โฆษณาแนวนอน728*90

บทความใหม่

พระกรุวัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ) จังหวัดกาญจนบุรี พระดีพุทธคุณครอบจักรวาล

ภาพปกพระกรุวัดเหนือ กาญจนบุรี

         เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ทางวัดเหนือ จังหวัดกาญจนบุรี โดยคำสั่งของพระเทพมงคลรังษี เจ้าอาวาสวัดเหนือ (วัดเทวสังฆาราม) และเจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี ได้ทำการขุดเจาะพระเจดีย์องค์หนึ่ง เพี่อทำการบรรจุพระเครื่อง ๒๕ พุทธศตวรรษ ได้ขุดเป็นโพลงขนาดคนลอดเข้าไปได้กว้างประมาณ ๒ ศอก

         ปรากฏว่าข้างในพระเจดีย์บรรจุทรายละเอียดไว้เต็มและอัดจนแน่น ครั้นเมื่อได้ทำการขนทรายออก จึงได้พบว่าตรงกลางมีไหกระเทียมเคลือบดำบรรจุพระเครื่องต่างๆอยู่ ๑ ไห และที่ใต้ไหมีพระศิลาแลงชำรุดประมาณ ๔ - ๕ องค์ฝังล้อมรอบ

ภาพถ่ายหลวงพ่อดี วัดเหนือ กาญจนบุรี
หลวงปู่ดี วัดเหนือ หรือ พระเทพมงคลรังษี  วัดเทวสังฆาราม กาญจนบุรี

         ส่วนตรงกลางมีพระเครื่องต่างๆ ฝังปนอยู่กับทรายจำนวนมาก ทางวัดจึงได้ทำการขนเอาพระเครื่องที่พบดังกล่าวออกเกือบหมด คงเหลือติดก้นกรุไว้บ้างจำนวนเล็กน้อย พระเครื่องที่ขุดได้มีดังนี้

         ๑. พระหลวงพ่อโต หรือหลวงพ่อโบ๊ เนื้อดินเผา ปิดทองเฉพาะองค์พระกว้าง ๓ ซ.ม. สูง ๓.๕ ซ.ม. 

         ๒. พระปรุหนังฐานธรรมดา เนื้อชินปิดทอง กว้าง ๔.๕ ซ.ม. สูง ๕.๕ ซ.ม. 

         ๓. พระปรุหนังฐานบาโต๊ะ เนื้อชิน กว้าง ๔ ซ.ม. สูง ๖ ซ.ม.  

         ๔. พระปรุหนัง องค์พระใหญ่ เนื้อชินปิดทอง กว้าง ๔ ซ.ม. สูง ๖ ซ.ม.

         ๕. พระอู่ทองฐานบัว เกศขวาคต เนื้อชิน ฐานบัวกว้าง ๓ ซ.ม. สูง ๕.๓ ซ.ม.  

         ๖. พระอู่ทองเศียรจักร เนื้อชินปิดทอง รอบพระพักษ์มีเส้นรัศมีแผ่ออกไปโดยรอบ กว้าง ๕ ซ.ม. สูง ๗.๗ ซ.ม. 

         ๗. พระอู่ทอง พิมพ์เล็ก (องค์พระเล็ก) เนื้อชินปิดทอง ไม่มีฐาน กว้าง ๔.๓ ซ.ม. สูง ๖.๓ ซ.ม. 

         ๘. พระอู่ทอง พิมพ์ใหญ่ (องค์พระใหญ่) เนื้อชินปิดทอง ไม่มีฐาน กว้าง ๕ ซ.ม. สูง ๘ ซ.ม. 

         ๙. พระอู่ทองมือซ้าย เนื้อชินปิดทองเฉพาะฐานผ้าทิพย์ ฐานสูง เฉพาะฐานสูง ๖ ซ.ม. สูงรวมทั้งองค์พระรวม ๑๑ ซ.ม.  

         ๑๐. พระขุนแผนพิมพ์เล็ก เนื้อชิน พระโอษฐ์(ปาก)จู๋ แบบปากปลากัด ฐานเกษรบัวคว่ำ บัวหงาย ตรงกลางมีผ้าทิพย์ กว้าง ๓ ซ.ม. สูง ๖ ซ.ม. 

