ประวัติและวัตถุมงคลหลวงปู่ดี วัดบ้านยาง เจ้าของพระปิดตาเนื้อเมฆพัตร ที่แสนจะหายาก
หลวงปู่ดี วัดบ้านยาง นครปฐม |
หลวงปู่ดี วัดบ้านยาง ท่านถือว่าเป็นพระเกจิอาจารย์ยุคเก่าของจังหวัดราชบุรี ซึ่งในสมัยนั้นวัดบ้านยางยังขึ้นอยู่กับจังหวัดราชบุรี โดยสมัยก่อนวัดบ้านยาง อยู่ในเขตพื้นที่บ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ก่อนที่จะมีการแบ่งเขตปกครองใหม่ ทำให้ไปขึ้นกับตำบลโพลงมะเดื่อ จังหวัดนครปฐม
หลวงปู่ดีท่านเป็นพระเกจิยุคเดียวรุ่นเดียวกับหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก หลวงพ่อฟัก วัดบ้านโป่ง ถือเป็นพระเถระที่มีความศักดิ์สิทธิ์มากองค์หนึ่งเลยทีเดียว โดยท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านยาง และเป็นพระอุปัชฌาย์ให้กับพระเกจิอีกหลายๆองค์ ยกตัวอย่างเช่นหลวงปู่จันทร์ วัดบ้านยาง หลวงพ่อเกลี้ยง วัดเฉลิมอาสน์ ราชบุรี เป็นต้น
หลวงปู่ดี วัดบ้านยาง นครปฐม |
หลวงปู่ดี นั้นประวัติท่านไม่ได้มีการจดบันทึกไว้ แต่พอจะสันนิษฐานว่าท่านน่าจะเป็นคนบ้านโป่ง ราชบุรี มีนามเดิมว่า ดี นามสกุล บัวนาก เกิดเมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๐๓ ไม่ปรากฏบันทึกชื่อของโยมบิดาและโยมมารดาของท่าน
ปี พ.ศ. ๒๔๒๓ ท่านมีอายุครบบวช จึงได้เข้ารับการอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดบ้านยาง ได้รับฉายาว่า "จนโชติ" โดยมี
หลวงพ่อเกิด วัดโพธิ์บัลลังค์ เป็นพระอุปัชฌาย์
หลวงพ่อพุ่ม วัดบ้านยาง เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระจันทร์ วัดบ้านยาง เป็นพระอนุสาวนาจารย์
เมื่ออุปสมบทแล้วท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านยาง เรื่อยมา ซึ่งในสมัยนั้นหลวงพ่อพุ่ม เจ้าอาวาสวัดบ้านยาง เป็นที่นับถือของชาวบ้านแถวนั้นมาก ทำให้มีพระมาบวชที่วัดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยรูป จนต้องแบ่งวัดออกเป็นวัดบ้านยางนอก และวัดบ้านยางใน เพื่อให้ง่ายในการปกครอง จนต่อมาวัดได้เสื่อมลงจึงยุบรวมวัดเข้าด้วยกันเป็นวัดบ้านยาง อย่างในปัจจุบัน
หลวงพ่อชื่น วัดบ้านโป่ง(ซ้าย) หลวงพ่อดี วัดบ้านยาง(กลาง) และหลวงพ่อจันทร์ วัดบ้านยาง(ขวา) |
หลวงปู่ดี ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านยาง เรื่อยมา จนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านยาง และเป็นพระอุปัชฌาย์ตามลำดับ ซึ่งในยุคของหลวงปู่ดีนั้น วัดบ้านยางเริ่มกลับมาเจริญรุ่งเรืองอีกครั้ง
ด้วยเหตุที่หลวงปู่ดี ท่านมีวิชาอาคมเข้มขลัง เป็นที่เลื่อมใสชาวบ้านโพลงมะเดื่อ และพื้นที่ใกล้เคียงเป็นอย่างมาก แต่น่าเสียดายที่ไม่มีประวัติบันทึกว่าท่านร่ำเรียนวิชาอาคมมาจากพระเกจิท่านใด
หลวงปู่ดี วัดบ้านยาง ท่านปกครองวัดเรื่อยมาจนมรณภาพในปี พ.ศ. ๒๔๖๖ ด้วยโรคบิด นับรวมสิริอายุได้ ๖๓ ปี ๔๓ พรรษา.
