หลวงพ่อไพล วัดบางแคกลาง สมุทรสงคราม |
เบี้ยแก้หลวงพ่อไพล วัดบางแคกลาง จ.สมุทรสงคราม ท่านสร้างเริ่มสร้างเบี้ยแก้ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2489 เป็นต้นมา โดยสร้างตามตำหรับตำราของหลวงพ่อหนึ่ง วัดห้วยโรง เมืองเพชรบุรี ผู้เป็นอาจารย์ที่ตกทอดมายังท่าน
แต่เบี้ยของท่านจะไม่มีการถัก และเบี้ยของท่านเมื่อเขย่าต้องไม่มีเสียงเพราะภายในบรรจุแต่ว่านต่างๆ
เบี้ยแก้ของท่านมีประสบการณ์มากมายคนแม่กลองรู้จักกันดี เพราะเป็นสำนักเดียวของแม่กลองที่มีการสร้างเบี้ยแก้
คนที่นับถือท่านต่างทราบดี ทั้งกันคุณไสย์ ไล่เสนียด ใส่หมอนหนุนนอนให้เด็กที่มักนอนสะดุ้งขวัญผวา และพกติดตัวเวลาค้างอ้างแรมในต่างถิ่น
เบี้ยแก้หลวงพ่อไพล วัดบางแคกลาง ของคุณพรชัย อุโฆษจันทร์ |
โดยส่วนประกอบในการทำชันและของมงคลที่บรรจุลงในเบี้ยแก้ของหลวงพ่อไพลนั้นประกอบไปด้วยว่านและของศักดิ์สิทธิ์หลายอย่าง ประกอบไปด้วย
๑. งาจำกัด
๒. งากำจาย
๓. พรายกระเด็น
๔. ต้นผีพ่าย
๕. ต้นผีหน่าย
๖. รอดฐานพระขี้
๗. เม็งรักข้า
๘. กัลปังหาแดง ดำ ขาว
๙. ชันเพชร
๑๐. ชันโลงใต้ดิน
๑๑. ชันยาเรือน้ำมันยาง
๑๒. ต้นเพชรสังฆาต
๑๓. ขี้ผึ้งเทียนชัย
๑๔. ว่าน108 ฯ
๑๕. เห็ดหลุม
๑๖. ต้นผีหนี
๑๗. ต้นผีหนาด
๑๘. กระเบนท้องน้ำ
๑๙. น้ำปรอท
ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นวัตถุอาถรรณ์ทั้งสิ้น หลวงพ่อไพลท่านจะลงมือทำเองตั้งแต่คัดตัวเบี้ย ที่ได้ขนาดที่เหมาะสม แล้วจึงนำมวลสารทุกอย่างมาโขลกให้ละเอียด ยกเว้น น้ำมันยาง ชันยาเรือ ชันโรงใต้ดิน ขี้ผึ้งเทียนชัย น้ำปรอท ตัวหอย
หลังจากนั้นใส่ไว่ในบาตรพระ แล้วนำมากวนเข้าด้วยกัน ตักส่วนผสมใส่ตัวเบี้ย จากนั้นใส่ปรอทลงไปในตัวเบี้ย หลังจากนั้นนำชันต่างๆ มาเคี่ยว หลังจากนั้นก็นำมาปิดที่ก้นเบี้ย
โดยหลวงพ่อไพลท่านจะปลุกเสกเดี่ยว เมื่อเข้มขลังดีแล้วจึงแจกจ่ายแก่ศิษยานุศิษย์ มีทั้งเลี่ยมนาค เลี่ยมเงินแปะตั๊ง ศิลป์การเลี่ยมจากวัด และไม่เลี่ยม (หากเลี่ยมสแตนเลสจะเป็นยุคหลังไม่ทันหลวงพ่อ)
เบี้ยแก้หลวงพ่อไพล วัดบางแคกลาง ของคุณพรชัย อุโฆษจันทร์ |
โดยหลวงพ่อไพล จะไม่ได้บอกว่าหลวงพ่อใช้คาถาอะไรในการปลุกเสก ถือว่าเป็นเบี้ยแก้อีกสำนักหนึ่งที่น่าใช้ และสร้างตามตำราโบราณจารย์อย่างแท้จริง
โดยสมัยก่อนยายของข้าพเจ้าซึ่งได้รับเบี้ยมาจากมือของหลวงพ่อไพลได้เล่าให้ฟังว่า พระของท่านไม่มีค่างวดอะไร บริจาคเท่าไหร่ท่านก็แจกให้ อยากได้เท่าไหร่ก็หยิบเอา แสดงให้เห็นว่าหลวงพ่อไพลท่านมีความเมตตาสูง ไม่ยึดติดกับทรัพย์สินต่างๆ
และการที่ท่านเป็นเช่นนี้ จึงทำให้การสร้างพระอุโบสถ์ของวัดบางแคกลาง จึงไม่แล้วเสร็จในสมัยที่ท่านเป็นเจ้าอาวาส แต่คุณงามความดีของท่านก็ยังเป็นที่เล่าขานกันมาจวบจนปัจจุบัน