         ๑๑. พระขุนแผนพิมพ์ใหญ่ เนื้อชิน คล้ายกับพระขุนแผนพิมพ์เล็ก แต่มีขนาดฐานกว้างกว่า กว้าง ๓.๕ ซ.ม. สูง ๘.๕ ซ.ม.

         ๑๒. พระท่ากระดานหูช้าง(ตัดชิด) เกศคตขวา (ขององค์พระ) ฐานเป็นเส้นลายตะแกรง (อาจเป็นเกษรดอกบัวก็ได้) ที่ฐานปิดทองล่องชาด กว้าง ๔.๒ ซ.ม. สูง ๙.๕ ซ.ม.

         ๑๓. พระท่ากระดานหูช้าง ฐานเป็นเส้นลายตะแกรง (อาจเป็นเกษรดอกบัวก็ได้) ปิดทองล่องชาด แต่กรอบมีผนังสามเหลี่ยม กว้าง ๕.๕ ซ.ม. สูง ๑๐.๕ ซ.ม.  

         ๑๔. พระตรีกาย เนื้อชินเงิน กว้าง ๘.๕ ซ.ม. สูง ๙.๕ ซ.ม. 

         ๑๕. พระสมัยทวารวดีขนาดเล็ก ปางปฐมเทศนา (แบบนั่งห้อยพระบาท หรือนั่งเก้าอี้) เนื้อดินเผา ปิดทองล่องชาด กว้าง ๑๐.๕ ซ.ม. สูง ๑๔ ซ.ม. 

         ๑๖. พระสมัยทวารวดีขนาดใหญ่ ปางปฐมเทศนา (แบบนั่งห้อยพระบาท หรือนั่งเก้าอี้) เนื้อดินเผา ปิดทองล่องชาด กว้าง ๑๖ ซ.ม. สูง ๑๗ ซ.ม.  

         นอกจากนี้ยังมีพระท่ากระดาน พระโคนสมอปางต่างๆ เช่น ปางสมาธิ ปางมารวิชัย ปางไสยาสน์ พระชัย(พระงั่ง) และท้าวมหาชมพู เป็นต้น

พระเจดีย์ วัดเหนือ ที่แตกกรุ
พระเจดีย์ วัดเหนือ ที่มีการขุดเจาะกรุ

         จากการสัมภาษณ์พระครูสิงคีคุณธาดา เลขาเจ้าคณะจังหวัด ณ วัดเทวสังฆาราม ท่านกล่าวถึงจำนวนพระเครื่องที่ขุดพบเท่าที่จำได้ ก็มีพระท่ากระดานประมาณ ๓๐ องค์ พระท่ากระดานหูช้างประมาณ ๘๐๐ องค์ พระขุนแผนเรือนแก้ว ประมาณ ๒๐๐ องค์ พระอู่ทองเศียรจักร ประมาณ ๑๐ องค์ พระอู่ทองอีก ๓ ชนิดๆ ละประมาณ ๕๐ องค์ พระอู่ทองมือซ้าย(สะดุ้งมาร)ประมาณ ๒๕ องค์ พระปรุหนังบริบูรณ์ ๑๐ องค์ ชำรุด ๑๐ องค์ หลวงพ่อโต ๕ องค์ ท้าวมหาชมพู ๒ องค์ พระทวาราวดีอย่างละ ๑ องค์ พระชัยประมาณ ๑๐ องค์ พระโคนสมอ ๑๐๐ องค์ 

         พระครูสิงคีคุณธาดา สันนิษฐานว่าพระเครื่องดังกล่าวมีอายุหลายร้อยปีแล้ว คือเก่ากว่าพระเจดีย์ที่บรรจุ จึงเข้าใจว่าคงจะเก็บรวบรวมเอามาจากวัดร้างต่างๆในเมืองกาญจนบุรีเก่า แล้วนำมาบรรจุไว้ในพระเจดีย์ดังกล่าว

หนังสืองานศพ รวมพระกรุวัดเหนือ กาญจนบุรี
ข้อมูลจากหนังสือพุทธานุสรณ์พระเครื่องกรุ ของเทพชู ทับทอง

         ปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๐๙) พระเครื่องเหล่านี้บางชนิดก็ไม่มีแล้ว เช่นพระท่ากระดาน เพราะทางวัดให้เช่าทำบุญเรื่อยมา แต่บางชนิดก็ยังอยู่ 

การขุดกรุวัดเหนือครั้งที่ ๒ 

         เริ่มในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ทางวัดได้ขุดเจาะพระเจดีย์องค์เดิม แต่เป็นด้านทิศตะวันตก ซึ่งที่อยู่ตรงข้ามกับการขุดเจาะครั้งแรก เพื่อบรรจุพระพิมพ์ต่างๆ ที่สร้างโดยหลวงปู่ดี พุทธโชติ เพื่อเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาเช่นกัน

         การขุดครั้งนี้ทางวัดได้แต่งตั้งคณะกรรมการ ที่ประกอบไปด้วยบรรพชิตและฆราวาส ประกอบไปด้วย

         ฝ่ายบรรพชิตได้แก่ พระครูปลัดอรรถจริยานุกิจ พระครูสิงคีคุณธาดา และพระครูปลัดสนั่น ปญฺญธโร

         ฝ่ายฆราวาส ได้แก่ พ.อ.(พิเศษ) สัมผัส ภาสนอิ่งภิญโญ รองผู้บัญชาการกองพลเสือดำ พ.ท.สุนทรและนายทหารอีก ๓ คน ร่วมกับกรรมการวัดคือ นายประสงค์ เจริญพิบูลย์ นายแพทย์เกษม ภังตานนท์ นายแพทย์ประจำโรงพยาบาลโรงงานกระดาษกาญจนบุรี นายวิเชียร กระแจะจันทร์ ครูโทโรงเรียนประจำจังหวัดชาย นายทองหล่อ มณีวงษ์ นายเชื้อ คงกำเหนิด สารวัตรถไฟกาญจนบุรี นายเก็บ พลอยศิลา และนายศิลป ศิริเวชภัณฑ์

         ก่อนขุดคณะกรรมการที่เป็นกรรมการฝ่ายฆราวาส ได้เข้าไปทำพิธีสาบานในโบสถ์เก่าของทางวัดเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ

พระอุโบสถ วัดเหนือ กาญจนบุรี
พระอุโบสถหลังเก่าของวัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ) กาญจนบุรี

         การขุดกรุครั้งนี้เริ่มในวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๑ โดยเริ่มตั้งแต่ ๐๖.๓๐ น. และหลังจากขุดกันจนถึงเวลา ๑๑.๓๐ น. จึงทะลุถึงกรุ ต่อจากนั้นก็ได้ทำการขุดเอาพระเครื่องขึ้นจากกรุเรื่อยไป จนถึงเวลา ๒๒.๐๐ น. ในวันเดียวกัน จึงหมดกรุ

         สำหรับการขุดกรุครั้งนี้ ปรากฏว่าตรงกลางกรุมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยสมัยอู่ทอง ไม่มีเศียร ขนาดหน้าตักกว้าง ๒ ศอกเศษ จำนวน ๔ องค์ ประดิษฐานประทับนั่งหันพระปฤษฎางค์ (หลัง) เข้าหากัน ส่วนพระเครื่องบรรจุอยู่ในทรายตามช่องอิฐหน้าพระพุทธรูปทั้ง ๔ นั้น 

         การขุดพระเครื่องกรุวัดเหนือครั้งที่ ๒ นี้ ปรากฏว่าได้พระเครื่องที่สำคัญๆ หลายชนิดคือ

