โฆษณาแนวนอน728*90

บทความใหม่

ประวัติและวัตถุมงคลหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม สมุทรสงคราม

ภาพถ่ายหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม สมุทรสงคราม
หลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม สมุทรสงคราม

         หลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม หรือ พระครูสมุทรวิจารณ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดประชาโฆสิตาราม จังหวัดสมุทรสงคราม ท่านเป็นอีกหนึ่งพระเกจิเมืองแม่กลอง อายุรุ่นราวคราวเดียวกับหลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี และหลวงพ่อสาย วัดจันทร์เจริญสุข แต่ชื่อเสียงในวงการพระเครื่องหลวงพ่อคลี่ อาจจะไม่รู้จักแพร่หลายเหมือนหลวงพ่อเนื่อง แต่คนในพื้นที่และส่วนกลางก็รู้จักท่านพอสมควร 

         หลวงพ่อคลี่ มีชื่อเดิมว่า วิจารย์ นามสกุล ศิริสวัสดิ์ เกิดเมื่อวันพุธ แรม ๑๒ ค่ำ เดือน ๙ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๔๗ ที่บ้านปลายโพงพาง หมู่ ๖ ตำบลปลายโพงพาง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม โยมบิดาชื่อนายคล้ำ ศิริสวัสดิ์ โยมมารดาชื่อนางหลง ศิริสวัสดิ์ 

         ท่านสำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาชั้นปี ที่ ๔ ที่โรงเรียนวัดประชาโฆสิตาราม ตำบลปลายโพงพาง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ในปี พ.ศ. ๒๔๖๑

         พอถึงปี พ.ศ. ๒๔๖๒ ท่านจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดประชาโฆสิตาราม โดยมีหลวงพ่อทองอยู่ วัดประชาโฆสิตาราม ซึ่งมีศักดิ์เป็นอาของหลวงพ่อคลี่ เป็นพระอุปัชฌาย์ 

หลวงพ่อทองอยู่ วัดบางนกแขวก สมุทรสงคราม
หลวงพ่อทองอยู่ วัดบางนกแขวก สมุทรสงคราม

         สำหรับหลวงพ่อทองอยู่ วัดบางนกแขวก ชื่อเดิมของวัดประชาโฆสิตาราม เป็นพระเกจิร่วมยุคสมัยเดียวกับหลวงพ่อคง วัดบางกะพร้อม หลวงพ่อโต วัดคู้ธรรมสถิตย์ ชาวบ้านในสมัยก่อนก็ให้ความนับถือหลวงพ่อทองอยู่ แม้แต่หลวงพ่อคง วัดบางกะพร้อม ยังกล่าวยกย่องในด้านความเก่งกล้าด้านพุทธาคม 

         ในฐานะที่หลวงพ่อคลี่ เป็นญาติกับหลวงพ่อทองอยู่ จึงมิต้องสงสัยเลยว่าวิชาต่างๆหลวงพ่อคลี่ ต้องได้เรียนมาจากหลวงพ่อทองอยู่ แบบเต็มๆไม่มีปิดบัง 

         เมื่ออายุครบบวชหลวงพ่อคลี่ ได้บวชเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดบางนกแขวก(ชื่อในสมัยนั้น) ตำบลปลายโพงพาง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๗ ได้รับฉายาว่า "ฐานวิจาโร" โดยมี

         หลวงพ่อช่วง วัดปากน้ำ อำเภออัมพวา เป็นพระอุปัชฌาย์ 

         หลวงพ่อโต วัดคู้ธรรมสถิตย์ เป็นพระกรรมวาจาจารณ์

         หลวงพ่อทองหยู่ วัดบางนกแขวก (วัดประชาโฆสิตาราม) เป็นพระอนุสาวนาจารย์

         เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านได้อยู่จำพรรษาอยู่ที่วัดประชาโฆสิตารามเรื่อยมา เพื่อปฏิบัติรับใช้หลวงพ่อทองอยู่ ผู้มีศักดิ์เป็นอา และร่ำเรียนวิชาอาคมจากหลวงพ่อทองอยู่