หลวงพ่อไพล วัดบางแคกลาง ถือเป็นพระเกจิแห่งลุ่มน้ำแม่กลองเพียงรูปเดียวที่สร้างเบี้ยแก้ ซึ่งถือเป็นเบี้ยแก้อันดับหนึ่งของพระลุ่มน้ำแม่กลอง โดยประวัติของท่านนั้นมิได้มีการจดบันทึกไว้แต่อย่างใด มีแต่เรื่องเล่าต่อๆกันมาว่า
ประวัติ :
หลวงพ่อไพล เป็นชาวเพชรบุรี มีนามเดิมว่าไพล นิ่มน้อม เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2428 ที่บ้านห้วยโรง ตำบลเขาย้อย อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี
บวชเมื่อปี พ.ศ. 2453 ที่วัดห้วยโรง ตำบลห้วยดรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ได้รับฉายาว่า "ธมฺมสโร" โดยมี
หลวงพ่อสิน วัดห้วยโรง (ก่อนย้ายมาวัดปรกสุธรรมาราม) เป็นพระอุปัชฌาย์
ปี พ.ศ. 2454 หลวงพ่อสิน ได้รับนิมนต์มาเป็นเจ้าอาวาสวัดปรกสุธรรมาราม หลวงพ่อไพลท่านจึงได้ขอติดตามหลวงพ่อสินมาอยู่ที่วัดปรกสุธรรมารามด้วย
ต่อมาพระอธิการนวม เจ้าอาวาสวัดบางแคกลางได้ถึงแก่มรณภาพลง ทำให้ตำแหน่งวัดบางแคกลางได้ว่างลง ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันนิมนต์ หลวงพ่อไพล มาเป็นเจ้าอาวาสวัดบางแคกลาง ทดแทนตำแหน่งที่ว่างลง
หลังจากที่หลวงพ่อไพลได้ขึ้นเป็นเจ้าอาวาส ท่านได้พัฒนาวัดอย่างสุดความสามารถ ทั้งการก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ สร้างศาลาการเปรียญขึ้นใหม่ สร้างหอสวดมนต์ และโรงเรียนประชาบาล 2 ชั้น
และเมื่อวัดพัฒนาขึ้นตามลำดับแล้ว หลวงพ่อไพลและประชาชนเห็นตรงกันว่า วัดนี้อยู่ระหว่างกลางระหว่างวัดปรกสุธรรมารามและวัดบางแคใหญ่ ชาวบ้านจึงเรียกกันติดปากว่า วัดกลาง
หลวงพ่อไพลเห็นว่าวัดมีคลองบางแคอยู่หน้าวัดและอยู่ในหมู่บ้าน ตำบลบางแค จึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น "วัดบางแคกลาง" และใช้ชื่อนี้มาจนถึงปัจจุบัน
ในระหว่างที่ได้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส หลวงพ่อไพลท่านได้เป็นที่พึ่งของชาวบ้านเป็นอันดี เป็นปูชนียบุคคลที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก เป็นพระเถระผู้เปี่ยมด้วยบารมีธรรม จนเป็นที่ทราบมาจนถึงปัจจุบัน
หลวงพ่อไพล วัดบางแคกลาง สมุทรสงคราม |
ท่านได้ก่อสร้างปฏิสังขรณ์เสนาอุโบสถหลังที่ ๓ (หลังปัจจุบัน) ขึ้นใหม่ ในปี พ.ศ. 2499 เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน กว้าง 12 เมตร ยาว 22.83 เมตร แต่การก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ โดยพระอุโบสถมาแล้วเสร็จในสมัยของพระครูสมุทรกิจวิบูลย์ (ชั้น นาถสีโล) เนื่องจากหลวงพ่อไพลมรณะภาพเสียก่อน
หลวงพ่อไพล มรณภาพลงด้วยโรคชราเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2508 นับรวมสิริอายุได้ 79 ปี 55 พรรษา
โดย : สารานุกรมพระเครื่องลุ่มน้ำแม่กลอง
บทความที่เกี่ยวข้อง
***-[เป็นกำลังใจและสนับสนุนให้เราเขียนบทความดีๆ ช่วยกดดูโฆษณาด้านล่างนะคะ]-***
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น