วัตถุมงคลหลวงปู่ดี วัดบ้านยาง
หลวงปู่ดี ท่านจัดเป็นคือ คณาจารย์ยุคเก่าแก่ของเมืองนครปฐมที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ท่านได้สร้างพระปิดตา พิมพ์ข้าวต้มมัด เนื้อเมฆพัด มีพุทธคุณโดดเด่น ในด้านคงกระพันชาตรีและเมตตามหานิยม
โดยพระของท่านถูกจัดอยู่ในทำเนียบเบญจภาคี
พระปิดตาเนื้อเมฆพัดของเมืองไทย สำหรับพระปิดตา มหาอุตม์ หลวงปู่ดี
วัดบ้านยาง จังหวัดนครปฐม ท่านจัดสร้างก่อนพ.ศ. ๒๔๖๖ เป็นลักษณะ
เนื้อเมฆพัด แบบพิมพ์ข้าวต้มมัด มีทั้งพิมพ์แต่ง และ ไม่แต่ง
พระปิดตาพิมพ์มัดข้าวต้ม หลวงปู่ดี วัดบ้านยาง
สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. ๒๔๖๐ เป็นต้นมา
ลักษณะเป็นพระปิดตามหาอุตย์ มีการจัดสร้างด้วยเนื้อเมฆพัตรเพียงชนิดเดียว
โดยที่หลวงปู่ดี ได้ทำการหลอมเนื้อเมฆพัตรเองที่วัด
พระทุกองค์จะต้องมีรอยจารของหลวงพ่อ
ไม่มีการจดบันทึกจำนวนการสร้างที่แน่นอน แต่เข้าใจว่าสร้างในปริมาณที่น้อย และเมื่อแจกหมดก็ทยอยสร้างเรื่อยๆ
คนเฒ่าคนแก่ที่ได้รับแจกต่างหวงแหนเป็นอย่างยิ่ง
เนื่องจากมีประสพการณ์ด้านคงกระพันชาตรีเป็นที่ประจักษ์
พระปิดตาหลวงพ่อดี วัดบ้านยาง พิมพ์มัดข้าวต้ม ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ |
พระปิดตาหลวงพ่อดี วัดบ้านยาง พิมพ์มัดข้าวต้ม ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ พิมพ์แต่ง |
พระปิดตาหลวงพ่อดี วัดบ้านยาง พิมพ์มัดข้าวต้ม ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ |
พระปิดตาหลวงพ่อดี วัดบ้านยาง พิมพ์มัดข้าวต้ม ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ พิมพ์ไม่แต่ง |
พระปิดตาหลวงพ่อดี วัดบ้านยาง พิมพ์มัดข้าวต้ม ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ พิมพ์แต่ง |
ด้านหน้า เป็นรูปพระปิดตาภควัมปติ โดยมี มือคู่ที่หนึ่งปิดตา มือคู่ที่สองปิดหู มือคู่ที่สามปิดท้อง และมือคู่สุดท้ายเอื้อมมาปิดทวาร โดยร่องนิ้วมีทั้งที่แต่งตะไบและไม่แต่งตะไบ
ด้านหลัง สามารถแบ่งออกเป็นปล้องๆได้ ๔ ปล้อง ซึ่งเป็นที่มาของชื่อพิมพ์ "มัดข้าวต้ม" องค์พระจะมีรอยจารทุกองค์
เหรียญงานศพหลวงพ่อดี วัดบ้านยาง
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๖๖ เพื่อเป็นที่ระลึกงานศพของหลวงพ่อดี วัดบ้านยาง คนแก่เล่าต่อๆกันมาว่าหลวงปู่จันทร์ วัดบ้านยาง ปลุกเสกให้
ลักษณะเป็นเหรียญเสมาข้างเลื่อย
มีหูเชื่อมสำหรับคล้องกับสร้อย มีการสร้างด้วยกัน ๒ เนื้อ
คือเนื้อเงินและเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างมิได้มีการระบุไว้ ในสมัยก่อน
มีพวกพ่อค้าพระใจบาปนำเหรียญไปฝนลบคำว่า "งานศพ" ออกเพื่อหลอกขายว่าเพื่อจะขายให้ได้ราคา จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่อดี วัดบ้านยาง ปี พ.ศ. ๒๔๖๖ เนื้อทองแดงกระไหล่ทอง ของคุณธกรณ์ ทองประสิทธิ์ |
เหรียญหลวงพ่อดี วัดบ้านยาง ปี พ.ศ. ๒๔๖๖ เนื้อเงิน ของคุณบอย บ้านยาง |
|
ด้านหน้า มีรูปหลวงพ่อดีครึ่งองค์ ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ ด้านในขอบเสมาด้านล่างเป็นโบภายในโบมีข้อความขอมอ่านได้ว่า "จนโชติ" ขอบเหรียญด้านหน้าเขียนอักขระล้อมรอบล้อไปกับทรงเสมาของเหรียญ
ด้านหลัง มีอักขระยันต์และมีอักขระภาษาไทยด้านบนเขียนว่า "ที่ระฦกงานศพ" ด้านล่างมีข้อความภาษาไทยเขียนว่า "พ.ศ.๒๔๖๖" ซึ่งเป็นปีที่มีการจัดงานศพของหลวงพ่อ โดยด้านหลังจะมีบล็อกด้วยกัน ๒ บล็อก ต่างกันที่ตัวเลข ๖๖ มีการแกะผิดกลับไปอีกด้านหนึ่ง
บทความที่เกี่ยวข้อง
***-[เป็นกำลังใจและสนับสนุนให้เราเขียนบทความดีๆ ช่วยกดดูโฆษณาด้านล่างนะคะ]-***
น่าจะยุคหลังหลวงพ่อทา เยอะครับ
ตอบลบหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก มรณะ 2459 หลวงปู่ดี มรณะ 2466 ถ้านับการดำรงอยู่ใกล้เคียงกันครับไม่ได้ห่างกันเยอะ แต่ถ้านับอายุพ่อทา 83 หลวงปู่ดี 63 ก็ห่างกันเยอะครับ
ลบ