โฆษณาแนวนอน728*90

บทความใหม่

พระร่วงยืนเท้าถ่าง กรุปราสาทเมืองสิงห์ หนึ่งในพระกรุหายากของกาญจนบุรี

พระร่วงยืน กรุปราสาทเมืองสิงห์ กาญจนบุรี
พระร่วงยืน กรุปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี

         พระร่วงยืนเท้าถ่าง กรุปราสาทเมืองสิงห์ ขุดค้นพบ ณ บริเวณพื้นที่ปราสาทเมืองสิงห์ โดยเมืองสิงห์และปราสาทเมืองสิงห์ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแควน้อย อยู่ในเขตตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งมีการขุดพบโบราณสถานและโบราณวัตถุมากมาย หนึ่งในนั้นคือพระเครื่องเนื้อชินเงินที่เป็นที่เลื่องลือมีอายุนับ ๑,๐๐๐ ปี

         เมืองสิงห์เป็นชื่อเมืองที่ปรากฏในเอกสารทางประวัติศาสตร์ไทยเป็นครั้งแรก ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แต่แท้จริงชื่อเมืองสิงห์ได้ปรากฏขึ้นในศิลาจารึกที่ปราสาทพระขรรค์ ซึ่งพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงสร้างขึ้นเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๘ (พ.ศ. ๑๗๐๐ - ๑๘๐๐) แล้ว

         ในศิลาจารึกหลักนั้นได้กล่าวถึงชื่อเมืองต่างๆ ว่าเป็นที่ประดิษฐานพระชัยพุทธมหานาถ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปฉลองพระองค์พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗

         โดบในบรรดาชื่อเมืองต่างๆ ที่กล่าวถึงนั้น มีชื่อเมืองอยู่ ๖ เมืองที่นักวิชาการเชื่อกันว่าอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย ได้แก่

         ๑. ละโว้ทยะปุระ คือเมืองละโว้ หรือลพบุรี พบโบราณสถานศิลปะขอมแบบบายน เช่น พระปรางค์สามยอด พระปรางค์วัดมหาธาตุ เป็นต้น

         ๒. สุวรรณปุระ คือเมืองสุพรรณบุรี พบซากโบราณสถานที่อำเภอสามชุก

         ๓. ศัมพูกะปัฎฏนะ ยังไม่พบหลักฐานว่าอยู่ที่ใด

         ๔. ชัยราชบุรี คือเมืองราชบุรี มีพระปรางค์วัดมหาธาตุราชบุรี

         ๕. ศรีชัยสิงห์บุรี คือเมืองสิงห์ กาญจนบุรี 

         ๖. ชัยวัชรบุรี คือเมืองเพชรบุรี มีปราสาทวัดกำแพงแลง

         เรื่องราวเกี่ยวกับปราสาทเมืองสิงห์ นั้นมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ว่าปราสาทเมืองสิงห์เป็นปราสาทที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ดังปรากฏในหนังสือและบทความหลายแห่ง โดยเฉพาะบทความของ ม.ร.ว.สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์ ในวารสารเมืองโบราณ ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๒๖

ภาพปติมากรรมพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
ปติมากรรมรูปสลักเหมือนจริงของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗

         ซึ่งมีหลักฐานและเหตุผลหลายประการที่สนับสนุนให้เห็นว่าปราสาทเมืองสิงห์ได้สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ โดยเฉพาะหลักฐานทางด้านสถาปัตยกรรมและประติมากรรมที่ปรากฏ 

         และพบที่ปราสาทเมืองสิงห์ ซึ่งก็ตรงความเชื่อว่าปราสาทเมืองสิงห์สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ โดยเชื่อกันว่าได้มีการส่งหัวหน้าช่าง และประติมากรรมบางชิ้นพร้อมทั้งวัตถุดิบ เช่น หินทรายมาจากเขมร หรือเมืองอื่นที่เป็นศูนย์อำนาจของเขมรในเวลานั้น

