ประวัติและวัตถุมงคลหลวงพ่อเกษม วัดสุนทรสถิต(วัดอำแพง) ผู้สร้างเหรียญหลวงปู่นิม วัดอำแพง สมุทรสาครอันโด่งดัง
หลวงพ่อเกษม วัดสุนทรสถิต สมุทรสาคร |
หลวงพ่อเกษม วัดอำแพง หรือ พระครูสาครธรรมสถิต อดีตเจ้าอาวาสวัดสุนทรสถิต(วัดอำแพง) ท่านมีนามเดิมว่าเกษม โพธิ์แสง พื้นเป็นชาวกรุงเทพมหานคร เกิดที่ตำบลหนองแขม อำเภอหนองแขม จังหวัดธนบุรี เมื่อเกิดวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๒ โยมบิดาชื่อนายรุ่ง โพธิ์แสง โยมมารดาชื่อนางต้อม โพธิ์แสง ที่บ้านท่านประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดาเดียวกัน ๗ คน
ในสมัยเด็กนั้น ท่านเป็นเด็กที่มีความเฉลียวฉลาดกว่าเด็กทั่วไป รักการเขียนอ่าน ท่านได้ศึกษาที่โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม จนสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ ๔ จึงออกมาช่วยที่บ้านประกอบสัมมาอาชีพ
ปี พ.ศ. ๒๔๘๔ หลวงพ่อเกษมมีอายุได้ ๒๒ ปี ท่านจึงได้เข้ารับการอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดสุนทรสถิต(วัดอำแพง) ตำบลอำแพง อำเภอบ้านแพ้ว สมุทรสาคร เมื่อวันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๔ ตรงกับวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๕ ปีมะเส็ง ได้รับฉายาว่า "สุขวัณโณ" โดยมี
พระสมุทรคุณาการ (ชิต) วัดตึกมหาชยาราม เป็นพระอุปัชฌาย์
พระอธิการโฉม สุนทโร วัดสุนทรสถิต เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระอธิการเหลือ สุขปัญโญ วัดหลักสองราษฎร์บำรุง เป็นพระอนุสนาจารย์
หลังจากที่ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระบวรพุทธศาสนา ท่านก็ได้อยู่จำพรรษาที่วัดสุนทรสถิต หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า วัดอำแพง เพื่อศึกษาเล่าเรียน พระปริยัติธรรม
ปี พ.ศ. ๒๔๘๙ ท่านสามารถสอบได้นักธรรมตรี
ปี พ.ศ. ๒๔๙๔ หลวงพ่อโฉม ได้ถึงแก่มรณภาพลงทำให้ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดว่างลง ทางคณะกรรมการวัดและชาวบ้านในพื้นที่จึงพร้อมใจกัน นิมนต์หลวงพ่อเกษมขึ้นเป็นเจ้าอาวาสวัดสุนทรสถิต ทดแทนตำแหน่งที่ว่างลง และมีหนังสือแต่งตั้งเมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๔
วัดสุนทรสถิต เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลอำแพง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร วัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๕
วัดสุนทรสถิต เดิมชื่อว่า วัดอำแพง สันนิษฐานว่าเป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย มีหลวงพ่อพลิกเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ต่อมาในสมัยของพระมงคลโมลี (โฉม สุนฺทโร) ได้ทำการเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดสุนทรสถิต" วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐
หลังจากที่หลวงพ่อเกษม ได้ขึ้นเป็นเจ้าอาวาส ท่านได้พัฒนาวัดอย่างสุดึความสามารถ ทั้งการสร้างเสลาสนะต่างๆ อาทิเช่น ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ และพระอุโบสถ จนวัดเจริญรุ่งเรืองขึ้นเป้นอย่างมาก
ปี พ.ศ. ๒๔๙๕ เป็นกรรมการสอบธรรมสนามหลวง
ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ สร้างหอสวดมนต์ (หอฉัน)
ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ สร้างกุฏิ ๑๑ หลัง ห้องน้ำ ๒ หลัง ๘ ห้อง
ปี พ.ศ. ๒๕๑๗ ได้รับตำแหน่งฐานานุกรม สมณศักดิ์ที่พระครูใบฏีกา
ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ สร้างวิหารหลวงปู่นิ่ม และปิดทองพระพุทธบาทจำลอง
ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ได้รับสมณศักดิ์ที่พระครูสัญญาบัตร ชั้นโท ที่ พระครูสาครธรรมสถิต และปีนั้นท่านได้สร้างหอกลอง
ปี พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์
ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ตั้งมูลนิธิประจำวัดสุนทรสถิต (วัดอำแพง)
ปี พ.ศ. ๒๕๒๗ สร้างฌาปนสถาน
ปี พ.ศ. ๒๕๒๙ สร้างศาลาปฏิบัติธรรม และสุสานเก็บศพใหม่
ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ สร้างหอระฆัง สร้างซุ้มประตูทางเข้าวัด
ในช่วงชีวิตของหลวงพ่อเกษมนั้น ท่านมีความนับถือในตัวของหลวงปู่นิ่ม อดีตเจ้าอาวาสวัดอำแพงเป็นอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากการที่ท่านสร้างวัตถุมงคลต่างๆ เป็นรูปหลวงปู่นิ่มเสียเป็นส่วนใหญ่
หลวงพ่อนิ่ม วัดอำแพง สมุทรสาคร |
หลวงปู่นิ่ม ท่านเป็นเป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดสุนทรสถิต(วัดอำแพง) อดีตเจ้าคณะอำเภอเมืองสมุทรสาคร เกิดที่ตำบลอำแพงอำเภอ บ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๘ และมรณภาพในปี พ.ศ. ๒๔๕๓ นับรวมสิริอายุได้ ๖๔ ปี
