โฆษณาแนวนอน728*90

บทความใหม่

พระท่ากระดาน หรือ พระเกศบิดตาแดง หนึ่งในสุดยอดพระเบญจภาคีพระเนื้อชินของกาญจนบุรี

พระท่ากระดาน กาญจนบุรี กรุเก่า ตะกั่วสนิมแดง-ปก
พระท่ากระดาน กาญจนบุรี

         พระท่ากระดาน คือพระหนึ่งในพระกรุ ที่มีเรื่องราวที่ว่ากันว่าสร้างขึ้นโดยฤาษีตาไฟ ถูกจัดอยู่ในพระเบญจภาคีพระกรุของเมืองไทย ถือเป็นที่มีความโดดเด่นในด้านพุทธคุณ เป็นพระสายเหนียว คงกระพันชาตรี 

         พระกรุท่ากระดาน ปัจจุบันมีทั้งกรุเก่าและกรุใหม่ เป็นพระเนื้อตะกั่วสนิมแดง ครั้งแรกพบที่ กรุถ้ำลั่นทม ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี

         ต่อมาพบที่วัดบน วัดกลาง วัดล่าง ที่ตั้งอยู่ในตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี ถูกน้ำกัดเซาะตลิ่งพัง พอน้ำลดลงจึงเห็นพระเจดีย์ปลายนาสวน พังทลาย พบพระท่ากระดานจำนวนมาก เรียกกันว่า "กรุวัดต้นโพธิ์" หรือพระท่ากระดานกรุใหม่

         จุดกำเนิดของพระท่ากระดานนั้น เริ่มจากเจ้าเมืองท่ากระดานกับชาวบ้านมาให้ฤๅษีตาไฟ ซึ่งอยู่ในถ้ำลั่นทม ปลุกเสกเครื่องรางของขลังเพื่อไปสู้รบกับข้าศึก 

         ฤๅษีตาไฟ จึงได้สร้างพระท่ากระดานเป็นเนื้อตะกั่วสนิมแดง เทลงในบล็อกดินเผา นำไปแจกให้แก่ทหารของเจ้าเมืองท่ากระดาน เพื่อใช้สู้รบกับข้าศึก แล้วฟันแทงไม่เข้า 

         พระท่ากระดานจึงได้รับฉายาว่า "ขุนศึกแห่งลุ่มน้ำแม่กลอง" ส่วนที่เรียกว่าถ้ำลั่นทมเพราะว่ามีต้นลั่นทมอยู่หน้าปากถ้ำ ๑ ต้น

หน้าถ้าลั่นทม กาญจนบุรี
หน้าถ้าลั่นทม กาญจนบุรี

         สำหรับพระกรุถ้ำลั่นทม มีประวัติการสร้างอย่างชัดเจน เมื่อประมาณ ๖๐๐-๗๐๐ ปี สมัยก่อนนักรบแม่ทัพนายกองต้องมีพระกระดาน กรุศรีสวัสดิ์ติดตัวออกศึกพระท่ากระดานจึงได้รับการขนานนามว่า เป็นขุนศึกแห่งลุ่มแม่น้ำแม่กลอง 

         คนสมัยก่อนจะพบเห็นพระได้จากคนท้องถิ่น อำเภอศรีสวัสดิ์ คนมอญบ้าง เป็นคนพม่าบ้าง ตั้งแต่ยังไม่สร้างเขื่อนครีนครินทร์ สมัยนั้นพระท่ากระดานยังไม่มีราคาเป็นเหมือนพระแก้บนอยู่ข้างโบสถ์ ใต้ต้นโพธิ์ ชาวบ้านเอามาแลกเหล้าขาวไปกิน แลกยาตั้งไปมวนกับใบตองสูบ

พระท่ากระดาน กาญจนบุรี กรุเก่า ตะกั่วสนิมแดง
พระท่ากระดาน กาญจนบุรี

         วัดท่ากระดาน ตั้งอยู่ใน ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี ปัจจุบันเป็นวัดร้าง เป็นสถานที่อยู่บริเวณหน้าถ้ำทางตอนเหนือของเมืองท่ากระดานเก่าขึ้นไปตามลำน้ำ 

         ซึ่งเดิมเป็นวัดเก่าแก่ เนื่องจากมีศาสนวัตถุที่ปรักหักพังและพระเจดีย์เป็นจำนวนมาก และจากวัตถุโบราณที่พบเช่น บาตรขนาดเขื่อง เตาดินเก่าๆหลายเตา ที่สำคัญ คือ ปรากฏมีตะกั่วสนิมแดงตกอยู่เรี่ยราดบริเวณเตาและพบพระท่ากระดานทุกๆ พิมพ์อีกด้วย 

          จึงสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นแหล่งสร้างพระท่ากระดาน เมืองท่ากระดานมีวัดสำคัญ ๓ วัด คือ วัดเหนือ (วัดบน) วัดกลาง (ปัจจุบันชื่อ วัดท่ากระดาน) และวัดล่าง

          ปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้มีการขุดค้นหาโบราณวัตถุกันเป็นการใหญ่ และได้พบพระพิมพ์เนื้อตะกั่วสนิมแดงที่วัดทั้งสามเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะที่วัดกลางซึ่งเรียกชื่อเต็มว่า "วัดท่ากระดาน" นั้น

         ได้ปรากฏพระพิมพ์เนื้อตะกั่วสนิมแดงที่สนิมแดงงามจัดและปิดทองมาแต่ในกรุทุกองค์ กอปรกับวัดนี้ตั้งอยู่ในส่วนกลางของเมืองท่ากระดานเก่าพอดี ชาวบ้านจึงเห็นเหมาะสมที่จะเรียกพระพิมพ์นี้ตามชื่อวัดว่า "พระท่ากระดาน"

         สำหรับพระท่ากระดาน มีพุทธลักษณะเค้าพระพักตร์เคร่งขรึมน่าเกรงขาม แข้งเป็นสัน และพระหนุแหลมยื่นออกมา ลักษณะเหมือน พระอู่ทองหน้าแก่ อันเป็นพุทธศิลปะสมัยลพบุรี 

         และด้วยอายุการสร้างเกินกว่า ๕๐๐ ปี พระท่ากระดานส่วนมากจึงเกิด สนิมไข และสนิมแดง ขึ้นคลุมอย่างหนาแน่นและส่วนใหญ่จะลงรักปิดทองมาแต่เดิม ดังนั้นข้อพิจารณาเบื้องต้นในการศึกษาพระท่ากระดาน ก็คือสภาพสนิมไขสนิมแดง และรักเก่าทองเก่า นั้นเอง

         สันนิษฐานว่าเป็น ผู้สร้าง พระท่ากระดาน ก็คือ ฤๅษีตาไฟ โดยการอาราธนาของ เจ้าเมืองท่ากระดาน  เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ก็นำมาบรรจุไว้ในอารามสำคัญของเมืองท่ากระดาน เมืองศรีสวัสดิ์ และเมืองกาญจนบุรีเก่า ในสมัยนั้น

         จากคำบอกเล่าของคนเมืองกาญจนบุรีรุ่นเก่า ที่เรียก พระท่ากระดาน ว่า พระเกศบิดตาแดง นั้น มีความหมายลึกซึ้ง บ่งบอกถึงเอกลักษณ์สำคัญของพระเครื่องชนิดนี้โดยตรง ชี้เบาะแสให้พิจารณาถึงผู้สร้างได้เป็นอย่างดี 

         ด้วยคำว่า เกศบิด ตรงกับลักษณะพระเกศของพระที่มีลักษณะยาว และบิดม้วน ดุจชฎาของพระฤๅษี พระพักตร์ลักษณะเป็นหน้าพระฤๅษีอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งการก้มง้ำของพระพักตร์ แฝงไว้ด้วยความเข้มขลังของอาตาจญาณสมาบัติ

         ส่วนคำว่า ตาแดง นั้น ดูเหมือนว่าจะทวีความลึกลับยิ่งขึ้นไปอีก เพราะมิได้หมายความว่า พระเนตรขององค์พระมีวรรณะแดงของสนิมแดงแต่เพียงอย่างเดียว ส่วนอื่นๆ ขององค์พระก็ปรากฏวรรณะของสนิมแดงปกคลุมอยู่โดยทั่วไป

พระท่ากระดาน กาญจนบุรี กรุเก่า ตะกั่วสนิมแดง
พระท่ากระดาน กาญจนบุรี กรุเก่า ตะกั่วสนิมแดง ของคุณเจี๊ยบ ใบหยก

พระท่ากระดาน กาญจนบุรี กรุเก่า ตะกั่วสนิมแดง
พระท่ากระดาน กาญจนบุรี กรุเก่า ตะกั่วสนิมแดง ของคุณเจี๊ยบ ใบหยก

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปองค์พระปางมารวิชัยขัดราบ มีสังฆาฏิแบบสี่เหลี่ยมกว้างหนา ยาวจรดลงมาถึงบริเวณส่วนพระหัตถ์ซ้าย ฐานสำเภา อันเป็นเอกลักษณ์ของพระยุคอู่ทอง

