พระท่ากระดานน้อยกรุท่าเสา อีกหนึ่งพระกรุที่เก่าแก่ของกาญจนบุรี
พระท่ากระดานน้อยกรุท่าเสา เมืองกาญจนบุรี จัดเป็นพระกรุที่มีอายุการสร้างเก่าแก่อีกกรุหนึ่ง แม้จะไม่เก่าแก่เท่าพระท่ากระดาน แต่ก็เป็นที่นิยมของวงการพระอีกกรุหนึ่ง
วัดท่าเสา หรือ วัดกาญจนบุรีเก่า หรือ วัดนางพิม เดิมเป็นวัดร้างที่สร้างในสมัยอยุธยา เล่ากันว่านางพิมเป็นผู้สร้าง
ภายในบริเวณวัดพบซากเจดีย์เก่าทรงกลมฐานต่ำ ซากกำแพง และพระพุทธรูปหินทรายสีแดงขนาดใหญ่จำนวนหลายองค์
ก่อนจะได้รับการโยกย้ายไปเป็นพระประธานในอุโบสถ วัดสำคัญหลายๆ วัดในเขตอำเภอเมืองกาญจนบุรี ได้แก่ วัดเทวสังฆาราม วัดถาวรวราราม (วัดญวน) และวัดศรีอุปลาราม(วัดหนองบัว)
ส่วนพระพุทธรูปสมัยอยุธยาที่ปัจจุบันยังอยู่ที่วัดกาญจนบุรีเก่ามีจำนวน ๒ องค์ คือ หลวงพ่อประทานโชค ที่ประดิษฐานอยู่ในมณฑปของวัด และพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งที่ประดิษฐานอยู่ในศาลาการเปรียญ
วัดท่าเสา หรือ วัดกาญจนบุรีเก่า หรือ วัดนางพิม จังหวัดกาญจนบุรี |
จากเอกสารของกรมการศาสนาพึ่งปรากฎในทะเบียนการตั้งวัดเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๐ ต่อมาพระอาจารย์จวน เจ้าอาวาสรูปแรกได้บูรณะเป็นวัดที่มีพระสงฆ์ ให้ชื่อว่า วัดท่าเสา เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อหมู่บ้านและท่านได้บูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะเพื่อใช้เป็นที่พักสงฆ์และบำเพ็ญกุศล
พระท่ากระดานน้อยกรุท่าเสา แตกกรุเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๗ เมื่อมีการขุดฐานพระเจดีย์องค์หนึ่งภายในวัด ทำให้พบพระท่ากระดาน พระกรุท่าเสา พระพิมพ์อู่ทอง พระท่ากระดานหูช้าง พระลีลา เป็นต้น แต่ละพิมพ์ล้วนมีศิลปะแบบอู่ทอง ทั้งสิ้นซึ่งมีไม่มากนัก
แต่ในจำนวนนี้มีพระกรุที่มีการพบมากสุดคือพระท่ากระดานน้อย ตามหลักฐานที่ขุดพบสันนิษฐานว่า พระท่ากระดานน้อยกรุท่าเสา เป็นพระที่สร้างขึ้นภายหลัง พระท่ากระดานพิมพ์ใหญ่ หลังขุดพบทางวัดได้นำพระกรุที่ขุดพบออกจำหน่ายเพื่อนำเงินมาบูรณะวัด ไม่นานก็หมดไปจากวัด
วัตถุมงคลพระกรุท่าเสา กาญจนบุรี
พระท่ากระดาน กรุท่าเสา กาญจนบุรี (พิมพ์ใหญ่)
แตกกรุเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๗ พุทธลักษณะเป็นพระเนื้อตะกั่วสนิมแดงศิลปอู่ทอง องค์พระคล้ายกับพระท่ากระดานกรุศรีสวัสดิ์แต่องค์พระมีขนาดเล็กและบางกว่า จำนวนการพบไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
พระท่ากระดาน กรุท่าเสา กาญจนบุรี พิมพ์ใหญ่ ของร้านกาญจนสินธุ์ |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับนั่งปางมารวิชัยบนฐานเขียง บนพระพักตร์ปรากฏชัดเจนทุกอย่างทั้งพระเนตร พระขนง พระโอษฐ์ และพระนาสิก พระเกศยาวแบบพระท่ากระดานพิมพ์นิยม
ด้านหลัง เรียบไม่มีอักขระใดๆ พระท่ากระดาน กรุท่าเสา กาญจนบุรี (พิมพ์เล็ก)
แตกกรุเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๗ พุทธลักษณะเป็นพระเนื้อตะกั่วสนิมแดงศิลปอู่ทอง องค์พระคล้ายกับพระท่ากระดานพิมพืใหญ่แต่องค์พระมีขนาดเล็กกว่า จำนวนการพบไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
