลูกหลาน ของชาวบ้านเขาใหญ่และหมู่บ้านใกล้เคียงได้เล่าเรียน เพื่อความเจริญก้าวหน้า
ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ สร้างศาลาการเปรียญ ศาลาเอนกประสงค์เพื่อประกอบการบุญการกุศลของชาวบ้าน เขาใหญ่
ปี พ.ศ. ๒๕๐๓ สร้างกุฏิสงฆ์และปี พ.ศ. ๒๕๐๔ ต่อมาได้ขุดสระน้ำ เพื่อวางรากฐานการสร้างพระอุโบสถพอถึง
ปี พ.ศ. ๒๕๑๐ โยมเม่ของหลวงพ่อเกลี้ยงได้ถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา หลวงพ่อเกลี้ยงท่านต้องกลับมาจัดงานศพของโยมแม่ที่วัดคร้อพนัน อีกครั้งหนึ่ง
นับว่าหลวงพ่อเกลี้ยงเป็นผู้มีความกตัญญูรู้คณผู้มีพระคุณ เมื่อโยมบิดามารดาเจ็บไข้ได้ป่วย ท่านจะมาคอยดูแลรักษาโดยตลอด จนกระทั่งโยมบิดามารดาถึงแก่กรรมท่านก็จัดงานศพโดยเรียบร้อย
ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ หลวงพ่อเกลี้ยงได้รับตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ที่ "พระครูอินทรสรวุฒิคุณ"
ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ทางวัดเขาใหญ่ได้จัดงานฉลองพระอุโบสถผูกพัทธสีมาปิดทองฝังลูกนิมิต ชึ่งพระอุโบสถนี้ หลวงพ่อเกลี้ยงได้ออกแบบก่อสร้างได้อย่างสวยงามมาก ประตูและหน้าต่างพระอุโบสถแกะจากไม้สักลวดลายฉลุเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ หน้าบรรณพระอุโบสถด้านบนเป็นพระปางนาคปรก ด้านล่างพระนารายณ์ทรงโค
หลังจากงานผูกพัทธสีมาปิดทองฝังลูกนิมิต หลวงพ่อเกลี้ยงมีสุขภาพอ่อนแอ เนื่องจากตรากตรำงานหนักนับแต่รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเขาใหญ่ ซึ่งการสร้างเสนาสนะภายในวัดหลวงพ่อเกลี้ยงท่านตั้งใจสร้างด้วยความพากเพียร ตัดไม้เอง เลื่อยไม้เอง
เมื่อย่างเข้าสู่วัยชราเกิดโรคเเทรกซ้อนเป็นเวลา ๑ ปี มีอาการหนัก ลูกศิษย์จึงนำท่านส่งโรงพยาบาล แต่อาการมีแต่ทรงและทรุดหนักลง หลังจากรักษาอยู่ ๑ ปีครึ่ง ลูกศิษย์จึงนำหลวงพ่อเกลี้ยงกลับวัดเขาใหญ่โดยมีลูกศิษย์คอยดูแลปรนนิบัต เเต่ด้วยวัยชรา
หลวงพ่อเกลี้ยง ได้มรณภาพด้วยโรคชราอย่างสงบ ณ วัดเขาใหญ่ เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ นับรวมสิริอายุได้ ๘๒ ปี ๖๓ พรรษา
วัตถุมงคลของหลวงพ่อเกลี้ยง วัดเขาใหญ่
เหรียญหลวงพ่อเกลี้ยง วัดเขาใหญ่ รุ่นแรก
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ เพื่อแจกจ่ายให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ในการสร้างเสนาสนะต่างๆภายในวัด ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่แบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้ออัลปาก้า เนื้อทองแดง และเนื้อทองแดงกระไหล่ทอง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่อเกลี้ยง วัดเขาใหญ่ รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ เนื้อทองแดงกระไหล่ทอง |
เหรียญหลวงพ่อเกลี้ยง วัดเขาใหญ่ รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ เนื้ออัลปาก้า |
เหรียญหลวงพ่อเกลี้ยง วัดเขาใหญ่ รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ เนื้อทองแดง |
เหรียญหลวงพ่อเกลี้ยง วัดเขาใหญ่ รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ เนื้อทองแดงรมดำ |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อเกลี้ยง ครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูเกลี้ยง อินฺทสโร วัดเขาใหญ่ อ.ท่ามะกา"