ในขณะที่หลวงปู่ยังมีชีวิตอยู่นั้น ท่านชอบเดินธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆ ท่านชอบความสันโดษ และนั่งวิปัสนากรรมฐาน ทุกครั้งที่หลวงปู่กลับจากการเดินธุดงค์ ในที่ต่างๆ แล้ว เมื่อเวลาที่ท่านจะกลับเข้ามายังวัด ท่านจะปักกลดอยู่ที่บริเวณหลังวัดก่อนหลังจากนั้นจะมี พระลูกศิษย์ของท่าน จะมานิมนต์เข้าไปภายในวัดอีกครั้งหนึ่ง
จากการบอกเล่าของคนเฒ่าคนชราในหมู่บ้านเล่าสืบต่อกันมาว่า ขณะที่ท่านเดินธุดงค์อยู่นั้นท่านจะมีพระสหธรรมมิก ชื่อหลวงปู่แก้ว วัดเครือวัลย์ โดยท่านได้เดินธุดงค์มาพบกันโดยบังเอิญและ ได้แลกเปลี่ยนวิชาการทำพระซึ่งกันและกัน
โดยหลวงปู่นิ่มได้ร่วมกับหลวงพ่อแก้ว สร้างพระสังขจายน์เนื้อผงคลุกรัก เท่าที่ทราบมีประมาณ ๗ องค์เท่านั้น ตระกรุดยา และลูกอม ปรอท เป็นต้น
รูปหล่อหลวงพ่อนิ่ม วัดอำแพง สมุทรสาคร |
วัตถุมงคลของท่านล้วนหายาก ยิ่งใครที่มีไว้ และได้รับเป็นมรดกตกทอดจากบรรพบุรุษ ต่างหวงแหนมาก ในขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้น ท่านได้หล่อรูปหล่อตัวท่านเองเอาไว้ซึ่งเป็นรูปหล่อเนื้อโลหะที่เราสักการะบูชาที่อยู่ในวิหารในปัจจุบันนี้ ซึ่งมีความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เลื่องลือตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน
หลวงพ่อเกษม ปกครองวัดเรื่อยมาจนถึงแก่มรณภาพลงด้วยโรคมะเร็งเส้นเลือดข้างปอด เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๒ ที่กุฏิของท่านเอง นับรวมสิริอายุได้ ๗๐ ปี ๕ เดือน ๑๒ วัน ๔๘ พรรษา.
วัตถุมงคลของหลวงพ่อเกษม และหลวงปู่นิ่ม วัดอำแพง
เหรียญหลวงพ่อเกษม วัดอำแพง รุ่นแรก
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปข้าวหลามตัดแบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้ออัลปาก้าเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่อเกษม วัดอำแพง สมุทรสาคร รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๑๐ เนื้ออัลปาก้า |
เหรียญหลวงพ่อเกษม วัดอำแพง สมุทรสาคร รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๑๐ เนื้ออัลปาก้า |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองของหลวงพ่อเกษม ครึ่งองค์ห่มจีวรคลุมไหล่ ด้านบนรูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระอาจารย์เกษม สุขอณโน" ใต้รูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "วัดสุนทรสถิต"
ด้านหลัง มีอักขระยันต์พระเจ้าห้าพระองค์ อ่านว่า "อุ นะ โม พุท ธา ยะ"เหรียญหลวงพ่อนิ่ม วัดอำแพง รุ่นแรก
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ในสมัยของหลวงพ่อเกษมเป็นเจ้าอาวาส เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์สร้างหอฉันของทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปเสมาแบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อนวะโลหะ และเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่อนิ่ม วัดอำแพง สมุทรสาคร รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ เนื้อเงิน |
เหรียญหลวงพ่อนิ่ม วัดอำแพง สมุทรสาคร รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ เนื้อนวะโลหะ |
เหรียญหลวงพ่อนิ่ม วัดอำแพง สมุทรสาคร รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ เนื้อทองแดง |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองของหลวงพ่อนิ่ม นั่งสมาธิเต็มองค์บนอาสนะ องค์หลวงพ่อห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิรัดประคต ด้านบนรูปหลวงพ่อมีอักขระขอมอ่านได้ว่า "พุท โธ" ใต้รูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูนิ่ม วัน ๕ เดือน ๓ ปีชวด พ.ศ. ๒๕๑๕"
ด้านหลัง มีอักขระยันต์พระเจ้าห้าพระองค์ ขอบเหรียญมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ลาภผลพูลทวี ที่ระลึกในการสร้างหอฉัน วัดสุนทรสถิตย์(อำแพง)"
เหรียญหลวงพ่อเกษม วัดอำแพง รุ่นสอง
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปเสมาแบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อเงิน และเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่อเกษม วัดอำแพง สมุทรสาคร รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๑๖ เนื้อทองแดง |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองของหลวงพ่อเกษม นั่งสมาธิเต็มองค์บนอาสนะ องค์หลวงพ่อห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ด้านบนรูปหลวงพ่อมีอักขระขอมอ่านได้ว่า "พุท โธ" ใ
ด้านหลัง มีอักขระยันต์มอญ ใต้อักขระยันต์มีอักขระภาษาไทยปนขอมเขียนว่า "๗ เม ยะ ๑๖" หรือ ๗ เมษายน ๑๖ ซึ่งคือปีที่สร้างเหรียญโดย : สารานุกรมพระเครื่องลุ่มน้ำแม่กลอง
บทความที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีความคิดเห็น