         ซึ่งอาจจะเป็นลพบุรีก็ได้ ส่วนลูกมือช่างก็เป็นคนในท้องถิ่น ดังจะเห็นได้จากประติมากรรมบางชิ้นที่มีลักษณะพื้นเมือง หรือลักษณะท้องถิ่นเข้ามาปะปนอยู่ด้วย

         ภายในอาคารพิพิธภัณฑ์ที่ปราสาทเมืองสิงห์ จะมีโบราณวัตถุหลายชิ้นที่พบในปราสาทเมืองสิงห์ตั้งแต่เริ่มมีการบูรณะเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๗ แต่มีโบราณวัตถุ ๒ ชิ้นที่เป็นที่สะดุดตาเป็นอย่างยิ่งก็คือชิ้นส่วนพระพักษ์ของพระพุทธรูป ศิลปบายน

         ชิ้นแรก เป็นส่วนด้านบนของใบหูข้างขวาที่มีปูนขาวพอกติดอยู่เล็กน้อย

         ชิ้นที่สอง เป็นส่วนของปลายจมูกต่อถึงขอบตาล่างข้างซ้าย

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ปราสาทเมืองสิงห์ กาญจนบุรี
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ปราสาทเมืองสิงห์ กาญจนบุรี

         โบราณวัตถุทั้ง ๒ ชิ้นเป็นหินทราย มีขนาดประมาณ ๒๕ x ๕๐ เซนติเมตร ส่วนหลักฐานทางรูปแบบสถาปัตยกรรมของปราสาทเมืองสิงห์ที่มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบบายนในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ซึ่งก่อด้วยศิลาแลง

         ส่วนหลังคาและส่วนยอดของปรางค์ก่อด้วยหินทรายโดยมีร่องรอยการใช้ปูนปั้นหุ้มประกอบ อันเป็นลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแบบบายน 

         และลักษณะเด่นอีกอย่างหนึ่งก็คือ บนยอดปรางค์ประธานมักจะทำเป็นรูปหน้าคน หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่าพรหมพักตร์ ไว้ทั้ง ๔ ทิศ นัยว่าเป็นพระพักตร์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

         เกี่ยวกับรูปหน้าคนหรือพรหมพักตร์นี้ มีจริงบนยอดปรางค์ของปราสาทเมืองสิงห์ตามบันทึกที่เขียนไว้ในบทความเรื่อง ขุดอดีตที่บ้านเก่าเมืองกาญจนบุรี วารสารศิลปวัฒนธรรม ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๔๔ ซึ่งก็ตรงกับลักษณะของโบราณวัตถุ ๒ ชิ้นที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์ของปราสาทเมืองสิงห์

ปราสาทเมืองสิงห์ กาญจนบุรี
ปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี

         ในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๐๕ - ๒๕๑๗ ซึ่งเป็นปีที่เริ่มมีการบูรณะ เป็นเวลาห่างกัน ๑๒ ปี ในช่วงเวลานั้นเริ่มมีการก่อสร้างถนนสายกาญจนบุรีไปทองผาภูมิ เพื่อขนส่งวัสดุอุปกรณ์เกี่ยวกับการสร้างเขื่อนเขาแหลม (เขื่อนวชิราลงกรณ์) 

         ซึ่งถนนสายนี้ก็ไม่ห่างจากปราสาทเมืองสิงห์มากนัก ได้มีผู้ประสงค์ร้ายใช้รถขนาดใหญ่เข้าไปขนโบราณวัตถุออกไปเป็นจำนวนมาก 