หลวงพ่อช่วง วัดปากน้ำ สมุทรสงคราม
หลวงพ่อช่วง วัดปากน้ำ สมุทรสงคราม พระอุปัชฌาย์

         นอกจากนี้ยังศึกษาวิชากับหลวงพ่อช่วง วัดปากน้ำ เชี่ยวชาญทั้งด้านวิทยาคมและวิปัสสนากรรมฐาน โดยเชื่อกันว่าหลวงพ่อคลี่ เมื่อบวชเป็นพระก็คงได้รับการถ่ายทอดวิชามาบ้างไม่มากก็น้อย 

         หลวงพ่อคลี่ เป็นพระที่มีความขยันใฝ่เรียนรู้ ท่านได้ศึกษาปริยัติจนสำเร็จนักธรรมเอก จากสำนักเรียนวัดพระเชตุพนฯ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. ๒๔๗๗ 

         ปี พ.ศ. ๒๔๘๐ ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดประชาโฆสิตาราม 

         และในปีนี้เองนางตาบ กล้ายประยงค์ ได้มอบกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ ๔ ไร่ ๒ งาน ๓๕ ตารางวา โดยได้ปลูกสร้างอาคารเรียนและสร้างโรงเรียน และได้มอบบ้านทรงไทย ๒ ชั้น เพื่อปลูกสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม 

         ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ ได้เปลี่ยนชื่อวัดจาก "วัดบางนกแขวก" มาเป็น "วัดประชาโฆสิตาราม" อันมีความหมายว่า "วัดเจริญรุ่งเรืองมาได้ก็เนื่องด้วยประชาชนเป็นผู้อุปการะสนับสนุน"

         ปี พ.ศ. ๒๔๘๗ หลังจากที่หลวงพ่อทองอยู่ ได้มรณภาพลงในปี พ.ศ. ๒๔๘๗ หลวงพ่อคลี่จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาส 

ภาพถ่ายหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม สมุทรสงคราม
หลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม สมุทรสงคราม

         วัดประชาโฆสิตาราม เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในหมู่ที่ ๒ บ้านวัดประชา ตำบลปลายโพงพาง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เดิมมีชื่อว่า วัดบางนกแขวก ตามชื่อคลองและชื่อหมู่บ้าน 

         สันนิษฐานว่าวัดสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๒๕๑ ตรงกับปลายสมัยพระเจ้าเสือ กษัตริย์องค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงศรีอยุธยา ตามประวัติเท่าที่สืบค้นได้

         ในสมัยพระอธิการช่อเป็นเจ้าอาวาส ได้มีการย้ายพระอุโบสถหลังเก่าไปทางทิศเหนือของวัด ลักษณะของพระอุโบสถเป็นแบบอาคารไม้มุงด้วยจากและได้ขอพระราชทานวิสุงคามสีมาใหม่ 

         ต่อมาในสมัยของพระอธิการผึ้งซึ่งเป็นเจ้าอาวาสปกครองต่อ ในราวปี พ.ศ. ๒๔๒๒ นายเมืองและนางขำได้มีจิตศรัทธาปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่เปลี่ยนมาเป็นแบบก่ออิฐถือปูน มุงด้วยกระเบื้องดินเผา สร้างทับหลังเก่า 

         ราวปี พ.ศ.  ๒๔๔๓ วัดได้ย้ายศาลาการเปรียญจากริมน้ำไปทางทิศใต้และเปลี่ยนแปลงให้กว้างขวางกว่าเดิม ในปีเดียวกันนี้ นายเมืองและนางขำได้สร้างหอสวดมนต์อีกหลังหนึ่ง 

         ภายในวัดมีพระประธานในอุโบสถ มีนามว่า พระมงคลโฆสิต ขนาดหน้าตักกว้าง ๓ ศอก ๙ นิ้ว เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยหล่อด้วยโลหะหลายอย่าง โดยมีนายเมือง นางขำ เป็นผู้สร้างถวายเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒ วัดรับวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๒ มีรายนามเจ้าอาวาสที่จดบันทึกไว้ดังนี้

