ไขข้อข้องใจรูปหล่อเล็กหลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม เก๊-แท้ ดูกันตรงไหน? และคาถาเดินธุดงค์ครั้งแรกของหลวงพ่อ
หลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม ท่านเป็นพระเกจิลุ่มน้ำแม่กลองที่เก่งกาจรูปหนึ่ง สมัยหนุ่มๆ ท่านเดินธุดงค์ไปกับหลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ เพื่อไปเรียนวิชากับหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า พระเครื่องของท่านเป็นที่แสวงหาของผู้คนที่นิยมสะสมพระเครื่องเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์มาแล้วนักต่อนัก
หลวงพ่อชุ่ม ท่านมีศิษย์เอกที่สืบทอดวิชามาจากท่านมากมาย อาธิเช่น หลวงพ่อเชย วัดตาลบำรุงกิจ หลวงพ่อเชย วัดเกาะลอย หลวงพ่อป้อม วัดราชคาม อาจารย์หนู วัดท่าสุวรรณ นอกจากนี้ยังมีศิษย์สายฆราวาสอีกหลายท่าน
ด้วยพระเครื่องของท่านเป็นที่ปราถนาของนักนิยมสะสมพระเครื่องมากขึ้น ของเทียมเลียนแบบจึงมีการสร้างออกมาวัดสายตาของนักสะสม ทั้งเหรียญตะพาบปี พ.ศ. ๒๔๘๖ ทั้งเหรียญรูปไข่ปี พ.ศ. ๒๔๙๔ รูปหล่อใหญ่ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งมีปลอมตั้งแต่ออกจากวัดใหม่ๆเลยทีเดียว และรูปหล่อเล็กที่สร้างปี พ.ศ. ๒๔๙๙ (แจกปี พ.ศ. ๒๕๐๐)
ซึ่งรูปหล่อเล็กหลวงพ่อชุ่ม ที่ออกปี พ.ศ. ๒๕๐๐ เพื่อแจกในงานศพของท่านนั้น ซึ่งได้รับความนิยมเล่นหากันมากขึ้น เนื่องจากขนาดที่เล็กห้อยคอได้สบายๆไม่หนักมาก ทั้งพระเกจิที่มาปลุกเสกให้อาธิเช่น หลวงพ่อเม้ย วัดลาดเมธัง หลวงพ่อเชย วัดตาลบำรุงกิจ หลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขาราม หลวงพ่อป้อม วัดราชคาม นอกจากนี้หลวงพ่อป้อม ยังมีการโยงสายสิญย์มาจากโลงศพของหลวงพ่อชุ่ม เพื่อขอบารมีจากหลวงพ่ออีกด้วย
ปัจจุบันรูปหล่อเล็กเริ่มเป็นที่นิยมมีราคาค่างวดมากขึ้น จึงทำให้พวกมิจฉาชีพได้ทำการปลอมแปลง รูปหล่อเล็กของหลวงพ่อเพื่อมาหลอกขาย ซึ่งก็ได้ผลจริงๆ ด้วยการถอดพิมพ์ที่ใกล้เคียง การอุดกริ่งที่ทำค่อนข้างดี ดูเผินๆอาจเข้าใจผิดได้ จนมีร้านที่ออกใบเซอร์ต่างๆ ออกใบเซอร์ให้กับพระเก๊เหล่านี้เลยทีเดียว
แต่ของแท้และของเก๊สามารถแยกออกได้ง่ายๆด้วยโค้ด "พระครูชุ่ม" ที่ตอกไว้ในองค์ที่ชัดเจน แต่ในบางองค์ที่ตอกไม่ชัดหล่ะ
หรือบางคนที่แนวความคิดว่าโค้ดรูปหล่อเล็กมี ๒ แบบ ซึ่ง
สามารถอธิบายให้เข้าใจง่ายๆว่า พระที่สร้างแค่ประมาณ ๕๐๐ องค์
และสร้างห่างจากรูปหล่อใหญ่ ที่สร้างปี พ.ศ. ๒๔๙๗
และออกบูชาเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ซึ่งห่างจากรูปหล่อเล็กแค่ ๒ ปี หลวงพ่อป้อมท่านจะสร้างโค้ดมาอีกอันทำไม และรูปหล่อเล็กที่แท้ดูง่ายก็ใช้โค้ด "พระครูชุ่ม" ที่ตอกจากรูปหล่อใหญ่ทั้งสิ้น แล้วจะทำโค้ดมาใหม่เพื่อตอกพระอีกทำไม