         โดยเพราะตั้งแต่ก่อนหน้า พ.ศ. ๒๕๐๕ ก็มีขโมยเข้าไปลักขุดที่ปราสาทเมืองสิงห์แล้ว ซึ่งมีผลทำให้องค์ปรางค์พังทลายลงมา และถูกขนย้าย โดยในขณะเดียวกันการส่งโบราณวัตถุไปต่างประเทศก็ไม่ได้เข้มงวด จึงอาจเป็นไปได้ว่าโบราณวัตถุหลายชิ้นได้ถูกลักขโมยไปประทับอยู่ต่างประเทศแล้ว

ภาพมิสเติร์จิม ทอมป์สัน ณ ปราสาทเมืองสิงห์ กาญจนบุรี ยุคก่อนการบูรณะ
นายจิม ทอมป์สัน ณ ปราสาทเมืองสิงห์ กาญจนบุรี ยุคก่อนการบูรณะ

         บริเวณนี้เคยเป็นเมืองโบราที่เรียกว่า เมืองสิงห์ แต่ก่อนหน้าจะเป็นเมืองสิงห์นั้น นักโบราณคดีมีการขุดค้นพบหลักฐานเก่าแก่ที่สุดนอกกำแพงเมืองด้านทิศใต้ 

         บริเวณริมแม่น้ำแควน้อย เป็นหลุมฝังศพมนุษย์และเครื่องมือเครื่องใช้ที่ฝังร่วมกับศพ อาทิ ภาชนะดินเผา แวดินเผา ภาชนะสำริด (ขวาน ทัพพี กำไล) ลูกปัดหินอะเกตและคาร์นีเลียน กำไลหิน ลูกปัดแก้ว กำไลเปลือกหอย ฯลฯ 

         กำหนดอายุอยู่ในราวปลายยุคโลหะสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ประมาณ ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว แสดงให้เห็นว่าบริเวณนี้มีคนเข้ามาทำกิจกรรมก่อนหน้าที่จะมีการสร้างเมืองเป็นเวลานานนับพันปี แต่น่าเสียดายไม่ปรากฏหลักฐานแสดงความต่อเนื่องทางวัฒนธรรมของบริเวณนี้

         จากสมัยก่อนประวัติศาสตร์มาสู่ยุคที่มีการสร้างเมือง ลุมาถึงสมัยเมืองสิงห์ ช่วงเวลาที่มีการสร้างเมือง ปรากฏหลักฐานอยู่จำนวนมาก ผังเมืองรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดพื้นที่ประมาณ ๑ ตารางกิโลเมตร มีคูเมือง คันดิน และกำแพงเมืองศิลาแลงล้อมรอบ

ปราสาทเมืองสิงห์ กาญจนบุรี
พระนางปรัชญาปารมิตา ปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี

         กลางเมืองมีโบราณสถานทรงปราสาทสร้างขึ้นตามลักษณะศิลปะขอมแบบบายน โบราณวัตถุที่เป็นประติมากรรมตามลักษณะศิลปะขอมแบบเดียวกัน จากลักษณะศิลปกรรมสามารถกำหนดอายุปราสาทหลังนี้ น่าจะสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ หรือในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (พ.ศ. ๑๗๒๐ - ๑๗๘๐)

         กษัตริย์นักสร้างปราสาทขอม นอกจากนี้ในศิลาจารึกที่ปราสาทพระขรรค์ เมืองพระนคร ประเทศกัมพูชา ทำขึ้นโดยเจ้าชายวีรกุมาร โอรสของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ มีข้อความสรรเสริญและตอนหนึ่งกล่าวถึงชื่อเมืองต่างๆ ๒๓ หัวเมือง ที่พระราชบิดาประดิษฐานพระชัยพุทธมหานาถ อันเป็นรูปฉลองพระองค์ ได้ระบุชื่อเมือง ๖ เมืองตามที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว

พระชัยพุทธมหานาถ ปราสาทเมืองสิงห์ กาญจนบุรี
พระชัยพุทธมหานาถ ปราสาทเมืองสิงห์ กาญจนบุรี