         พระท่ากระดานเกศยาว เนื้อตะกั่ว สนิมแดงทั้งองค์มี จำนวน ๒๙ องค์

         พระท่ากระดานเกศบัวตูม พิมพ์เล็ก เนื้อตะกั่ว มี จำนวน ๒๐ องค์

         พระท่ากระดานเกศบัวตูม กรอบผนัง เนื้อตะกั่ว มี จำนวน ๘ องค์

         พระท่ากระดานบาง ฐานบัว เนื้อชิน มีจำนวน ๕๓ องค์

         พระท่ากระดานหูช้าง(ตัดชิด)  เนื้อชิน

         พระท่ากระดานหูช้าง กรอบผนัง เนื้อชิน

         พระท่ากระดานหูช้าง ฐานสิงห์ เนื้อชิน จำนวน ๓ องค์

         พระอู่ทองเศียรจักร เนื้อชิน มีจำนวน ๑๙ องค์

         พระอู่ทองฐานตัด พิมพ์ใหญ่ เนื้อชิน มีจำนวน ๘ องค์

         พระอู่ทองฐานตัด แขนโค้ง พิมพ์กลาง เนื้อชิน มีจำนวน ๘ องค์

         พระอู่ทองฐานตัด แขนโค้ง พิมพ์เล็ก เนื้อชิน มีจำนวน ๗ องค์

         พระอู่ทองฐานสูง เนื้อชิน มีจำนวน ๒๙ องค์

         พระอู่ทองฐานผ้าทิพย์ เนื้อชิน มีจำนวน ๘ องค์

         พระอู่ทองฐานสิงห์ ผ้าทิพย์ พิมพ์ใหญ่ เนื้อชิน มีจำนวน ๘ องค์

         พระขุนแผนเรือนแก้ว ยอดแหลม เนื้อชิน มีจำนวน ๒ องค์

         พระขุนแผนเรือนแก้ว พิมพ์ใหญ่ เนื้อชิน มีจำนวน ๖ องค์

         พระขุนแผนเรือนแก้ว พิมพ์กลาง เนื้อชิน มีจำนวน ๑๓๖ องค์

         พระขุนแผนเรือนแก้ว พิมพ์เล็ก เนื้อชิน มีจำนวน ๑๐ องค์

         พระขุนแผนซุ้มใบตำลึง เนื้อชิน มีจำนวน ๔ องค์

         พระขุนแผนสะกดทัพ เนื้อชิน มีจำนวน ๑ องค์

         พระขุนแผนฉัตรชัย พิมพ์ใหญ่ เนื้อชิน มีจำนวน ๗ องค์

         พระขุนแผนฉัตรชัย เนื้อชิน มีจำนวน ๓ องค์

         พระขุนแผนฉัตรชัย พิมพ์เล็ก เนื้อชิน มีจำนวน ๔ องค์

         พระปรกพลายชุมพล เนื้อดินเผา มีจำนวน ๒ องค์

         พระยอดขุนพล เนื้อชิน มีจำนวน ๓ องค์

         พระร่วงพิมพ์ใหญ่ เนื้อชิน มีจำนวน ๒ องค์

         พระปางประทานพร เนื้อชิน มีจำนวน ๗ องค์

         พระบุเรงนอง ปางมารวิชัย มือซ้าย เนื้อชิน มีจำนวน ๒ องค์

         พระประหนัง เนื้อชิน มีจำนวน ๙ องค์

         พระหลวงพ่อโต เนื้อดินเผา มีจำนวน ๒๑ องค์

         พระโคนสมอ เนื้อดินเผา มีจำนวน ๗ องค์

         พระโคนสมอ ซุ้มปรางค์ เนื้อดินเผา มีจำนวน ๓ องค์

         พระซุ้มกระรอกกระแต เนื้อดินเผา มีจำนวน ๔ องค์

         พระวัดมหาธาตุสุโขทัย เนื้อดินเผา มีจำนวน ๖ องค์

         พระดังกล่าวข้างต้นนี้ ส่วนใหญ่ลงรักปิดทองแทบ ทั้งนั้น ส่วนพระเนื้อตะกั่ว ซึ่งได้แก่พระท่ากระดานนั้น เนื้อเป็นสนิมมันปู หรือที่เรียกว่า "สนิมแดง" งดงามมาก.

วัตถุมงคลกรุวัดเหนือ กาญจนบุรี(บางส่วน)

         พระท่ากระดานพิมพ์เล็ก กรุวัดเหนือ

         แตกกรุครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ในคราวที่เจาะพระเจดีย์เพื่อบรรจุพระ ๒๕ พุทธศตวรรษ ลักษณะเป็นพระกรุเนื้อตะกั่วสนิมแดง มีทั้งที่ปิดทองและไม่ได้ปิดทอง

พระท่ากระดานพิมพ์เล็ก กรุวัดเหนือ กาญจนบุรี
พระท่ากระดานพิมพ์เล็ก กรุวัดเหนือ กาญจนบุรี