         ๑. พระอธิการช่อ

         ๒. พระอธิการผึ้ง พ.ศ. ๒๔๒๒ - ๒๔๔๕

         ๓. พระครูสุนทรโฆสิต (หลวงพ่อทองอยู่) พ.ศ. ๒๔๔๕ - ๒๔๘๗

         ๔. พระครูสมุทรวิจารณ์ (หลวงพ่อคลี่ฐานวิจาโร (วิจารณ์ศิริสวัสดิ์)) พ.ศ. ๒๔๙๐ - ๒๕๓๓ 

         ๕. พระอธิการอุทัย อิสฺสรธมฺโม (หลวงพ่ออุทัย เอี่ยมสะอาด) 

         ๖. พระครูวิจิตรสรคุณ (หลวงพ่อเจี๊ยบ) 

ภาพถ่ายหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม สมุทรสงคราม-เก่า
หลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม สมุทรสงคราม

         หลังจากที่หลวงพ่อคลี่ได้ขึ้นเป็นรักษาการเจ้าอาวาสท่านได้พัฒนาวัดอย่างสุดความสามารถทั้งการสร้างเสนาสนะต่างๆ ตลอดจนถาวรวัตถุต่างๆจนวัดเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ

         ปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ท่านจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดประชาโฆสิตาราม อย่างเป็นทางการ

         ปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ท่านได้รับการแต่งตั้งให้รักษาการเจ้าคณะหมวดปลายโพงพาง (เจ้าคณะตำบล)

         ปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะหมวดปลายโพงพาง และเป็นพระครูสมุห์ ฐานานุกรมใน พระเทพมุนี วัดสังเวชวิทยาราม กรุงเทพมหานคร

         ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดคลองโคน

         ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ และเป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดเจริญรัตนาราม

         ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบลชั้นตรีที่ พระครูสมุทรวิจารณ์

         ปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบลชั้นโท โดยใช้ราชทินนามเดิม

         ปี พ.ศ. ๒๕๑๗ หลวงพ่อคลี่ ได้รับสมณศักดิ์เป็นเจ้าคณะตำบลชั้นเอก โดยใช้ราชทินนามเดิม

         หลวงพ่อคลี่ เป็นพระที่มีความเก่งกล้าด้านอาคมมากรูปหนึ่ง แต่ไม่ค่อยมีคนเขียนประวัติลง อาจเป็นเพราะว่าในสมัยมีชีวิต ท่านคงจะไม่อยากเปิดเผยตัวเหมือนกับพระเก่งๆในอดีตหลายองค์ ที่ไม่ชอบให้ลูกศิษย์เขียนประวัติเผยแผ่ 

         หลวงพ่อคลี่ ปกครองวัดเรื่อยมาจนถึงแก่มรณภาพลงด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๓ นับรวมสิริอายุได้ ๘๖ ปี ๖๖ พรรษา.

วัตถุมงคลของหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม

         เหรียญหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม รุ่นแรก

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ เพื่อแจกเป็นที่ระลึกในคราวฉลองตราตั้งพระอุปัชฌาย์ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปวงกลม แบบมีหูในตัว มีการสร้างขึ้นด้วยเนื้ออัลปาก้า และเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม สมุทรสงคราม รุ่นแรก 2499 อัลปาก้า
เหรียญหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ เนื้ออัลปาก้า

เหรียญหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม สมุทรสงคราม รุ่นแรก 24996 ทองแดง
เหรียญหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ เนื้อทองแดง

         ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อคลี่ครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ในงานฉลองตราตั้งอุปัชฌายะ พระครูสมุทรวิจารณ์" 

         ด้านหลัง มีอักขระยันต์ ใต้ยันต์มีเลขไทยเขียนว่า "๒๔๙๙" ซึ่งเป็นปีที่สร้างเหรียญ

         เหรียญหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม รุ่น ๒

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๔ เพื่อแจกเป็นให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มทรงเสมาแบบมีหูในตัว มีการสร้างขึ้นด้วยเนื้ออัลปาก้า เนื้อทองแดงกระไหล่ทอง และเนื้อทองแดงกระไหล่เงิน จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม สมุทรสงคราม รุ่น 3 2504 อัลปาก้า
เหรียญหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม รุ่น ๒ ปี พ.ศ. ๒๕๐๔ เนื้ออัลปาก้า

เหรียญหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม สมุทรสงคราม รุ่น 3 2504 ทองแดงกระไหล่ทอง
เหรียญหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม รุ่น ๒ ปี พ.ศ. ๒๕๐๔ เนื้อทองแดงกระไหล่ทอง
 
เหรียญหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม สมุทรสงคราม รุ่น 3 2504 ทองแดงกระไหล่เงิน
เหรียญหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม รุ่น ๒ ปี พ.ศ. ๒๕๐๔ เนื้อทองแดงกระไหล่เงิน

เหรียญหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม สมุทรสงคราม รุ่น 3 2504 ทองแดงกระไหล่เงิน
เหรียญหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม รุ่น ๒ ปี พ.ศ. ๒๕๐๔ เนื้อทองแดงกระไหล่เงิน

         ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อคลี่ครึ่งองค์ห่มจีวรคลุมไหล่ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูสมุทรวิจารณ์" 

         ด้านหลัง มีอักขระยันต์ นะ ทรหด ใต้ยันต์มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "วัดประชาโฆสิตาราม ๒๕๐๔" ซึ่งเป็นปีที่สร้างเหรียญ

         เหรียญหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม รุ่น ๓

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ เพื่อแจกในงานแซยิดหรือทำบุญอายุหลวงพ่อครบ ๖๐ ปี ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มใบสาเกแบบมีหูในตัว มีการสร้างขึ้นด้วยเนื้อเงิน เนื้อทองแดงกระไหล่ทอง และเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม สมุทรสงคราม 2506 เงิน
เหรียญหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม รุ่น ๓ ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ เนื้อเงิน

เหรียญหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม สมุทรสงคราม 2506 ทองแดงกระไหล่ทอง
เหรียญหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม รุ่น ๓ ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ เนื้อทองแดงกระไหล่ทอง
เหรียญหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม สมุทรสงคราม 2506 ทองแดง
เหรียญหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม รุ่น ๓ ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ เนื้อทองแดง

         ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อคลี่เต็มองค์ นั่งประคองบาตร องค์หลวงพ่อห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ที่ระลึกทำบุญ พระครูสมุทรวิจารณ์ อายุครบ ๖๐ ปี" 

         ด้านหลัง มีอักขระยันต์ ตรงกลางยันต์มีรูปจำลองหลวงพ่อบ้านแหลม มีเลขไทยเขียนว่า "๒๕๐๖" ซึ่งเป็นปีที่สร้างเหรียญ

         เหรียญหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม รุ่น ๔ (อายุ ๖๖ ปี)

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ เพื่อแจกในงานทำบุญอายุหลวงพ่อครบ ๖๖ ปี ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มใบสาเกแบบมีหูในตัว มีการสร้างขึ้นด้วยเนื้อทองอัลปาก้าเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม สมุทรสงคราม รุ่น 2512  อัลปาก้า
เหรียญหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม รุ่น ๔ (อายุ ๖๖ ปี) ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ เนื้ออัลปาก้า

         ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อคลี่เต็มองค์ นั่งประคองบาตร องค์หลวงพ่อห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ที่ระลึกทำบุญ พระครูสมุทรวิจารณ์ อายุครบ ๖๖ ปี" 

         ด้านหลัง มีอักขระยันต์ ตรงกลางยันต์มีรูปจำลองหลวงพ่อบ้านแหลม มีเลขไทยเขียนว่า "๒๕๑๒" ซึ่งเป็นปีที่สร้างเหรียญ

         เหรียญหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม รุ่น ๕ (ฉลองฌาปนสถาน)

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ เพื่อแจกเป็นที่ระลึกให้กับผุ้ที่บริจาคทรัพย์สร้างถาวรวัตถุภายในวัด  ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปวงกลม แบบมีหูในตัว มีการสร้างขึ้นด้วยเนื้ออัลปาก้าเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม สมุทรสงคราม รุ่น 2513 อัลปาก้ากระไหล่เงิน
เหรียญหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม รุ่น ๕ ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ เนื้ออัลปาก้ากระไหล่เงิน

         ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อคลี่ครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ ด้านบนของรูปมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ในงานฉลอง ฌาปนสถาน"  ใต้รูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูสมุทรวิจารณ์" 

         ด้านหลัง มีอักขระยันต์ ใต้ยันต์มีเลขไทยเขียนว่า "๒๕๑๓" ซึ่งเป็นปีที่สร้างเหรียญ

         เหรียญเสมาหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม รุ่น ๖ (วางศิลาฤกษ์)

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ เพื่อแจกเป็นที่ระลึกให้กับผุ้ที่บริจาคทรัพย์สร้างถาวรวัตถุภายในวัด  ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปทรงเสมา แบบมีหูในตัว มีการสร้างขึ้นด้วยเนื้ออัลปาก้าชุปนิกเกิ้ลลงยา เนื้อทองแดงลงยา และเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม สมุทรสงคราม รุ่น 2514 ทองแดงกระไหล่เงินลงยา
เหรียญเสมาหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม รุ่น ๖ ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ เนื้อชุปนิกเกิ้ลลงยา

เหรียญเสมาหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม รุ่น ๖ ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ เนื้อทองแดงลงยา
เหรียญหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม สมุทรสงคราม รุ่น 2514 ทองแดง
เหรียญเสมาหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม รุ่น ๖ ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ เนื้อทองแดง

         ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อคลี่ครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ ใต้รูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูสมุทรวิจารณ์" 

         ด้านหลัง มีอักขระยันต์ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ที่ระลึกในงานวางศิลาฤกษ์ พระอุโบสถ ประจำ พ.ศ. ๒๕๑๔"

         เหรียญน้ำเต้าหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม รุ่น ๖ (ยันต์ดวง)

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ เพื่อแจกเป็นที่ระลึกให้กับผุ้ที่บริจาคทรัพย์สร้างถาวรวัตถุภายในวัด  ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปทรงกลมน้ำเต้า แบบมีหูในตัว มีการสร้างขึ้นด้วยเนื้อทองแดงกระไหล่ทอง เนื้อทองแดงกระไหล่เงิน และเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม สมุทรสงคราม รุ่นมหัทธโนฟกษ์  2514 ทองแดง
เหรียญน้ำเต้าหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม รุ่น ๖ ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ เนื้อทองแดง

         ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อคลี่ครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ ใต้รูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูสมุทรวิจารณ์" ขอบเหรียญและด้านบนชของเหรียญมีอักขระยันต์

         ด้านหลัง มีอักขระยันต์ดวง มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ที่ระลึกในงานวางศิลาฤกษ์ พระอุโบสถ พฤหัสบดี ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๔ มหัธโนฤกษ์"

         เหรียญหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม ออกวัดสี่แยกราษฏร์บำรุง 

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ เพื่อแจกเป็นให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์สร้างเสนาสนะต่างๆกับทางวัดสี่แยกราษฏร์บำรุง ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว มีการสร้างขึ้นด้วยเนื้อทองแดงกเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม สมุทรสงคราม ออกวัดสี่แยกราษฏร์บำรุง2517 ทองแดง
เหรียญหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม ออกวัดสี่แยกราษฏร์บำรุง ปี พ.ศ. ๒๕๑๗ เนื้อทองแดง

         ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อคลี่เต็มองค์ นั่งมือจีบที่หัวเข่าทั้งสองข้าง องค์หลวงพ่อห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ที่ระลึกวัดสี่แยกราษฏร์บำรุง พระครูสมุทรวิจารณ์ อายุครบ ๖๖ ปี" 

         ด้านหลัง มีอักขระยันต์ดวงอยู่ที่ตรงกลางเหรียญ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "จ.สมุทรสงคราม ๒๕๑๗"

         เหรียญหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม รุ่น ด.ใหญ่

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ เพื่อแจกในงานครบรอบ ๕ ปี สร้างพระอุโบสถ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว จัดเป็นเหรียญที่มีประสพการณ์ โดยมีคนที่แขวนเหรียญรุ่นนี้ถูกฟันแทงด้วยมีดสปาต้า ผลปรากฏว่าไม่มีแผล ชาวบ้านในพื้นที่เมื่อทราบต่างตามเก็บกันหมด เมื่อเหรียญได้รับควงามนิยมทางวัดจึงมีการสร้างเสริมออกมา ซึ่งเหรียญเสริมจะมีติ่งขอบเหรียญด้านล่าง ซึ่งเกิดจากการชำรุดของบล็อก มีการสร้างขึ้นด้วยเนื้อทองแดงเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม สมุทรสงคราม นิยม 2519 ทองแดง
เหรียญหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม รุ่น ด.ใหญ่(นิยม) ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ เนื้อทองแดง

เหรียญหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม สมุทรสงคราม เสริม 2519 ทองแดง
เหรียญหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม รุ่น ด.ใหญ่(เสริม) ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ เนื้อทองแดง

         ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อคลี่ครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูสมุทรวิจารณ์ หลวงพ่อวัดประชาโฆสิตาราม" 

         ด้านหลัง มีอักขระยันต์นะทรหด ซึ่งม้วนเหมือนตัวด.เด็ก อยู่ตรงกลางเหรียญจึงเป็นที่มาของชื่อรุ่น มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ที่ระลึกครบงานวางศิลาฤกษ์อุโบสถปีที่ ๕ พ.ศ. ๒๕๑๙"

         เหรียญหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม รุ่นอายุ ๗๒ ปี (ศิษย์สร้าง)

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ เพื่อแจกในงานทำบุญอายุหลวงพ่อครบ ๖ รอบ มีการสร้างขึ้นด้วยเนื้อทองแดงเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม สมุทรสงคราม รุ่นศิษย์สร้าง 2519 ทองแดง
เหรียญหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม รุ่นอายุ ๗๒ ปี(ศิษย์สร้าง) ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ เนื้อทองแดง

         ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อคลี่ครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูสมุทรวิจารณ์ วัดประชาโฆสิตาราม อายุ ๗๒ ปี" 

         ด้านหลัง มีอักขระยันต์ตรีนิสิงเห อยู่ตรงกลางเหรียญ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ศิษย์สร้างบูชาพระคุณ พ.ศ. ๒๕๑๙ สมุทรสงคราม"

         เหรียญหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม รุ่นอุ้มบาตร (ปี พ.ศ. ๒๕๒๐)

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ เพื่อแจกในงานทำบุญบริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด มีการสร้างขึ้นด้วยเนื้อเงิน และเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม สมุทรสงคราม รุ่น 2520 ทองแดง
เหรียญหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม รุ่นอุ้มบาตร ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ เนื้อทองแดง

         ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อคลี่เต็มองค์ นั่งอุ้มบาตร องค์หลวงพ่อห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูสมุทรวิจารณ์" 

         ด้านหลัง มีอักขระยันต์ตรีนิสิงเห ตรงกลางยันต์มีรูปจำลองหลวงพ่อบ้านแหลม มีอักขระยันต์ไทยเขียนว่า "หลวงพ่อวัดประชาโฆสิตาราม ต.ปลายโพงพาง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม ๒๕๒๐" ซึ่งเป็นปีที่สร้างเหรียญ

         เหรียญหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม รุ่น ภปร.

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๔ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด โดยมีการอัญเชิญประมาภิไธยย่อของในหลวง ร.๙ เมื่อคราวเสร็จมาทำพิธีหล่อพระบูชาที่วัดประชาฯ ไว้ด้านหลัง ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว  มีการสร้างขึ้นด้วยเนื้อทองแดงเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม สมุทรสงคราม รุ่น ภปร 2524 ทองแดง
เหรียญหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม รุ่น ภปร. ปี พ.ศ. ๒๕๒๔ เนื้อทองแดง

เหรียญหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม สมุทรสงคราม รุ่น ภปร 2524 ทองแดงกระไหล่ทองลงยา
เหรียญหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม รุ่น ภปร. ปี พ.ศ. ๒๕๒๔ เนื้อทองแดงกระไหล่ทองลงยา

         ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อคลี่ครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูสมุทรวิจารณ์ หลวงพ่อวัดประชาโฆสิตาราม" 

         ด้านหลัง มีอักขระยันต์นะทรหด ซึ่งม้วนเหมือนตัวด.เด็ก อยู่ตรงพระปรมาภิไธยย่อ ภปร จึงเป็นที่มาของชื่อรุ่น มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ที่ระลึกวางศิลาฤกษ์อุโบสถ ปีที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๒๔"

         พระบูชาฐาน ภปร. วัดประชาโฆสิตาราม

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๓ ในหลวงรัชกาลที่ ๙  และพระราชินีเสด็จเททองหล่อพระประธานของทางวัด เมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๓ และทรงเทหล่อพระบูชาไว้อีกด้วย องค์พระสร้างด้วยเนื้อโลหะรมดำ มีขนาดหน้าตัก ๙ นิ้ว และขนาดหน้าตัก ๕ นิ้ว จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

พระบูชา ภปร วัดประชาโฆสิตาราม สมุทรสงคราม 9 นิ้ว 2523
พระบูชาฐานตรา ภปร. วัดประชาโฆสิตาราม ปี พ.ศ. ๒๕๒๓ ขนาดหน้าตัก ๙ นิ้ว

พระบูชา ภปร วัดประชาโฆสิตาราม สมุทรสงคราม 9 นิ้ว 2523-ก้น
พระบูชาฐานตรา ภปร. วัดประชาโฆสิตาราม ปี พ.ศ. ๒๕๒๓ ขนาดหน้าตัก ๙ นิ้ว

พระบูชา ภปร วัดประชาโฆสิตาราม สมุทรสงคราม 5 นิ้ว 2523
พระบูชาฐานตรา ภปร. วัดประชาโฆสิตาราม ปี พ.ศ. ๒๕๒๓ ขนาดหน้าตัก ๕ นิ้ว

         ด้านหน้า เป็นรูปจำลองพระสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับนั่งปางมารวิชัย บนฐานชุกชีมีผ้าทิพย์สวยงาม บนผ้าทิพย์มีพระปรมาภิไธยย่อ ภปร. ของในหลวงรัชกาลที่ ๙

         ด้านหลัง  มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "เนื่องในพระบรมราชวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมราชินีนารถ เสด็จเป็นองค์ประธานเทหล่อพระประธานและพระพุทธรูปบูชาจำลอง ณ วัดประชาโฆสิตาราม อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม เมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๓"

         ด้านใต้ฐาน ไม่มีดินไทยหรือดินฝรั่ง

         พระบูชาหลวงพ่อบ้านแหลม วัดประชาโฆสิตาราม

         สร้างขึ้นหลังปี พ.ศ. ๒๕๑๐ กว่าๆ เป็นต้นมา องค์พระสร้างด้วยเนื้อโลหะทองเหลือง มีทั้งที่รมดำและไม่รมดำ มีขนาดสูง ๙ นิ้ว ๑๔ นิ้ว ๑๖ นิ้ว และ ๑๙ นิ้ว จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
พระบูชาหลวงพ่อบ้านแหลม วัดประชาโฆสิตาราม สมุทรสงคราม
พระบูชาหลวงพ่อบ้านแหลม วัดประชาโฆสิตาราม สมุทรสงคราม ขนาดสูง ๑๔ นิ้ว

         ด้านหน้า เป็นรูปจำลององค์หลวงพ่อวัดบ้านแหลม ประทับยืนบนฐาน ๘ เหลี่ยม ที่ฐานแกะคำว่า "หลวงพ่อบ้านแหลม"

         ด้านหลัง  มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "วัดประชาโฆสิตาราม"

         ด้านใต้ฐาน ไม่มีดินไทยหรือดินฝรั่ง

 

โดย : สารานุกรมลุ่มน้ำแม่กลอง

บทความที่เกี่ยวข้อ


***-[เป็นกำลังใจและสนับสนุน​ให้เราเขียนบทความดีๆ ช่วยกดดูโฆษณาด้านล่างนะคะ]-***

ไม่มีความคิดเห็น

ค้นหาบล็อกนี้