         โดยศรีชัยสิงหบุรี เชื่อกันว่าคือเมืองสิงห์ ที่ตั้งปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี อย่างไรก็ดี นักวิชาการบางท่านได้เห็นต่างออกไป เนื่องจากพบความแตกต่างในรูปแบบของกลุ่มปราสาทขอมพื้นที่แถบตะวันออก และภาคอีสานของไทยกับกลุ่มปราสาทขอมในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

          แต่หลักฐานทั้งหมดมิได้ปฏิเสธความสัมพันธ์ทั้งด้านสังคมและวัฒนธรรมระหว่างละโว้กับเมืองพระนครในกัมพูชา พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี นางปรัชญาปารมิตา ส่วนการสร้างปราสาทขอมเมืองสิงห์

นางปรัชญาปารมิตา ที่พบในปราสาทเมืองสิงห์ กาญจนบุรี
นางปรัชญาปารมิตา ที่พบในปราสาทเมืองสิงห์ กาญจนบุรี

         สันนิษฐานกันว่าคอยควบคุมดูแลเส้นทางการค้าที่เชื่อมระหว่างอินเดียกับสุวรรณภูมิ อย่างไรก็ตาม หลังจากที่อาณาจักรขอมล่มสลายในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ปราสาทถูกทิ้งร้างผุพังไปตามกาลเวลา จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๗๘ กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเมืองสิงห์เป็นโบราณสถานของชาติ 

          และปี พ.ศ. ๒๕๑๗ เริ่มดำเนินบูรณะโบราณสถาน พัฒนาพื้นที่ ปรับปรุงภูมิทัศน์ และดำเนินการบริหารจัดการในรูปอุทยานประวัติศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย.

วัตถุมงคลของกรุปราสาทเมืองสิงห์

         พระร่วงยืนเท้าถ่าง กรุปราสาทเมืองสิงห์ (วัดพระสิงห์)

         สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. ๒๐๐๐ เพื่อเป็นพุทธบูชาแทนองค์พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ลักษณะเป็นพระหล่อโบราณ เนื้อชินตะกั่วองค์พระมีสนิมแดง ครั้งแรกที่มีการค้นพบเกิดจากขโมยที่เข้าไปลักลอบขุดหาสมบัติตามโบราณสถานขุดพบนำออกมาขายในช่วงก่อนปี พ.ศ. ๒๕๐๐ จำนวนการค้นพบไม่ได้มีการจดบันไว้ แต่น่าจะน้อยมากเพราะปัจจุบันแทบไม่พบเห็นหมุนเวียนเลย

พระร่วงยืนเถ้าถ่าง กรุปราสาทเมืองสิงห์ กาญจนบุรี ชินตะกั่ว
พระร่วงยืนเท้าถ่าง กรุปราสาทเมืองสิงห์ กาญจนบุรี เนื้อชินตะกั่ว ของร้านบ้านพระกรุ
พระร่วงยืนเถ้าถ่าง กรุปราสาทเมืองสิงห์ กาญจนบุรี ชินตะกั่ว
พระร่วงยืนเท้าถ่าง กรุปราสาทเมืองสิงห์ กาญจนบุรี เนื้อชินตะกั่ว

         ด้านหน้า เป็นรูปจำลองพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรประทับยืนปางประทานพร  เท้าถ่างองค์พระเป็นศิลปขอม มีเม็ดพระเนตรโปน พระขนงค์ปีกกา ข้างองค์พระโพธิสัตว์มีเส้นรัศมี

         ด้านหลัง เรียบ มีร่องรอยการเทหล่อเนื้อโลหะยุบลงไป



โดย : สารานุกรมพระเครื่องลุ่มน้ำแม่กลอง

บทความที่เกี่ยวข้อง

  ***-[เป็นกำลังใจและสนับสนุน​ให้เราเขียนบทความดีๆ ช่วยกดดูโฆษณาด้านล่างนะคะ]-***

ไม่มีความคิดเห็น

ค้นหาบล็อกนี้