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับนั่งปางมารวิชัย บนฐานเขียง องค์พระมีผ้าสังฆาฏิพาด องค์พระมีสนิทแดงสวยงาม

         ด้านหลัง เรียบไม่มีอักขระใดๆ

         พระท่ากระดานหูช้าง กรุวัดเหนือ (สามเหลี่ยม)

         แตกกรุครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ในคราวที่เจาะพระเจดีย์เพื่อบรรจุพระ ๒๕ พุทธศตวรรษ ลักษณะเป็นพระกรุเนื้อตะกั่วสนิมแดง มีทั้งที่ปิดทองและไม่ได้ปิดทอง

พระท่ากระดานหูช้าง กรุวัดเหนือ กาญจนบุรี
พระท่ากระดานหูช้าง กรุวัดเหนือ กาญจนบุรี

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับนั่งปางมารวิชัย บนฐานบัวและฐานลายตะแกรง(หรืออาจเป็นเกษรดอกบัวก็ได้) องค์พระห่มจีวรลดไหล่ มีผ้าสังฆาฏิพาดปลายสังฆาฏิเรียบตัดตรง มีการปิดทองล่องชาด องค์พระมีกรอบสามเหลี่ยม มีขนาดกว้าง ๕.๕ ซม. สูง ๑๐.๕ ซม.

         ด้านหลัง เรียบไม่มีอักขระใดๆ

         พระท่ากระดานหูช้าง กรุวัดเหนือ (ตัดชิด)

         แตกกรุครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ในคราวที่เจาะพระเจดีย์เพื่อบรรจุพระ ๒๕ พุทธศตวรรษ ลักษณะเป็นพระกรุเนื้อตะกั่วสนิมแดง


พระท่ากระดานหูช้าง กรุวัดเหนือ กาญจนบุรี
พระท่ากระดานหูช้างตัดชิด กรุวัดเหนือ กาญจนบุรี

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับนั่งปางมารวิชัย บนฐานบัวและฐานลายตะแกรง(หรืออาจเป็นเกษรดอกบัวก็ได้) พระเกศคตขวา องค์พระห่มจีวรลดไหล่มีผ้าสังฆาฏิพาดปลายสังฆาฏิเรียบตัดตรง องค์พระ ที่ฐานมีการปิดทองล่องชาด องค์พระมีขนาดกว้าง ๕.๒ ซม. สูง ๙.๕ ซม.

         ด้านหลัง เรียบไม่มีอักขระใดๆ

         พระขุนแผน กรุวัดเหนือ

         แตกกรุครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ในคราวที่เจาะพระเจดีย์เพื่อบรรจุพระ ๒๕ พุทธศตวรรษ ลักษณะเป็นพระกรุเนื้อตะกั่วสนิมแดง พระขุนแผนนี้แบ่งออกเป็นพิมพ์เล็ก กับพิมพ์ใหญ่ จัดเป็นพระหายากทั้ง ๒ พิมพ์

พระขุนแผน พิมพ์ใหญ่ กรุวัดเหนือ กาญจนบุรี
พระขุนแผน พิมพ์ใหญ่ กรุวัดเหนือ กาญจนบุรี

พระขุนแผน กรุวัดเหนือ กาญจนบุรี
พระขุนแผน กรุวัดเหนือ พิมพ์เล็ก กาญจนบุรี

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับนั่งปางมารวิชัยบนฐานบัวก้างปลา ภายในซุ้มเรือนแก้ว พระนาสิกหนา พระเนตรโปน พระโอษฐ์หนา องค์พระห่มจีวรลดไหล่ มีผ้าสังฆาฏิพาดปลายสังฆาฏิเรียบตัดตรง ในบางองค์มีการปิดทองล่องชาด

         ด้านหลัง เรียบไม่มีอักขระใดๆ

         พระร่วงยืนประทานพร กรุวัดเหนือ

         แตกกรุครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ในคราวที่เจาะพระเจดีย์เพื่อบรรจุพระ ๒๕ พุทธศตวรรษ ลักษณะเป็นพระกรุเนื้อตะกั่วสนิมแดง พระร่วงยืนนี้แบ่งออกเป็นพิมพ์ตัดชิด กับพิมพ์มีซุ้ม