         ด้านหลัง แบนเรียบ มีร่องมีแอ่ง

         พระเกศยาว ใบหน้าลึก เป็นลักษณะแบบพุทธศิลปะยุคอู่ทอง พระเกศจะเป็นแบบยาวตรงขึ้นไปทุกองค์ แต่เนื่องจากระยะเวลาของอายุพระมาก และอยู่ใต้ดิน ถูกทับถมมาก ทำให้ปลายเกศซึ่งมีความบอบบาง อาจจะหักชำรุด หรืองอคดไปด้านใดด้านหนึ่ง

         พุทธคุณที่เป็นที่เลื่องลือของพระท่ากระดาน จากอดีตจนถึงปัจจุบัน คือ ความอยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาด มีตัวอย่างที่บันทึกไว้ในหนังสือที่อยู่ในพิพิธภัณท์ เช่น 

         นายอำเภอบางกอกน้อยในสมัยก่อนนั้น มีการทดลองพระท่ากระดานที่วัดอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย โดยนัดให้ชาวบ้านนำพระเครื่องมาให้เค้าทดลองยิง หากเค้ายิงไม่ออก ๓ นัด จะขอเช่าในราคา ๑,๐๐๐ บาท

         วันหนึ่งนายอำเภอขอให้ชายชราปลดพระท่ากระดานในคอให้เค้าทดลอง ครั้งแรกใส่พระลงในกระป๋องนม แขวนไว้ที่ต้นไม้ใหญ่ ระยะห่าง ๓ เมตร แล้วยิงด้วยปืนพกออโตเมติค นัดแรกกระสุนไม่ออก

         เค้าจึงบรรจุกระสุนนัดใหม่ใส่แล้วพระลงในกระป๋องนมเหมือนเดิมแต่เหลือระยะห่างแค่ช่วงแขนเท่านั้น แล้วลั่นไกครั้งที่ ๒ ยังคงได้ยินแต่เสียงไกไม่มีกระสุนออกเช่นเดิม 

         ครั้งที่ ๓ นายอำเภอเอ่ยปากขอขมาพระเสียงดัง แล้วบรรจุกระสุนนัดที่ ๓ คราวนี้ได้ยินเสียง "แช็ก" ท่ามกลางความตะลึงของทุกคนที่อยู่ในที่นั้น นายอำเภอขอเช่าพระจากชายชราแต่ชายชราไม่ให้ ให้ทดลองยิงเท่านั้น 

         พระท่ากระดานองค์นั้นมีลักษณะทรวดทรงค่อมๆหรืองอเล็กน้อย จึงทำให้พระพักตร์ก้มง้ำมากกว่าธรรมดาซี่งเข้าใจว่าน่าจะเป็นมาแต่ในกรุ เนื้อตะกั่วเถื่อน สนิมแดงสึกหรอบางส่วน แต่พระพักตร์ยังสมบูรณ์ชัดเจน

         กรณีของ พล.ต.ท. ประชา บูรณธนิต บันทึกไว้ว่าในคืนวันที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ นายพลประชาพร้อมภรรยาเดินทางจากนครปฐมเข้ากรุงเทพโดยรถยนต์ โดยมี.ส.ต.ต. ชาญ เป็นคนขับ ขณะที่รถวิ่งมาถึงสามพรานประมาณ ๒ ยามเศษ มีคนร้าย ๖-๗ คนใช้ไม้สูงขวางถนน 

         ทำให้ต้องหยุดรถทันที คนร้ายกรูเข้ามาเอาปืนขู่ นายพลชักปืนยิงต่อสู้จึงเกิดการยิงต่อสู้กันระยะเผาขน คนร้ายถูกกระสุนหลายนัดและหลบหนีไป กระสุนถูกนายพล ๓ จุด ที่หัวเข่า หน้าแข้งและแขน แต่ปรากฎเพียงรอยผิวหนังฟกช้ำ 

         ส่วนภรรยาไม่ถูกกระสุนแม้แต่นัดเดียว แต่คนขับถูกกระสุนหลายนัดเสียชีวิต ในคืนเกิดเหตุนายพล ประชา ห้อยพระท่ากระดานอยู่ในคอ.


โดย : สารานุกรมพระเครื่องลุ่มน้ำแม่กลอง

บทความที่เกี่ยวข้อง

  ***-[เป็นกำลังใจและสนับสนุน​ให้เราเขียนบทความดีๆ ช่วยกดดูโฆษณาด้านล่างนะคะ]-***

ไม่มีความคิดเห็น

ค้นหาบล็อกนี้