วันนี้สารานุกรมพระเครื่องจึงขอเปรียบเทียบพระรูปหล่อเล็กของหลวงพ่อชุ่ม วัดราชคาม ทั้งแท้และเก๊มาเทียบกัน ซึ่งของเก๊นั้นมีออกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ เพื่อให้เห็นข้อแตกต่างกันดังนี้
เบื้องต้นให้พิจารณาขนาดของพระทั้ง ๒ แบบ จะมีความแตกต่างกันชัดเจน ในพระแท้จะมีขนาดที่สูงเพรียวกว่าพระเก๊
รูปหล่อเล็กหลวงพ่อชุ่มวัดราชคาม ด้านหน้าแท้-เก๊ องค์ที่ ๑ |
รูปหล่อเล็กหลวงพ่อชุ่มวัดราชคาม ด้านหน้าแท้-เก๊ องค์ที่ ๒ |
ของแท้ ด้านหน้าขององค์หลวงพ่อชุ่ม จะมีหน้าตาที่แตกต่างกัน แต่จะคงเอกลักษณ์ของพระแท้ไว้ เนื่องจากรูปหล่อเล็กนั้นเป็นพระหล่อโบราณจึงทำให้หน้าตาของหลวงพ่อแต่ละองค์จะมีความแตกต่างกัน และมีช่วงคอที่ยาวกว่าพระเก๊
ของเก๊ ด้านหน้าองค์พระจะเตี้ยกว่าของแท้ เนื่องจากช่วงคอสั้นกว่าของแท้ มีใบหน้ากลม และมีหน้าตาเหมือนกันแทบจะทุกองค์ซึ่งผิดธรรมชาติของพระหล่อโบราณ
รูปหล่อเล็กหลวงพ่อชุ่มวัดราชคาม ด้านหน้าแท้-เก๊ องค์ที่ ๑ |
รูปหล่อเล็กหลวงพ่อชุ่มวัดราชคาม ด้านหน้าแท้-เก๊ องค์ที่ ๒ |
ของเก๊ ด้านหลังองค์พระจะเตี้ยกว่าของแท้เนื่องจากช่วงคอสั้นกว่าของแท้ ริ้วจีวรแข็งกระด้างขาดความสวยงาม
รูปหล่อเล็กหลวงพ่อชุ่มวัดราชคาม ด้านใต้ฐานแท้-เก๊ องค์ที่ ๑ |
รูปหล่อเล็กหลวงพ่อชุ่มวัดราชคาม ด้านใต้ฐานแท้-เก๊ องค์ที่ ๒ |
ของแท้
ด้านใต้ฐาน ในบางองค์จะมีรอยตะไบหยาบๆ บางอค์ตะไบเรียบ โค้ดที่ตอกคำว่า "พระครูชุ่ม"
มีความเป็นธรรมชาติ และเป็นโค้ดเดียวกับที่ตอกในรูปหล่อใหญ่ของหลวงพ่อ
รอยอุดทองแดงในองค์ที่ไม่ผ่านการใช้จะกลมกลืนไปกับเนื้อทองเหลือง
เกร็ดเล็กน้อยจากปากอาจารย์ สมัยก่อนข้าพเจ้าเคยได้รับการบอกเล่าจากปากของหลวงพ่อป้อม อดีตเจ้าอาวาสวัดราชคาม ถึงคาถาที่หลวงพ่อชุ่มใช้ในการเดินธุดงค์ว่า สมัยนั้นหลวงพ่อป้อมสงสัยมากที่หลวงพ่อชุ่มเดินธุดงค์ไปตามที่ต่างๆ
จึงสอบถามว่าในครั้งแรกที่เดินธุดงค์นั้นหลวงพ่อชุ่ม ใช้คาถาอะไรในการเดินธุดงค์ ซึ่งในสมัยก่อนนั้นมีความอันตรายเป็นอย่างมาก ทั้งไข้ป่า ผีสาง คุณไสย์ และสัตว์ร้ายต่างๆ ที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต และก็มีพระภิกษุไม่น้อยที่เสียชีวิตจากการเดินธุดงค์ก็มี ซึ่งหลวงพ่อชุ่มได้กล่าวกับหลวงพ่อป้อมว่า
ในครั้งแรกๆที่เดินธุดงค์นั้นคาถาอาคมของท่าน ยังไม่ได้เก่งกาจอะไรมากด้วยพรรษายังน้อยไม่ได้คงแก่เรียนด้วยท่านเป็นพระบ้าน แต่เมื่อเดินทางไปธุดงค์ในที่ไหนก็ตาม ท่านจะตั้งจิตแนวแน่ พร้อมทั้งสวดมนต์บทพาหุงฯ ตลอดการเดินทาง ซึ่งท่านบอกว่าเป็นพระคาถาที่ง่ายและดี จนท่านปลอดภัยจากพยัญตรายต่างๆนั่นเอง.
โดย : สารานุกรมพระเครื่องลุ่มน้ำแม่กลอง
บทความที่เกี่ยวข้อง
***-[เป็นกำลังใจและสนับสนุนให้เราเขียนบทความดีๆ ช่วยกดดูโฆษณาด้านล่างนะคะ]-***
ไม่มีความคิดเห็น