ด้านหลัง มีอักขระยันต์ ใต้ยันต์มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "จ.กาญจนบุรี"
เหรียญหลวงพ่อเกลี้ยง วัดเขาใหญ่ รุ่นสอง
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๕
เพื่อแจกจ่ายให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ในการสร้างเสนาสนะต่างๆภายในวัด
ลักษณะเป็นเหรียญเสมาแบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้ออัลปาก้า และเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้ ข้อควรระวังสำหรับเหรียญรุ่นนี้จะมีการเอาเหรียญย้อนมาเล่นหาเป็นพระที่ทันหลวงพ่อ ให้สังเกตุตรงไม้เอกของคำว่า วัดเขาใหญ่ ของย้อนจะอยู่บนตัว ห.หีบ ซึ่งสร้างโดยอาจารย์แถม ประมาณปี ๒๕๔๐ กว่าๆ
เหรียญหลวงพ่อเกลี้ยง วัดเขาใหญ่ กาญจนบุรี รุ่นสอง ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ เนื้ออัลปาก้า |
เหรียญหลวงพ่อเกลี้ยง วัดเขาใหญ่ กาญจนบุรี รุ่นสอง ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ เนื้อทองแดง |
เหรียญหลวงพ่อเกลี้ยง วัดเขาใหญ่ กาญจนบุรี ย้อนยุคอาจารย์แถมสร้าง เนื้ออัลปาก้า |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อเกลี้ยง ครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อเกลี้ยง วัดเขาใหญ่"
ด้านหลัง มีอักขระยันต์ ใต้ยันต์มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี"สมเด็จหลวงพ่อเกลี้ยง วัดเขาใหญ่
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ เพื่อแจกจ่ายให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ในการสร้างเสนาสนะต่างๆภายในวัด ซึ่งในปีนั้นได้ทำพิธีในวันเสาร์ห้า ลักษณะเป็นพระสมเด็จพิมพ์สี่เหลี่ยมเนื้อผงพุทธคุณ โดยผงพุทธคุณต่างๆ นั้นเป็นผงที่ได้รวบรวมโดยหลวงพ่อ และผงที่หลวงพ่อได้ลบเองผสมอยู่ด้วย จำนวนการสร้าง ๕,๐๐๐ องค์สมเด็จหลวงพ่อเกลี้ยง วัดเขาใหญ่ กาญจนบุรี ปี พ.ศ. ๒๕๑๖ |
ด้านหน้า เป็นรูปพระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ ประทับนั่งบนฐาน ๓ ชั้น ครอบด้วยซุ้มระฆังสวยงาม
ด้านหลัง มีสัญลักษณ์ธรรมจักร ใต้ธรรมจักรมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "วัดเขาใหญ่"เหรียญใบโพธิ์หลวงพ่อเกลี้ยง วัดเขาใหญ่ รุ่นพิเศษ
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ เพื่อแจกจ่ายให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ในการสร้างเสนาสนะต่างๆภายในวัด ลักษณะเป็นเหรียญรูปใบโพธิ์แบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อเงิน และเนื้อนวะโลหะ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
เหรียญใบโพธิ์หลวงพ่อเกลี้ยง วัดเขาใหญ่ รุ่นพิเศษ ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ เนื้อเงิน |
เหรียญใบโพธิ์หลวงพ่อเกลี้ยง วัดเขาใหญ่ รุ่นพิเศษ ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ เนื้อเงิน |