พระท่ากระดาน กรุท่าเสา กาญจนบุรี พิมพ์เล็ก ของร้านกาญจนสินธุ์ |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับนั่งปางมารวิชัยบนฐานเขียง บนพระพักตร์ปรากฏชัดเจนทุกอย่างทั้งพระเนตร พระขนง พระโอษฐ์ และพระนาสิก
ด้านหลัง เรียบไม่มีอักขระใดๆ พระท่ากระดานน้อยกรุท่าเสา กาญจนบุรี
แตกกรุเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๗ พุทธลักษณะเป็นพระเนื้อชินสนิมแดงศิลปอู่ทองกว้างประมาณ ๑.๒ ซม. สูง ๒.๒ ซม. องค์พระคล้ายกับพระท่ากระดานน้อยกรุศาลเจ้า จังหวัดราชบุรี แต่ปีกพระจะกว้างกว่าและลักษณะสนิมแดงของพระกรุวัดท่าเสาสีแดงเข้มจัดกว่า และมีไขมากกว่าของกรุวัดศาลเจ้า จำนวนการพบไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
พระท่ากระดานน้อยกรุท่าเสา กาญจนบุรี แตกกรุ ปี พ.ศ. ๒๕๐๗ |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับนั่งปางมารวิชัย บนพระพักตร์ปรากฏชัดเจนทุกอย่างทั้งพระเนตร พระขนง พระโอษฐ์ และพระนาสิก บริเวณขอบองค์พระยังปรากฏปีกด้านข้างทุกองค์ ทั้งประเภทปีกกว้าง และปีกชิด
ด้านหลัง เรียบไม่มีอักขระใดๆ
พระลีลากรุท่าเสา กาญจนบุรี
แตกกรุเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๗ พุทธลักษณะเป็นพระเนื้อชินปางลีลา องค์พระมีสนิมแดง เป็นพระศิลปอู่ทอง พระพิมพ์นี้มีแตกกรุที่กรุเขาชนไก่อีกที่หนึ่งด้วย จำนวนการพบไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
พระลีลากรุท่าเสา กาญจนบุรี แตกกรุ ปี พ.ศ. ๒๕๐๗ |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับยืนปางลีลาในซุ้มเรือนแก้ว บนพระพักตร์ปรากฏชัดเจนทุกอย่างทั้งพระเนตร พระขนง พระโอษฐ์ และพระนาสิก
ด้านหลัง เรียบไม่มีอักขระใดๆ
พระขุนแผนสะกดทัพกรุท่าเสา กาญจนบุรี
แตกกรุเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๗ พุทธลักษณะเป็นพระเนื้อชินปางยืน พระหัตถ์ทั้งสองประสานแบบพระปางถวายเนตร องค์พระมีสนิมแดง เป็นพระศิลปอู่ทอง พระพิมพ์นี้มีแตกกรุที่กรุเขาชนไก่อีกที่หนึ่งด้วย จำนวนการพบไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
พระขุนแผนสระกดทัพ กรุท่าเสา กาญจนบุรี แตกกรุ ปี พ.ศ. ๒๕๐๗ ของคุณพีท เมืองกาจนญ์ |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับยืนปางถวายเนตรในซุ้มเรือนแก้ว บนพระพักตร์ปรากฏชัดเจนทุกอย่างทั้งพระเนตร พระขนง พระโอษฐ์ และพระนาสิก
ด้านหลัง เรียบไม่มีอักขระใดๆ
พระอุ้มบาตรกรุท่าเสา กาญจนบุรี
แตกกรุเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๗ พุทธลักษณะเป็นพระเนื้อชินยืนอุ้มบาตร พระบาตรยื่นเด่นออกมาจากพิมพ์พระเป็นเอกลักษณ์ องค์พระมีสนิมแดง เป็นพระศิลปอู่ทอง จำนวนการพบไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
พระอุ้มบาตรกรุท่าเสา กาญจนบุรี แตกกรุ ปี พ.ศ. ๒๕๐๗ ของคุณวัฒนศักดิ์ |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับยืนปางอุ้มบาตร บนพระพักตร์ปรากฏชัดเจนทุกอย่างทั้งพระเนตร พระขนง พระโอษฐ์ และพระนาสิก
ด้านหลัง เรียบไม่มีอักขระใดๆ
โดย : สารานุกรมพระเครื่องลุ่มน้ำแม่กลอง
บทความที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีความคิดเห็น