พระร่วงประทานพร กรุวัดเหนือ กาญจนบุรี
พระร่วงยืนประทานพร กรุวัดเหนือ กาญจนบุรี

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับยืนประทานพรบนฐานชุกชีมีผ้าทิพย์สวยงาม  ภายในซุ้มเรือนแก้ว พระนาสิกหนา พระเนตรโปน พระโอษฐ์หนา องค์พระห่มจีวรลดไหล่ มีผ้าสังฆาฏิพาดปลายสังฆาฏิเรียบตัดตรง ในบางองค์มีการปิดทองล่องชาด

         ด้านหลัง เรียบไม่มีอักขระใดๆ

         พระอู่ทองเศียรจักร กรุวัดเหนือ

         แตกกรุครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ในคราวที่เจาะพระเจดีย์เพื่อบรรจุพระ ๒๕ พุทธศตวรรษ ลักษณะเป็นพระกรุเนื้อตะกั่วสนิมแดง 

พระอู่ทองเศียรจักร กรุวัดเหนือ กาญจนบุรี
พระอู่ทองเศียรจักร(ทรงเครื่อง) กรุวัดเหนือ กาญจนบุรี

พระอู่ทองเศียรจักร กรุวัดเหนือ กาญจนบุรี
พระอู่ทองเศียรจักร กรุวัดเหนือ กาญจนบุรี

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับนั่งปางมารวิชัยบนฐานบัวคว่ำสวยงาม พระนาสิกหนา พระเนตรโปน องค์พระทรงเครื่อง ในบางองค์มีการปิดทองล่องชาด

         ด้านหลัง เรียบไม่มีอักขระใดๆ

         พระอู่ทองพิชิตมาร กรุวัดเหนือ

         แตกกรุครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ในคราวที่เจาะพระเจดีย์เพื่อบรรจุพระ ๒๕ พุทธศตวรรษ ลักษณะเป็นพระกรุเนื้อตะกั่วสนิมแดง

พระอู่ทองพิชิตมาร กรุวัดเหนือ กาญจนบุรี
พระอู่ทองพิชิตมาร กรุวัดเหนือ กาญจนบุรี

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับนั่งในซุ้มเรือนแก้วปางมารวิชัยบนฐานบัวหงายสวยงาม พระนาสิกหนา พระเนตรโปน ในบางองค์มีการปิดทองล่องชาด

         ด้านหลัง เรียบไม่มีอักขระใดๆ

         พระอู่ทองฐานผ้าทิพย์ กรุวัดเหนือ

         แตกกรุครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ในคราวที่เจาะพระเจดีย์เพื่อบรรจุพระ ๒๕ พุทธศตวรรษ ลักษณะเป็นพระกรุเนื้อตะกั่วสนิมแดง

พระอู่ทองฐานผ้าทิพย์ กรุวัดเหนือ กาญจนบุรี
พระอู่ทองฐานผ้าทิพย์ กรุวัดเหนือ กาญจนบุรี

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับนั่งปางมารวิชัยบนฐานผ้าทิพย์สวยงาม พระนาสิกหนา พระเนตรโปน พระโอษฐ์หนา องค์พระห่มจีวรลดไหล่ มีผ้าสังฆาฏิพาดปลายสังฆาฏิเรียบตัดตรง ในบางองค์มีการปิดทองล่องชาด

         ด้านหลัง เรียบไม่มีอักขระใดๆ

         พระอู่ทอง(ตัดชิด) กรุวัดเหนือ

         แตกกรุครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ในคราวที่เจาะพระเจดีย์เพื่อบรรจุพระ ๒๕ พุทธศตวรรษ ลักษณะเป็นพระกรุเนื้อตะกั่วสนิมแดง

พระอู่ทอง(ตัดชิด) กรุวัดเหนือ กาญจนบุรี
พระอู่ทอง(ตัดชิด) กรุวัดเหนือ กาญจนบุรี ของคุณสัญญา โมกขพันธ์

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับนั่งปางมารวิชัย พระนาสิกหนา พระเนตรโปน พระโอษฐ์หนา องค์พระห่มจีวรลดไหล่ มีผ้าสังฆาฏิพาด ในบางองค์มีการปิดทองล่องชาด