เหรียญใบโพธิ์หลวงพ่อเกลี้ยง วัดเขาใหญ่ รุ่นพิเศษ ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ เนื้อนวะโลหะ |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อเกลี้ยง นั่งสมาธิเต็มองค์ องค์หลวงพ่อห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "รุ่นพิเศษ อินทสรวุฒิคุณ"
ด้านหลัง มีอักขระยันต์ ใต้ยันต์มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "เขาใหญ่ อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี"เหรียญกริ่งหลวงพ่อเกลี้ยง วัดเขาใหญ่
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ เพื่อแจกจ่ายในงานผูกพัทธสีมาของวัดเขาใหญ่ ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่แบบมีหูในตัว แต่มีเอกลักษณ์ที่มีการบรรจุเม็ดกริ่ง มีการสร้างด้วยเนื้อนวะหน้ากากเงิน และเนื้อทองแดงกระไหล่ทอง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
เหรียญกริ่งหลวงพ่อเกลี้ยง วัดเขาใหญ่ ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ เนื้อนวะหน้ากากทองคำ |
เหรียญกริ่งหลวงพ่อเกลี้ยง วัดเขาใหญ่ ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ เนื้อนวะหน้ากากเงิน |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อเกลี้ยง ครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูอินฺทสรวุฒิคุณ"
ด้านหลัง มีอักขระยันต์ และมีนูนเนื่องจากมีการบรรจุเม็ดกริ่ง มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "งานผูกพัทธสีมา วัดเขาใหญ่ อ.ท่ามะการ จ.กาญจนบุรี" ใต้ยันต์มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อเกลี้ยง"ล็อกเก็ตหินอ่อนหลวงพ่อเกลี้ยง วัดเขาใหญ่
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ เพื่อแจกในงานปิดทองฝังลูกนิมิตรของทางวัด ลักษณะเป็นล็อกเก็ตหินอ่อนสกีนรูปหลวงพ่อ โดยมีการเลี่ยมทองเดิมมาจากวัด มีการสร้างอยู่ด้วยกันเพียง ๓ แบบ คือรูปไข่ขนาดเล็ก รูปไข่ขนาดใหญ่ และรูปหัวใจ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
ล็อกเก็ตหินอ่อนหลวงพ่อเกลี้ยง วัดเขาใหญ่ กาญจนบุรีปี พ.ศ. ๒๕๒๐ |
ล็อกเก็ตหินอ่อนหลวงพ่อเกลี้ยง วัดเขาใหญ่ กาญจนบุรีปี พ.ศ. ๒๕๒๐ |
ด้านหน้า เป็นรูปหลวงพ่อเกลี้ยง ครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "อินทสรวุฒิคณ"
ด้านหลัง มีอักขระยันต์ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ฝังลูกนิมิตร วัดเขาใหญ่"พระบูชาหลวงพ่อเกลี้ยง วัดเขาใหญ่ รุ่นแรก
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ เพื่อแจกในงานปิดทองฝังลูกนิมิตรของทางวัด ลักษณะเป็นรูปหล่อบูชาขนาดหน้าตัก ๕ นิ้ว สร้างด้วยเนื้อโลหะทองเหลือง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้พระบูชาหลวงพ่อเกลี้ยง วัดเขาใหญ่ กาญจนบุรี ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ เนื้อทองเหลือง |
ด้านหน้า รูปจำลองหลวงพ่อเกลี้ยง นั่งสมาธิเต็มองค์บนฐานเขียง องค์หลวงพ่อห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ ที่ฐานเขียงมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อเกลี้ยง วัดเขาใหญ่ กาญจนบุรี"
ด้านหลัง ไม่ปรากฏอักขระภาษาไทยใดๆ ใต้ฐานกลวงไม่มีดินไทย รูปหล่ออุดกริ่งหลวงพ่อเกลี้ยง วัดเขาใหญ่ รุ่นแรก
