พระกรุวัดตะโหนดราย พระกรุอายุร่วมร้อยปีของเมืองแม่กลอง
วัดตะโหนดราย อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม |
พระกรุวัดตะโหนดราย ถือเป็นพระกรุที่เก่าแก่ที่สุดของเมืองสมุทรสงคราม ถึงแม้ว่าเมืองสมุทรสงครามนั้นจะมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน แต่กลับมีพระกรุขึ้นแค่เพียงวัดเดียวนั้นก็คือวัดตะโหนดราย ซึ่งสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๓- ๒๔
แตกกรุเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ในสมัยที่พระอธิการเท เป็นเจ้าอาวาสวัดตะโหนดราย เท่าที่พบเห็นมีอยู่ด้วยกัน ๒ พิมพ์คือพิมพ์พระประธาน(ฐานผ้าทิพย์) และพิมพ์นาคปรก โดยมีการสร้างด้วยกัน ๒ เนื้อคือเนื้อดินเผา และเนื้อชิน(หายาก) จำนวนการสร้างรวมกันหลักหมื่นองค์
พระครูสมุทรวรการ (พระอุปัชฌาย์เท ฉนฺโน) ท่านเป็นเจ้าอาวาส รูปที่ ๗ ของวัดตะโหนดราย ท่านมีนามเดิมว่า เท นามสกุล อินทร์จันทร์ ท่านเป็นอดีตเจ้าคณะหมวดบางคนที (เจ้าคณะตำบลในสมัยนี้) และเป็นถึงพระครูสัญญาบัตรชั้นเอก
หลวงพ่อเท หรือ พระครูสมุทรวรการ อดีตเจ้าอาวาสวัดตะโหนดราย สมุทรสงคราม |
ขึ้นครองวัดตะโหนดราย ในปี พ.ศ. ๒๔๘๖ หลวงจากที่หลวงพ่อเบี้ยวถึงแก่มรณภาพ และพระอธิการเทได้ปกครองวัดจนถึงแก่มรณภาพลงในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ รวมครองวัดถึง ๓๙ ปี
วัดตะโหนดราย เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลบางกระบือ อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม
วัดตะโหนดราย ได้ขอตั้งเป็นวัดเมื่อปี
พ.ศ. ๒๓๓๕ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ ๑)
แต่เดิมเป็นสวนต้นตาลโตนดเรียงรายอยู่หลายต้นจึงได้ชื่อว่า "วัดตะโหนดราย"
ต่อมามีนายปาน และนางแป้ง ได้ช่วยสร้างอุโบสถให้ ๑ หลัง และกุฏิสงฆ์อีก ๕ หลัง ซึ่งปัจจุบันนี้ทรุดโทรมไปหมดแล้ว
และได้ซ่อม สร้าง ปฏิสังขรณ์ใหม่ ต่อมานางลำภู รุ่งเจริญ ได้ถวายที่ดินให้เป็นที่ธรณีสงฆ์ของวัด ๑ แปลง ขนาดเนื้อที่ ๑๒ ไร่ และ เป็นผู้มีศรัทธาอุปถัมภ์วัดด้วยดีเสมอมา
ต่อมาท่านกำนันกรึง รุ่งเจริญ และนางเม้ย รุ่งเจริญ ผู้เป็นภรรยาได้เป็นผู้นำประชาชนร่วมจัดหาทุนสร้างอาคารเรียนขึ้น ๑ หลัง ให้ชื่อว่า โรงเรียนศึกษารุ่งเจริญ
วัดตะโหนดราย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี
พ.ศ. ๒๔๒๕ ในสมัยรัชกาลที่ ๕
พระกรุวัดตะโหนดราย พิมพ์นาคปรก
แตกกรุเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ในสมัยของพระอธิการเท(เจ้าอาวาสรูปที่ ๗) สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๓- ๒๔ เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาตามคติความเชื่อของคนโบราณ โดยมีการสร้างและบรรจุไว้ภายในเจดีย์ของวัด พุทธลักษณะเป็นพระขนาดเท่าปลายนิ้ว ที่มีการค้นพบมีการสร้างด้วยกัน ๒ เนื้อ คือเนื้อชิน(หายาก) และเนื้อดินเผา จำนวนการสร้างรวม ๒ พิมพ์หลักหมื่นองค์
พระกรุวัดโตนดลาย สมุทรสงคราม เนื้อชิน พิมพ์นาคปรก |
พระกรุวัดโตนดลาย สมุทรสงคราม เนื้อดิน พิมพ์นาคปรก |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับนั่งสมาธิ บนฐานนาคปรก ๗ เศียร
ด้านหลัง เรียบ ไม่มีอักขระใดๆ
พระกรุวัดตะโหนดราย พิมพ์พระประธาน(ฐานผ้าทิพย์)
แตกกรุเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ในสมัยของพระอธิการเท(เจ้าอาวาสรูปที่ ๗) สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์
มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๓- ๒๔
เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาตามคติความเชื่อของคนโบราณ
โดยมีการสร้างและบรรจุไว้ภายในเจดีย์ของวัด พุทธลักษณะเป็นพระขนาดเท่าปลายนิ้ว ที่มีการค้นพบมีการสร้างด้วยกัน ๒ เนื้อ
คือเนื้อชิน(หายาก) และเนื้อดินเผา จำนวนการสร้างรวมทั้ง ๒ พิมพ์หลักหมื่นองค์
พระกรุวัดโตนดลาย สมุทรสงคราม เนื้อชิน พิมพ์พระประธาน |
พระกรุวัดโตนดลาย สมุทรสงคราม เนื้อดิน พิมพ์พระประธาน |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับนั่งสมาธิ บนฐานชุกชี มีผ้าทิพย์พาดสวยงาม
ด้านหลัง เรียบ ไม่มีอักขระใดๆ
ภาพ: หลวงพ่อเท จากหลวงพี่ เลขาฯ วัดตะโหนดราย กลุ่มสารานุกรมพระเครื่องลุ่มน้ำแม่กลอง
โดย : สารานุกรมพระเครื่องลุ่มน้ำแม่กลอง
บทความที่เกี่ยวข้อง
***-[เป็นกำลังใจและสนับสนุนให้เราเขียนบทความดีๆ ช่วยกดดูโฆษณาด้านล่างนะคะ]-***
ไม่มีความคิดเห็น