         ด้านหลัง เรียบไม่มีอักขระใดๆ

         พระป่าเลไลย์ กรุวัดเหนือ

         แตกกรุครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ในคราวที่เจาะพระเจดีย์เพื่อบรรจุพระ ๒๕ พุทธศตวรรษ ลักษณะเป็นพระกรุเนื้อตะกั่วสนิมแดง 

พระป่าเลไลย์ว กรุวัดเหนือ กาญจนบุรี
พระป่าเลไลย์ กรุวัดเหนือ กาญจนบุรี

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับนั่งปางป่าเลไลย์ พระนาสิกหนา พระเนตรโปน พระโอษฐ์หนา องค์พระห่มจีวรลดไหล่ มีผ้าสังฆาฏิพาด ในบางองค์มีการปิดทองล่องชาด

         ด้านหลัง เรียบไม่มีอักขระใดๆ

         พระอู่ทองฐานสูง กรุวัดเหนือ

         แตกกรุครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ในคราวที่เจาะพระเจดีย์เพื่อบรรจุพระ ๒๕ พุทธศตวรรษ ลักษณะเป็นพระกรุเนื้อตะกั่วสนิมแดง 

พระอู่ทองฐานสูง กรุวัดเหนือ กาญจนบุรี
พระอู่ทองฐานสูง กรุวัดเหนือ กาญจนบุรี

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับนั่งปางมารวิชัยบนฐานสูง  พระนาสิกหนา พระเนตรโปน องค์พระห่มจีวรลดไหล่ มีผ้าสังฆาฏิพาดปลายสังฆาฏิเรียบตัดตรง ในบางองค์มีการปิดทองล่องชาด

         ด้านหลัง เรียบไม่มีอักขระใดๆ

         พระอู่ทองฐานบัว กรุวัดเหนือ

         แตกกรุครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ในคราวที่เจาะพระเจดีย์เพื่อบรรจุพระ ๒๕ พุทธศตวรรษ ลักษณะเป็นพระกรุเนื้อตะกั่วสนิมแดง

พระอู่ทองฐานบัวชั้นเดียว กรุวัดเหนือ กาญจนบุรี
พระอู่ทองฐานบัว กรุวัดเหนือ กาญจนบุรี

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับนั่งปางมารวิชัยบนฐานบัว  พระนาสิกหนา พระเนตรโปน องค์พระห่มจีวรลดไหล่ มีผ้าสังฆาฏิพาดปลายสังฆาฏิเรียบตัดตรง ในบางองค์มีการปิดทองล่องชาด

         ด้านหลัง เรียบไม่มีอักขระใดๆ

         พระอู่ทองฐานตัด วัดเหนือ

         แตกกรุครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ในคราวที่เจาะพระเจดีย์เพื่อบรรจุพระ ๒๕ พุทธศตวรรษ ลักษณะเป็นพระกรุเนื้อตะกั่วสนิมแดง

พระอู่ทองฐานเขียง กรุวัดเหนือ กาญจนบุรี
พระอู่ทองฐานตัด กรุวัดเหนือ กาญจนบุรี

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับนั่งปางมารวิชัยบนฐานเขียง ภายในซุ้มเรือนแก้ว พระนาสิกหนา พระเนตรโปน พระโอษฐ์เล็ก องค์พระห่มจีวรลดไหล่ มีผ้าสังฆาฏิพาดปลายสังฆาฏิเรียบตัดตรง ในบางองค์มีการปิดทองล่องชาด

         ด้านหลัง เรียบไม่มีอักขระใดๆ

 

หมายเหตุ : ชื่อพระในบทความเป็นชื่อพระในหนังสือที่จดบันทึก ปัจจุบันมีการเรียกชื่อพระที่แตกต่างออกไปในบางพิมพ์

โดย : สารานุกรม​พระเครื่อง​ลุ่ม​น้ำแม่กลอง

บทความที่เกี่ยวข้อง


***-[เป็นกำลังใจและสนับสนุน​ให้เราเขียนบทความดีๆ ช่วยกดดูโฆษณาด้านล่างนะคะ]-***

ไม่มีความคิดเห็น

ค้นหาบล็อกนี้