รูปหล่อหลวงพ่อเกลี้ยง วัดเขาใหญ่ กาญจนบุรี รุ่นแรก ทองเหลือง อุดกริ่ง |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อเกลี้ยง นั่งสมาธิเต็มองค์บนฐานเขียง องค์หลวงพ่อห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ ที่ฐานมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อเกลี้ยง"
ด้านหลัง ไม่มีอักขระยันต์ใดๆ ที่ฐานเขียงมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "วัดเขาใหญ่"ผ้ายันต์หลวงพ่อเกลี้ยง วัดเขาใหญ่
สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ลักษณะเป็นผ้าสีขาวพิมพ์ยันต์หมึกสีดำ จัดเป็นเครื่องรางที่หายากของหลวงพ่อ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้ผ้ายันต์หลวงพ่อเกลี้ยง วัดเขาใหญ่ กาญจนบุรี |
ด้านหน้า เป็นอักขระยันต์ดวง มีเอกลักษณ์ที่สามารถจดจำได้ง่าย แต่ไม่ปรากฏอักขระภาษาไทยใดๆ
ด้านหลัง ไม่มีอักขระยันต์ใดๆ แต่ในบางผืนจะเป็นแบบ ๒ หน้า (หายาก)
ผ้ายันต์พระพุทธหลวงพ่อเกลี้ยง วัดเขาใหญ่
สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. ๒๕๒๐ เพื่อแจกในงานปิดทองฝังลูกนิมิตรของทางวัด ลักษณะเป็นผ้าสีขาวพิมพ์ยันต์หมึกสีดำ จัดเป็นเครื่องรางที่หายากของหลวงพ่อ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
ผ้ายันต์พระพุทธหลวงพ่อเกลี้ยง วัดเขาใหญ่ กาญจนบุรี ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ |
ด้านหน้า เป็นอักขระยันต์รูปพระ มีเอกลักษณ์ที่สามารถจดจำได้ง่าย ใต้ย้ันต์มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ที่ระลึกในงานฝังลูกนิมิต วัดเขาใหญ่ อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี พ.ศ. ๒๕๒๐"
ด้านหลัง ไม่มีอักขระยันต์ใดๆ
ผ้ายันต์ธงหลวงพ่อเกลี้ยง วัดเขาใหญ่
สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. ๒๕๒๐ เพื่อแจกในงานปิดทองฝังลูกนิมิตรของทางวัด ลักษณะเป็นผ้าสีเหลืองทรงสามเหลี่ยม พิมพ์ยันต์หมึกสีดำ มีชายธงเป็นเส้นด้าย จัดเป็นเครื่องรางที่หายากของหลวงพ่อ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
ผ้ายันต์ธงหลวงพ่อเกลี้ยง วัดเขาใหญ่ กาญจนบุรี ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ |
ด้านหน้า เป็นอักขระยันต์ที่มีเอกลักษณ์ที่สามารถจดจำได้ง่าย ใต้ย้ันต์มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ที่ระลึกในงานฝังลูกนิมิต วัดเขาใหญ่ อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี พ.ศ. ๒๕๒๐"
ด้านหลัง ไม่มีอักขระยันต์ใดๆ
หวายคาดเอวหลวงพ่อเกลี้ยง วัดเขาใหญ่
สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. ๒๕๒๐ สร้างจากหวายที่ตัดมาอย่างถูกต้องตามตำราของหลวงพ่อเกลี้ยง ซึ่งวิชาหวายลงอาคมของหลวงพ่อเกลี้ยงนั้น จัดว่าเป็นของดี หายาก หวายของหลวงพ่อเกลี้ยง มีเอกลักษณ์ตรงที่หวายของหลวงพ่อเกลี้ยงจะใช้หวายเต็มทั้งเส้นไม่มีการผ่า (ถ้าผ่าเชื่อกันว่าสร้างในยุคแรกๆ)
หวายคาดเอวหลวงพ่อเกลี้ยง วัดเขาใหญ่ กาญจนบุรี |
ส่วนตรงหัวจะถักด้วยด้ายดิบเพื่อใช้คาดเอว โดยส่วนหัวเป็นกลมๆ ซึ่งหวายจะมีรอยจารเต็มทั้งเส้น ในด้านพุทธคุณนั้น เชื่อกันว่าเมตตา มหานิยม ค้าขายเป็นเลิศ แก้คุณไสย์มนต์ดำ แคล้วคลาด นับเป็นของดีที่น่าเสาะหาเป็นอย่างมาก
ไม่มีความคิดเห็น