โฆษณาแนวนอน728*90

บทความใหม่

เหรียญหล่อหลวงปู่นิล วัดตึก มหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร

ภาพถ่ายหลวงปู่นิล วัดตึกมหาชยาราม สมุทรสาคร
หลวงปู่นิล วัดตึกมหาชยาราม สมุทรสาคร

         เหรียญหล่อหลวงปู่นิล วัดตึก ถือเป็นเหรียญเก่าแก่ที่สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. 2465 เพื่อแจกให้กับชาวบ้านและศิษยานุศิษย์ของหลวงปู่ 

         ลักษณะเป็นเหรียญหล่อโบราณรูปห้าเหลี่ยมแบบมีหูเชื่อมในตัว สร้างด้วยเนื้อโลหะผสมแก่ทองเหลือง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

         ถือเป็นเหรียญหล่อหายากอีกเหรียญหนึ่งของเมืองสมุทรสาคร มีประสพการณ์ด้านคงกระพันชาตรีเป็นที่เรื่องลือของคนในพื้นที่

เหรียญหล่อหลวงปู่นิล วัดตึกมหาชยาราม สมุทรสาคร 2460
เหรียญหล่อหลวงปู่นิล วัดตึกมหาชยาราม สมุทรสาคร ปี พ.ศ. ๒๔๖๐
เหรียญหล่อหลวงปู่นิล วัดตึกมหาชยาราม สมุทรสาคร 2460
เหรียญหล่อหลวงปู่นิล วัดตึกมหาชยาราม สมุทรสาคร ปี พ.ศ. ๒๔๖๐

         หลวงปู่นิล วัดตึกมหาชยาราม เป็นอาจารย์ของหลวงพ่อเชย วัดเจษฎาราม จังหวัดสมุทรสาคร  หลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง จังหวัดสมุทรสาคร หลวงพ่อกรับ วัดโกรกรกราก สมุทรสาคร  และเป็นอาจารย์ของเจ้าคุณธรรมโชติ วัดพระปฐมเจดีย์ 

ประวัติ : 

         หลวงปู่นิล ท่านมีชื่อว่า นิน ไม่ทราบนามสกุล พื้นเพท่านเป็นชาวบ้านวัดตึก ตำบลมหาชัย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2395 

         ปี พ.ศ. 2423  หลวงปู่นิล ท่านมีอายุได้ 28 ปี ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดตึกมหาชยาราม ตำบลมหาชัย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร  โดยมี 

         พระอธิการศรี วัดตึก เป็นพระอุปัชฌาย์

         ปี พ.ศ. 2435 พระอธิการศรี เจ้าอธิการวัดตึกฯ ท่านได้ถึงแก่มรณภาพลง ชาวบ้านและคณะสงฆ์จึงพร้อมใจกันนิมนต์หลวพ่อนิล ขึ้นเป็นเจ้าอาวาส

         หลวงปู่นิล มรณภาพลงในวันจันทร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465 นับรวมสิริอายุได้ 70 ปี 42 พรรษา. 

ภาพถ่ายหลวงพ่อนิล วัดตึกมหาชยาราม สมุทรสาคร
หลวงปู่นิล วัดตึกมหาชยาราม สมุทรสาคร

         วัดตึกมหาชยาราม เดิมเรียก วัดคงคาราม เป็นวัดราษฎร์สังกัดมหานิกายในตำบลมหาชัย อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2230 ในรัชสมัยสมเด็จพระสรรเพชญที่ 8 (สมเด็จพระเจ้าเสือ) ต่อมาได้ร้างลงไม่มีพระอยู่จำพรรษา 

         จนมาถึงในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้มีนายอากรชาวจีนแผ่นดินใหญ่ชื่อ ตั๋วตี๋ ได้เดินทางมาพักแรม ณ หน้าบริเวณวัด แล้วเกิดนิมิตรขึ้นในคืนนั้นว่า พระประธานในอุโบสถได้แนะนำให้ไปตั้งหลักฐานรกราก ณ บริเวณแม่น้ำสมุทรปราการจะมีโชคลาภใหญ่อย่างแน่นอน 

         และเมื่อไปตั้งตามที่ได้นิมิตรแล้วนั้นปรากฏว่า นายตั๋วตี๋ท่านนั้นได้มีความรุ่งเรืองในอาชีพการงาน จนร่ำรวยขึ้นมา จึงได้กลับมาบูรณะวัดโดย สร้างวัดคงคารามขึ้นใหม่ เช่น สร้างกุฏิเป็นตึกแบบจีน จำนวน 2 หลัง วิหาร 1 หลัง ตั้งแต่บัดนั้นมา ชาวบ้านจึงไ้ด้เรียกวัดใหม่ว่า "วัดตึก"

         จนถึงปี พ.ศ. 2468 พระธรรมสิริชัย(ชิต ชิตวิปุโล) มาดำรงเจ้าอาวาสต่อจากหลวงปู่นิล จึงได้เริ่มให้มีการศึกษาสอนบาลี และมีพระภิกษุสอบได้มหาเปรียญเป็นจำนวนมาก 

         วัดได้เปลี่ยนนามมาเป็น "วัดตึกมหาชยาราม" และใช้ชื่อนี้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ. 2400 วัดมีเจ้าอาวาสที่ปรากฏเป็นหลักฐาน มีรายนามดังต่อไป

         ๑. พระอุปัชฌาย์ศรี ( พ.ศ. ไม่มีปรากฏ )

         ๒. พระครูสมุทรคุณากร ( นิน ) พ.ศ. 2435 - 2465

         ๓. พระครูสังวรสุตาภิวัฒน์ ( สาย สุกกปุณโณ ) พ.ศ. 2465 - 2468 (ลาสิกขา)

         ๔. พระสมุทรคุณากร ( ชิต ชิตวิปุโล ) พ.ศ. 2468 - 2495

         ๕. พระครูสุทธิสุนทร ( แฉล้ม กลฺยาโณ ) พ.ศ. 2495 - 2500

         ๖. พระสมุทรคุณากร ( ยรรยง ติสฺสเทโว ) พ.ศ. 2500 - 2535

         ๗. พระครูเมธีสาครเขต (ชื่น รติวฑฺฒโน ) พ.ศ. 2535 - 2547

         ๘. พระครูสาครคุณากร ( เชิญ ปุญฺญกาโม ) พ.ศ. 2547 - 2548

         ๙. พระอธิการ ชำนาญ กนฺตวณฺโณ พ.ศ. 2548 - ปัจจุบัน

         หลังจากที่หลวงพ่อนิลท่านได้ขึ้นเป็นเจ้าอาวาส ท่านก็ได้พัฒนาวัดอย่างสุดความสามารถ ทั้งการสร้างเสนาสนะและถาวรวัตถุต่างๆ ภายในวัดจนวัดเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ

         ซึ่งในระหว่างที่ท่านได้ครองวัดอยู่นี้ ท่านได้รับการต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้รับสมณศักดิ์ที่พระครูสมุทรคุณากร อีกด้วย ซึ่งถือว่าท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่เก่าแก่ที่สุดของเมืองสมุทรสาครเลยทีเดียว 

         สมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ที่วัดมีตาลปัตร ที่มีอักษรปักที่ได้รับพระราชทานมาจากทางวัง อยู่หลายสิบอัน เหตุเพราะในสมัยก่อนหลวงปู่นิล มักได้รับนิมนต์ให้เข้าวังไปเทศน์ ไปสอนวิปัสนากรรมฐานอยู่เป็นประจำ 


โดย : สารานุกรมพระเครื่องลุ่มน้ำแม่กลอง

บทความที่เกี่ยวข้อง

***-[เป็นกำลังใจและสนับสนุน​ให้เราเขียนบทความดีๆ ช่วยกดดูโฆษณาด้านล่างนะคะ]-***

ไม่มีความคิดเห็น

ค้นหาบล็อกนี้